Human platelet antigen (HPA) system มีความสำคัญโดยเฉพาะการเกิดภาวะ fetal-neonatal alloimmune thrombo-cytopenia, platelet transfusion refractoriness และ post-transfusion purpura การตรวจ จีโนไทป์ของ HPA จะเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยและการรักษาโรค
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลย้อนหลังของความถี่จีโนไทป์ HPA-1 ถึง HPA-11, HPA-13 ถึง HPA-15 และ HPA-17 ในผู้บริจาคเลือดคนไทย
วัสดุและวิธีการ ศึกษาข้อมูลของความถี่จีโนไทป์ HPA-1, -2, -4, -5 และ HPA-6 จำนวน 10,510 ราย และตรวจจีโนไทป์ HPA-3, -7, -8, -9, -10, -11, -13, -14, -15 และ HPA-17 เพิ่มเติมในผู้บริจาคเลือดจำนวน 2,009 ราย ด้วยวิธี real-time PCR ในผู้บริจาคเลือดและเปรียบเทียบความถี่จีโนไทป์กับกลุ่มประชากรอื่นที่เคยมีรายงานไว้ผลกํารศึกษา จากผลการตรวจ พบว่า genotype frequencies ของ HPA ทั้ง 7 ระบบ คือ HPA-1a และ HPA-1b เท่ากับ 0.981 และ 0.019, HPA-2a และ HPA-2b เท่ากับ 0.953 และ 0.047, HPA-3a และ HPA-3b เท่ากับ 0.564 และ 0.436, HPA-4a และ HPA-4b เท่ากับ 0.999 และ 0.001, HPA-5a และ HPA-5b เท่ากับ 0.967 และ 0.033, HPA-6a และ HPA-6b เท่ากับ 0.985 และ 0.015 และ HPA-15a และ HPA-15b เท่ากับ 0.530 และ 0.470 ตามลำดับ พบว่าส่วนใหญ่เป็น จีโนไทป์แบบ homozygous aa รองลงมาคือ heterozygous ab ส่วน homozygous bb พบได้น้อย ยังไม่พบ HPA-4b4b แต่พบ HPA-6b6bได้ 1 ราย อัตราความชุกของจีโนไทป์ HPA-1 ถึง HPA-6 และ HPA-15 ในการศึกษานี้ใกล้เคียงกับรายงานก่อนหน้าในผู้บริจาคเลือดคนไทยแต่พบความแตกต่างกลุ่มประชากรเอเชียอื่นที่มีรายงานไว้
สรุป การศึกษานี้ได้รายงานความถี่ของจีโนไทป์ HPA-1 ถึง HPA-6 และ HPA-15 รวมทั้ง HPA-7 ถึง HPA-11, HPA-13, HPA-14 และ HPA-17 ในผู้บริจาคเลือดคนไทย ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการจัดหาเกล็ดเลือดจากผู้บริจาคเลือดที่เป็น HPA-matched ให้กับผู้ป่วยที่สร้างแอนติบอดีต่อเกล็ดเลือด อีกทั้งใช้ในการเตรียมเซลล์มาตรฐานที่เหมาะสมในการตรวจแยกชนิดของแอนติบอดี เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยของการให้เกล็ดเลือดกับผู้ป่วย
Introduction: Human platelet antigen (HPA)systems are involved in fetal-neonatal thrombocytopenia, platelet transfusion refractoriness, and post-transfusion purpura. The HPA genotyping is beneficial in the diagnosis and treatment.
Objective: This retrospective study aimed to determine genotype frequencies of HPA-1 toHPA-11, HPA-13 toHPA-15 andHPA-17 in Thai blood donors.
Materials and Methods: Totally, 10,510 donor samples were genotyped for HPA-1, -2, -4, 5, andHPA-6, and extended genotypes by real time-PCR. Consequently, 2,009 samples were genotyped for HPA-3, -7, -8, -9, -10, -11, -13, -14,-15 and HPA-17. The frequencies were compared with other populations previously reported.
Results: Among blood donors, the frequencies of HPA-1aandHPA-1b were 0.981 and 0.019; HPA-2a and HPA-2b were 0.953 and 0.047; HPA-3a and HPA-3b were 0.564 and 0.436, respectively. The frequencies of HPA-4a and HPA-4b were 0.999 and 0.001; HPA-5a and HPA-5b were 0.967 and 0.033 and HPA-6a and HPA-6b were 0.985 and 0.015. For the HPA extended genotypes, the most common was homozygous aa, followed by heterozygous ab and homozygous bb was rare. The HPA-4b4b was not found while, only one donor with HPA-6b6b was observed. The prevalence rates of HPA-1 to HPA-6, and HPA-15 were similar to a related study in Thai blood donors and showed significantly different from other Asian populations previously reported.
Conclusion: This study showed genotype frequencies of HPA-1 to HPA-6, and HPA-15, and extended genotypes in Thai blood donors. This data is useful to provide HPA-matched platelet donors for patients with HPA antibodies. In addition, the data file could provide appropriate panel cells not only to identify antibody specificity but also to increase transfusion safety