Abstract:
การศึกษาอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการชุบสีแบบ Electrophoretic Deposition (EPD) เพื่อเสนอแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการชุบสี EPD ของบริษัท ยานภัณฑ์ ไดโซะ (ประเทศไทย) จำกัด
จากการศึกษาข้อมูลเกี่วกับขั้นตอนของกระบวนการชุบสี EPD โดยได้ทำการตรวจสอบมาตรฐานการชุบชองชิ้นงานแต่ละชนิดเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงโดยใช้ทฤษฎีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและทฤษฎีของการชุบสีแบบ EPD โดยพบหัวข้อที่สามารถปรับปรุงได้ คือ จำนวนการแขวนชิ้นงานเข้าชุบสีต่อครั้ง ผู้ศึกษาได้นำมาวิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงโดยใช้ทฤษฎีการชุบสีแบบ EPD รวมทั้งขอคำปรึกษาจากผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนกชุบสี จากการศึกษาพบว่า การแขวนชิ้นงานเข้าชุบสีจะแขวนชิ้นงานชนิดเดียวกันต่อที่แขวนหนึ่งอัน ซึ่งชิ้นงานบางชนิดมีขนาดใหญ่ทำให้แขวนได้จำนวนหนึ่งและทำให้เหลือพื้นที่ว่างอยู่พอสมควร ทางผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงจำนวนการแขวนชิ้นงานดังกล่าว คือ การแขวนชิ้นงานบางชนิดยังสามารถแขวนชิ้นงานชนิดอื่นรวมกันได้อีก เพื่อให้การชุบหนึ่งครั้งมีประสิทธิภาพเต็มข้อจำกัด ซึ่งแนวทางในการปรับปรุงที่ได้กล่าวมานั้น คาดว่าจะสามารถช่วยลดจำนวนการชุบของที่แขวนโดยยังได้จำนวนชิ้นงานในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการชุบสีตามทฤษฎีการผลิต
จากผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันทางบริษัทฯ มีการผลิตชิ้นงานหลายชนิดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จากการศึกษากระบวนการชุบนีของบริษัทฯ พบว่ามีชิ้นงานบางชนิดที่มีการแขวนเข้าชุบสีไม่เต็มที่แขวน และจากการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการแขวนชิ้นงานสามารถแขวนชิ้นงานรวมกันได้ โดยการนำชิ้นงานชนิดหนึ่งมาแขวนรวมกับชิ้นงานอีกชนิดหนึ่ง พื่อให้จำนวนการผลิตในการแขวนชิ้นงานลดลง ซึ่งชิ้นงานที่นำมาทำการศึกษา คือ ชิ้นงานที่ 1 และชิ้นงานที่ 2 มีจำนวนการผลิตเท่ากับ 20 ที่แขวนต่อวัน และ 16 ที่แขวนต่อวัน ตามลำดับ จากแนวทางในการปรับปรุงดังกล่าว สามารถทำให้จำนวนการผลิตของชิ้นงานที่ 2 ลดลงเหลือ 12 ที่แขวนต่อวัน คือลดลง 4 ที่แขวนต่อวัน เท่ากับจำนวนการผลิตชิ้นงานที่ 2 ลดลง 25 เปอร์เซ็ยต์ และสามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ในการปรับปรุงชิ้นงานชนิดอื่น ที่มีการแขวนไม่เต็มที่แขวน เพื่อให้ประสิทธิภาพของการผลิตโดยรวมมีค่าสูงขึ้นได้อีก