พยาธิเข็มหมุด (Enterobius vermicularis) เป็นสาเหตุของการเกิดโรคติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด (Enterobiasis) ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค ส่วนใหญ่พบในเด็กโดยจะมีอาการคันบริเวณทวารหนัก อาจมีอาการปวดท้อง อาเจียน อุจจาระร่วง ในบางรายที่มีการติดเชื้อมาก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สํารวจอัตราการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด ในเด็กอนุบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในโรงเรียนเทศบาล 4 (อุดมวิทย์สมใจ) อําเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยทํา การตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดด้วยวิธีสก๊อตเทปเทคนิคในนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 จํานวน 265 คน และสํารวจปัจจัยที่มีผล ต่อการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดโดยใช้แบบสอบถาม ดําเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2562 พบว่ามีอัตราการ ติดเชื้อพยาธิเข็มหมุด ร้อยละ 3.02 จากนักเรียนทั้งหมด แยกเป็นเพศชาย ร้อยละ 3.68 และนักเรียนหญิง ร้อยละ 2.33 จากแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อพยาธิ พบว่าเด็กส่วนใหญ่มาจากครอบครัวฐานะระดับปานกลาง ซึ่ง ได้รับการดูแลเรื่องสุขอนามัย อาหารการกิน และความเป็นอยู่อย่างดี จึงอาจทําให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อย สัมพันธ์ กับอัตราการติดเชื้อพยาธิที่ตรวจพบ จากผลการศึกษาครั้งนี้แม้จะพบอัตราการติดเชื้อต่ํา แต่เด็กจะต้องได้รับการรักษาแบบ กลุ่มเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายต่อไป
Pin worm (Enterobius vermicularis) is the major cause of Enterobiasis. In Thailand the diseases were found in all regions mostly in pre-school and school children. The significant symptom is pruritus ani (anal itching). In case of heavy infection, diarrhea may occur. The objective of this study was to investigate the infection of Enterobius vermicularis in kindergarten school in Prachinburi province, Thailand by using scotch tape technique. 265 children in the kindergarten 1-3 were investigated, and the factors related to parasite infection were also examined by using questionnaires. This study was conducted from May to September 2019. The result showed 3.02 percent of overall infection rate which revealed 3.68 percent in boys and 2.33 percent in girls. The factors related to parasitic infection showed that most children are from middle-level families which have been taking a good care of hygiene, food and living, therefore they have low risk of infection and correlation with the infection rate of this study. Although this study found low infection rate of Enterobiasis, mass treatment to prevent and control the infection was still needed to limit transmission.