งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับ การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และช่องทางการสื่อสารทางการตลาดขนมกัดกรอบ
(咬咬) สำหรับการเป็นของฝากจากประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบด้านบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อ
แนวโน้มการตัดสินใจซื้อขนมกัดกรอบ (咬咬) และ 2) ศึกษาช่องทางการสื่อสารทางการตลาดขนมกัดกรอบ (咬咬)
สำหรับกลุ่มลูกค้าชาวจีน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามจากการทบทวนวรรณกรรมและ
งานวิจัยในอดีตที่เกี่ยวข้อง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัย โดยมึแบบสอบถามที่สมบูรณ์สำหรับ
การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 200 ตัวอย่าง ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการบรรยายลักษณะของข้อมูล ใช้การวิเคราะห์
สมการถดถอยและการวิเคราะห์ในการทดสอบสมมติฐาน ผลวิจัยพบว่า ช่องทางการสื่อสารที่กลุ่มตัวอย่างนิยมใช้มาก
ที่สุด 2 อันดับแรกได้แก่ Wechat (微信) และ Douyin (抖音) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าบรรจุภัณฑ์สีฟ้า
รายละเอียดส่วนผสมของขนม และ วันหมดอายุที่แสดงบนบรรจุภัณฑ์มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินซื้อขนมกัดกรอบเป็น
ของฝาก ส่วนรูปภาพบนบรรจุภัณฑ์ไม่มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจซื้อขนมกัดกรอบเป็นของฝาก
This study focuses on developing the packaging design and marketing communication
channels for Thai Snack Bites (咬咬) to be souvenirs from Thailand. The objectives are: 1 ) to study
the packaging elements that influence the purchasing decisions for Thai Snack Bites (咬咬), and 2 )
to explore the marketing communication channels for Thai Snack Bites (咬咬) aimed at Chinese
customers. This is a quantitative research study. The researcher created a questionnaire based on a
literature review and relevant past research. A purposive sampling method was employed, resulting
in 200 completed questionnaires suitable for data analysis. Descriptive statistics were used to
describe the data characteristics and regression analysis statistic was used to test hypotheses. The
results show that the top two communication channels preferred by the sample group were WeChat
(微信) and Douyin (抖音). Blue colure, snack ingredients and expiry date were found to be significant
at the 0.05 level.