งานวิจัยนี้ศึกษาความไวของเทคนิคมัลติเพล็กพีซีอาร์สำหรับการตรวจสอบ Vibrio parahaemolyticus ในกุ้งขาวโดยใช้ยีนเป้าหมายสำหรับตรวจสอบ V. parahaemolyticus คือ tl (thermolabilehemolysin gene) และ tdh (thermostable direct hemolysin gene) พบว่าความไวของเทคนิคในการตรวจสอบแบคทีเรียโดยตรงจากตัวอย่างกุ้งขาว คือ 103 CFU ต่อกรัม แต่การเพิ่มปริมาณเชื้อก่อนการทำพีซีอาร์ 6 ชั่วโมง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจสอบได้ดีขึ้น ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมในการนำเทคนิคดังกล่าวมาใช้ในการตรวจสอบและเฝ้าระวังแบคทีเรียนี้ในตัวอย่างกุ้งขาวเมื่อนำเทคนิคมัลติเพล็กซ์มาตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ในกุ้งขาวจำนวนทั้งหมด 60 ตัวอย่าง ซึ่งสุ่มเก็บตัวอย่างจากจังหวัดสมุทรปราการ ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 พบว่ามีกุ้งขาว 42 ตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนเชื้อ V.
parahaemolyticus (tl) คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ตรวจไม่พบเชื้อสายพันธุ์ก่อโรคที่มียีน tdh การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเทคนิคมัลติเพล็กซ์พีซีอาร์มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำหรับนำไปใช้ในการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อ การส่งเสริมให้เกิดสุขาภิบาลที่ดี และลดปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดนี้
The sensitivity of multiplex PCR for the detection of Vibrio parahaemolyticus in whiteleg shrimp was pursued. Multiplex reaction was carried out using two sets of primers targeting genes encoded thermolabilehemolysin (tl) and thermostable direct hemolysin (tdh). The sensitivity of direct detection of bacteria in spiked samples of whiteleg shrimp was shown as 103 CFU/g. The detection efficiency was improved by the addition of 6 hour enrichment step prior to multiplex PCR. A total of 60 samples of whiteleg shrimp were randomly collected from Samutprakranduring August 2014 to September 2014. Total V. parahaemolyticus was detected in 42 samples (70%) using multiplex PCR but virulent-associatedtdh gene of V. arahaemolyticus was not found. The multiplex PCR is a promising technique for detection and monitoring both target organisms which could lead to the management of proper sanitation and decrease public health hazard.