การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงและแนวทางการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานของผู้ขายอาหารภายในบริเวณมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวนทั้งหมด 36 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ Cohort study ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคลที่อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย ความดัน โลหิต ประวัติโรคเบาหวานในครอบครัวและระดับน้ำตาลในเลือด พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานใช้ แบบสอบถามจากกรมอนามัย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากที่สุดคือ การรับประทานเครื่องดื่มที่มีรสหวานและอาหารที่ผ่านการทอดร่วมกับพฤติกรรมการออกกำลังกายที่น้อย ภายหลัง 1 เดือนที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ลดความเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นจาก 11.1±1.94 คะแนน เป็น 13.1±1.76 คะแนน (p < 0.05) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานอยู่ในระดับน้อย มี ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนใหญ่ 24 คน (ร้อยละ 66.7) มีระดับ น้ำตาลในเลือดปกติ พบ 9 คน (ร้อยละ 25.0) มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และมี 3 คน (ร้อยละ 8.3) มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในระดับเป็นโรคเบาหวานซึ่งมีประวัติเป็นเบาหวานอยู่แล้ว
This study aims to investigate risk factors and risk reduction strategies for developing diabetes among food distributors in Huachiew Chalermprakiet University. The study involved a total of 36 participants and utilized a Cohort study design. Individual risk factors contribute to the development of diabetes included age, body mass index, blood pressure, family history of diabetes and blood sugar level. Risky behaviors for diabetes were assessed through a questionnaire from the Department of Health. The research finding indicated that the sample group with the highest risk behaviors for diabetes were those who consumed sweetened beverages, fried foods, and engaged in minimal physical activity. After participating in a risk reduction campaign for one month, the sample group showed an increased knowledge about diabetes from an average score of 11.1±1.94 to 13.1±1.76 (p < 0.05). Most of the sample group were at low risk for diabetes, with a statistically significant decreased in average blood sugar level ( p < 0.05). Out of the 36 participants, 24 individuals (66.7%) had normal blood sugar levels, 9 individuals (25.0%) were at risk for diabetes, and 3 individuals (8.3%) had high blood sugar levels indicative of diabetes with a history of diabetes.