งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดเอทานอลจากสมุนไพรจีนฝ่าปั้นเซี่ย (Pinellia ternata) และจือหมู่ (Anemarrhena asphodeloides) ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay พบว่าสารสกัดฝ่าปั้นเซี่ย และจือหมู่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้อยกว่าสารมาตรฐาน BHT มีค่า IC50 เท่ากับ 3.96, 0.33 และ 0.05 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพต่อเชื้อก่อโรคที่ผิวหนัง Streptococcus pyogenes, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa และ Candida albicans ด้วยวิธี Modified broth microdilution พบว่าสารสกัดฝ่าปั้นเซี่ยมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อเฉพาะแบคทีเรียแกรมบวก โดยออกฤทธิ์ต้าน S. pyogenes ได้ดีที่สุด มีค่า MIC และ MBC เท่ากัน คือ 0.039 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่สารสกัดจือหมู่มีฤทธิ์ต้านเชื้อได้ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา ได้แก่ S. pyogenes, S. aureus และ C. albicans มีค่า MIC และ MBC เท่ากัน คือ 3.125, 50 และ 150 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ และสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ P. aeruginosa จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดสมุนไพรจีนทั้ง 2 ชนิด มีศักยภาพที่จะนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพที่ก่อโรคทางผิวหนัง
This research aimed to study the antioxidant activity and antimicrobial activity of ethanol extracts from Chinese herbs, Pinellia ternata and Anemarrhena asphodeloides. The result of antioxidant activity test with DPPH radical scavenging assay found that, both P. Tenata and A. Asphodeloides extracts show activity less than standard BHT with IC50 values 3.96, 0.33 and 0.05 mg/ml, respectively. Results of antimicrobial activity against skin pathogens Streptococcus pyogenes, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa and Candida albicans by using Modified broth microdilution method. It was found that P. Tenata extract can against gram
positive bacteria, especially it is the most effective against S. pyogenes with the same MIC and MBC values at 0.039 mg/ml. While A. Asphodeloides extract was effective against both bacteria and fungi including, S. pyogenes, S. aureus and C. albicans, had the same MIC and MBC values at 3.125, 50 and 150 mg/ml, respectively. However, both crude extracts were not effective against P. aeruginosa. It is of interest, both types of Chinese herbal extracts are the potential leading to develop in to antimicrobial products that cause skin disease.