Abstract:
ภาคนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัญหาของบริษัท อาร์ อี ซีฟู้ดส์ จำกัด ที่มียอดขายลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2541 ถึง ปี 2543 และมีส่วนแบ่งตลาดในปี 2543 ลดลงถึงร้อยละ 5.24 (ดูแผนภูมิที่ 1.3)ส่วนแบ่งตลาดที่ลดลงนั้นแสดงถึงความสามารถทางการแข่งขันที่ต่ำลง และมีอัตราการขยายตัวต่อปีในระดับต่ำ ด้วยเหตุผลนี้บริษัทจึงมียอดขายที่ลดลงทุกปี และมีส่วนครองตลาดที่ต่ำลงด้วย จากสาเหตุดังกล่าวจึงต้องรีบดำเนินการศึกษาสาเหตุของการลดลงของยอดขายและส่วนแบ่งตลาดเพื่อทำการกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันเพื่อเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งตลาดให้มากขึ้น รวมถึงมองเห็นช่องทางในการที่จะกลายเป็นผู้นำตลาดได้ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจประเทศไทยจะกลับคืนมาอีกครั้ง บริษัทฯ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา และพัฒนาการดำเนินงานเพื่อสร้างกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้สามารถดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปจากการศึกษาพบว่า บริษัท อาร์ อี ซีฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการห้องเย็นผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง มีสาเหตุหลักมาจาก 1. ยอดขายของบริษัทฯ ลดลงจากปี 2541 ถึง ปี 25432. การเจริญเติบโตน้อยเมื่อเทียบกับการเจริญเติบโตของตลดในอุตสาหกรรม3. สินค้าประเภทกุ้ง มียอดขายและส่วนครองตลาดลดลง4. มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหารสำเร็จรูป (Value Added) มีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าซึ่งทางบริษัทฯ มีเพียงกุ้งชุบเกล็ดขนมปัง (เทมปุระเซท) เพียงชนิดเดียวกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ คือ ทำการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อสนองความต้องการของตลาด โดยเน้นผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ประเภท โดยเน้นประเภทกุ้งเป็นอันดับแรกๆ เพราะกุ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้ให้กับบริษัทฯ โดยมีจำนวนการส่งออกมากกว่าผลิตภัณฑ์ ประเภทอื่นๆ แต่ยอดขายในปี พ.ศ. 2543 กลับลดลงรวมทั้งส่วนครองตลาดก็ลดลง ดังนั้น บริษัทฯ จึงใช้กลยุทธ์เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทกุ้งมากกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น และในขณะเดียวกัน ก็ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทปลาและผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกไปพร้อมๆ กัน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้งสองประเภทมีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่สูง แต่กลับมีส่วนครองตลาดที่ต่ำ เป็นการแสดงให้เห็นว่าบริษัทฯ มีความสามารถในการแข่งขันลดลงดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของยอดขายและส่วนแบ่งตลาดที่ลดลง บริษัทฯ จึงทำการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็น Value Added ให้มากขึ้น ดังนี้ ผลิตภัณฑ์ประเภทกุ้ง เช่น กุ้งห่อเกี้ยว กุ้งต้มสุกแช่แข็ง ลูกชิ้นกุ้ง หรือผลิตภัณฑ์ที่ปรุงสำเร็จแล้ว (Ready to Eat) เช่น กุ้งปรุงรสแช่แข็ง กุ้งปรุงรสชุบเกล็ดขนมปังแช่แข็ง เป็นต้นผลิตภัณฑ์ประเภทปลา เช่น เกี้ยวปลาแช่แข็ง ปลาเส้นแช่แข็ง เป็นต้นผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึก เช่น ปลาหมึกทอดกรอบกระป๋อ เป็นต้นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ดังกล่าว ได้กระทำการโดยการควบคุมราคาสินค้าให้มีความยืดหยุ่นไม่ถูกและไม่แพงจนเกินไป เพราะในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง ราคาของผลิตภัณฑ์ จะมีความผันผวนและเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูง โดยใช้กลยุทธ์การเป็นผู้นำในด้านความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขาย และเพิ่มส่วนครองตลาดให้กับบริษัทฯ รวมถึงการเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าหลังจากการทำการเน้นผลิตภัณฑ์ประเภทกุ้ง ปลา และปลาหมึก แล้วคาดว่าบริษัทฯ สามารถเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้นภายในระยะเวลา 3 ปี เพราะการแก้ปัญหาของผลิตภัณฑ์ประเภทกุ้งเป็นการเพิ่มยอดขาย และส่วนแบ่งตลาดให้กับบริษัทฯ และในขณะเดียวกันเป็นการรักษาส่วนแบ่งตลาด และเป็นการเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ประเภทปลา และปลาหมึกให้กับบริษัทฯ อีกด้วย และทำให้บริษัทฯ สามารถอยู่รอดในธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งได้