การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความมีคุณค่าในตนเองกับการควบคุมตนเองในการเรียน และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความมีคุณค่าในตนเองกับการควบคุมตนเองในการเรียนของนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรในโมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 2 ตัว ได้แก่ ความมีคุณค่าในตนเอง และการควบคุมตนเองในการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จ� านวน 435 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรความมีคุณค่าในตนเองกับการควบคุมตนเองในการเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยการตรวจสอบจากค่าสถิติไคร์สแควร์ เท่ากับ 31.045 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 37 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .744 ค่า GFI เท่ากับ .989 ค่า AGFI เท่ากับ .974 ค่า CFI เท่ากับ 1.000 ค่า SRMR เท่ากับ .021 ค่า RMSEA เท่ากับ .000 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ .421 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการควบคุมตนเองในการเรียนของนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ร้อยละ 42
The purposes of this research were to develop and check the consistencyof the model of causal relationship between self-esteem and self-regulation in learning based on empirical data of the health science students at Huachiew Chalermprakiet University. The model consisted of two variables: self-esteemand self-regulated in learning. The sample consisted of 435 health sciencestudents at Huachiew Chalermprakiet University, all selected, using the stratified random sampling technique. Data were collected by questionnaires and analyzed,using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient analysis, and linear structural equation model analysis. The results indicated that the causal relationship model of self-esteem and self-regulation in learning was consistent with empirical data (Chi-square test of goodness of fit = 31.045, df = 37, p = .744, GFI = .989, AGFI = .974, CFI = 1.000, SRMR = .021, RMSEA = .000, and R2 = .421). The variables in the model accounted for 42 percent of the total variance of self-regulation in the learning of the health science students at Huachiew Chalermprakiet University.