การสูบบุหรี่ส่งผลต่อค่าเวลาปฏิกิริยาตอบสนองต่อแสงและเสียง ซึ่งเป็นการตรวจวัดความเร็วของการประมวลผลของระบบประสาทส่วนกลางและตอบสนองไปยังระบบประสาทส่วนปลายทําให้เกิดการเคลื่อนไหว นอกจากนี้การสูบบุหรี่อาจส่งผลต่อความจําของบุคคล ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสูบบุหรี่ต่อความจําและค่าเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองต่อแสงและเสียงในอาสาสมัครปกติจํานวน 60 คน อายุระหว่าง 35-60 ปี แบ่งเป็นกลุ่มสูบบุหรี่ 30 คนและกลุ่มไม่สูบบุหรี่ 30 คน พบว่ากลุ่มสูบบุหรี่มีค่าจากแบบทดสอบความจําดีกว่ากลุ่มไม่สูบบุหรี่ และค่าเวลาตอบสนองต่อแสงและเสียงไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งการทดสอบอย่างง่ายและกรณีที่มีการเพิ่มเงื่อนไข อย่างไรก็ตามการทําแบบทดสอบความจําพบว่า กลุ่มไม่สูบบุหรี่และกลุ่มสูบบุหรี่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.0042) สรุปได้ว่าบุหรี่ส่งผลต่อความจํา โดย นิโคตินมีผลต่อ cognitive function ทําให้การประมวลผลของบุคคลดีขึ้น ซึ่งไปกระตุ้น nicotinic acetylcholine receptor (nAChRs)
Smoking can affect a person’s audiovisual reaction time – central information processing speed - and coordinated peripheral movement response. In addition, smoking can also affect a person’s memory. This study investigated the effects of smoking on memory and audiovisual reaction time in 35-60 year old volunteers. Volunteers were evenly divided into two groups; smokers (n=30) and non-smokers (n=30). It was found that there was no difference between the smoking and non-smoking groups in response to sound and light stimuli in both simple and complex conditions. However, in the memory test, the smoking group’s scores in the memory test were higher than the non-smokers. (p=0.0042) Thus, it is concluded that nicotine improves cognitive function by stimulating nicotinic acetylcholine receptors (nAChRs).