Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1033
Title: การติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: A Follow Up Study of New Staff Nurses' Performance, Bachelor of Science in Nursing and Midwifery, Faculty of Nursing at Huachiew Chalermprakiet University
Authors: พรศิริ พันธสี
สุภาวดี ธนัพประภัศร์
อรพินท์ สีขาว
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์
Keywords: พยาบาล -- การติดตามผล
Nurses
Follow up studies
บัณฑิต -- การติดตามผล
Issue Date: 1996
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การติดตามผลการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ และเปรียบเทียบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ระหว่างการประเมินตนเอง โดยผู้บังคับบัญชาและโดยผู้ร่วมงานรวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฏิบัติงานกับข้อมูลพื้นฐานของพยาบาลใหม่กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (พยาบาลและผดุงครรภ์) ที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2538 จำนวน 41 คน พยาบาลผู้ร่วมงาน จำนวน 53 คน และหัวหน้าหอผู้ป่วยของพยาบาลใหม่ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และลักษณะการปฏิบัติงาน 5 ด้าน คือ ความรู้และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล ความสามารถในการเป็นผู้นำ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่และบุคลิกลักษณะ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยหาค่า เอฟ-เทส และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1.พยาบาลใหม่ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองอยู่ในระดับดีทั้งรายข้อและรายด้าน ยกเว้นด้านความสามารถในการเป็นผู้นำ ที่ประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลผู้ร่วมงานประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่อยู่ในระดับดีในรายข้อและรายด้านเช่นกัน ยกเว้นความรู้และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล และด้านความสามารถในการเป็นผู้นำ ที่ถูกประเมินอยู่ในระดับปานกลาง 2.การปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่ทั้งรายข้อ รายด้าน และรวมทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างการประเมินโดยหัวหน้าหอผู้ป่วย พยาบาลผู้ร่วมงานและพยาบาลใหม่ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความรู้และทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล และด้านความสามารถในการเป็นผู้นำ ซึ่งประเมินโดยพยาบาลใหม่สูงกว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลผู้ร่วมงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้านความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ และด้านบุคลิกลักษณะ ซึ่งประเมินโดยพยาบาลใหม่สูงกว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการปฎิบัติงานทั้ง 5 ด้านกับข้อมูลพื้นฐานของพยาบาลใหม่ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างความสามารถในการปฏิบัติงานกับอันดับที่เลือกเรียนวิชาชีพพยาบาล คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตร การปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เลือก ความพึงพอใจในลักษณะงาน ความพึงพอใจในผู้ร่วมงาน และความมั่นใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการปฏิบัติงานที่ตรงกับความสามารถ พบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (C=.45) กับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purpose of the research on “ A Follow up study of new staff nurese’performanec, Bachelor of Science in Nursing and Midwifery, Faculty of Nursing at at Huachiew Chalermprakiet University” were t investigate the new staff’s job performance as valuated by the head nurses and the staff nurses was well as by the new staff themselves, and find the relationship between some certain characteristics of the new staff and their job performance. The studied group included 41 new staff members graduated from Faculty of Nursing at Huachiew Chalermprakiet University in the year 1995, 53 Staff nurses and 15 head nurses. Questionaires evaluating five nursing abilities (the Knowledge and nursing skills, the leadership, the cooperation, the reliability, and the personality) of the new stall were used as the study tool. The data were analyzed using percentage, arithmetic mean, standard deviation, F-test and Scheffe’s test. The results of this study were: 1.The new staff evaluated themselves on the knowledge and nursing skills, the cooperation, the reliability, and the personality us good, but they evaluated their ability regarding the leadership as moderate. Both the head nurses and the staff nurses evaluated the new staff’s performance on the cooperation, the reliability and the personality as good, whereas the knowledge and nursing skills as well as the leadership of the new staff were evaluated ad moderate. 2.The evaluations of the new staff’s job performance were statistically different among the three studied groups (the new staff, the staff nurses, and the head nurses at the 0.05 level of significance. 3.At the 0.05 level of significance, the new staff ranked themselves at a higher level than that evaluated by the head nursed and the staff nurses on the knowledge and nursing skills as well as the leadership. They also ranked themselves at a higher level than that evaluated by the head nurses on the cooperation, the reliability, and the personality. 4.The job performance of the new staff was not significantly related to the rank of the nursing program selected in the entrance examination, the overall grade point average, the selected ward, the job satisfaction, the satisfaction with co-workers, and the confidence in their working ability at the 0.05 level. Their job performance, however, was found to be significantly related, at moderate level, to the relevance of the job assigned and their speciality at the 0.05 level.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1033
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf408.77 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf257.39 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf400.23 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf264.57 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf627.85 kBAdobe PDFView/Open
references.pdf487.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.