งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยในนวนิยายเรื่อง กรงกรรม โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลวิจัยพบว่า ในนวนิยายเรื่อง กรงกรรม ได้สะท้อนภาพวิถีชีวิตของคนไทย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการประกอบอาชีพ พบว่า มีอาชีพค้าขาย อาชีพรับจ้าง และอาชีพเกษตรกรรม 2) ด้านการคมนาคม พบว่า มีการคมนาคมที่ช่วยการเดินทาง และ การคมนาคมที่ช่วยการค้าขาย 3) ด้านคุณธรรมจริยธรรมและแนวคิดในการดำเนินชีวิต พบว่า มีความอดทน ความมีน้ำใจ ความช่วยเหลือ การสืบทอดมรดก การมีคู่ครอง และการสั่งสอนให้ประพฤติดี 4) ด้านการ แต่งกาย พบว่า มี 3 ลักษณะ คือ แต่งกายตามสบายแบบชาวบ้านทั่วไป แต่งกายให้ดูดีสอดคล้องกับการ ประกอบอาชีพ และแต่งกายให้ดูดีตามแบบข้าราชการหรือผู้มีสถานะทางสังคมสูง 5) ด้านการศึกษา พบว่า การศึกษาในนวนิยายเรื่องนี้เป็นการศึกษาโดยอ้อม ได้แก่ การศึกษาจากการบวชเรียนที่วัดใน พระพุทธศาสนา การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และการศึกษาผ่านประสบการณ์ตรงจากการทำงาน
This research aims to analyze reflections of Thai ways of life in the novel called Krongkarma. Content analysis is the research methodology, and the findings are reported as a descriptive analysis. Five reflections of Thai ways of life are presented in the novel studied, including 1) occupations, trading; labors; and farmers; 2) transportation, dealing with travelling and commerce; 3) moral and ideas of living, working hard; kindness; giving support; inheritance; marriage; and moral teaching; 4) dressing, daily casual style; working attire; official uniform; and high class style; 5) education, traditional learning from senior monks; self-teaching; and work apprentice