ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศหลุดพ้นความยากจนได้ในปี พ.ศ. 2563 ด้วยแนวทางการแก้ไขความยากจนแบบตรงจุดจนเป็นที่สนใจของทั่วโลก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาแนวทางขจัดความยากจนของจีนเพื่อค้นหาความเหมาะสมที่จะนํามาใช้ปรับปรุงการดําเนินการแก้ไขความยากจนปรับปรุงการดําเนินการแก้ไขความยากจนเชิงพื้นที่ของส่วนประเทศไทยทั้งในส่วนการค้นหาและตรวจทานคนจน และการจัดทําโมเดลแก้จน โดยมีพื้นที่วิจัยประกอบด้วยเขตปกครองตนเองกว่างซี-จ้วง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่จังหวัดไป่เซ่อ กุ้ยหลิน และยวีหลิน ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการขจัดความยากจนแบบตรงจุดของประเทศจีนได้มุ่งเน้นที่การพิสูจน์ครัวเรือนยากจน การช่วยเหลือตรงจุด ทั้งการพัฒนาพื้นที่ยากจน และการพัฒนาอาชีพด้วยการการใช้นวัตกรรมการผลิตแบบอุตสาหกรรมและการตลาดสมัยใหม่โดยมีลักษณะเด่นจัดทําแผนความช่วยเหลือเป็นรายชุมชนและครัวเรือนและการบริหารงานแบบ 4 ประสาน ที่มีทั้งภาครัฐสถานศึกษา เกษตรกร และภาคเอกชนร่วมงาน ช่วยประสานงาน พัฒนาศักยภาพคนจน การถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยี และการดึงคนจนสู่ห่วงโซ่คุณค่า
The People’s Republic of China (PRC) has achieved remarkable succeed at eradicating poverty with targeted poverty alleviation approach in 2020. This research project has objective to study on poverty redemption of PRC, to search for the use of science, technology and innovation for poverty redemption of PRC that could be applied to Thai poverty alleviation. Research sites for the study were Guangxi-Zhuang Autonomous Region with three provinces—Baise, Guilin and Yulin—were purposive sampling as research samples. The results of the study showed that the Targeted Poverty Alleviation of PRC has focused on poor household approval and targeted poverty reduction with comprehensive poverty redemption projects that have been focused on industrial production approach and modern trade and strategy of four lateral party collaboration including government, educational institutes, communities, and private sector, to transfer technologies and innovation to production systems of the poor, to build the capacity of the poor and to push them to value chain.