Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1171
Title: | ศักยภาพของจังหวัดสมุทรปราการในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน |
Other Titles: | The Potential of Samut Prakan Province to ASEAN Community |
Authors: | พัชรา โพชะนิกร ชุติระ ระบอบ จิรศักดิ์ มุทิตานนท์ Patchara Phochanikorn Chutira Rabob Jirasak Muthitanon Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration The Samut Prakan Provincial Office |
Keywords: | ประชาคมอาเซียน ASEAN Community สมุทรปราการ -- แง่เศรษฐกิจ Samut Prakarn -- Economic aspects |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | รายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการณ์และผลกระทบจากการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดสมุทรปราการ วิเคราะห์ศักยภาพตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และเพื่อกําหนดแนวทางเชิงกลยุทธ์เสริมสร้างความสามารถและการเตรียมความพร้อมของจังหวัดสมุทรปราการจากการที่ไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่การสัมภาษณ์แบบสํารวจ และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาและภาคเอกชนรวม 266 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารอีกจํานวน 22 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติ เชิงพรรณาโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสํารวจ จากแบบสอบถาม การวิเคราะห์ศักยภาพ จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค การวิเคราะห์ผลกระทบ และการเตรียมความพร้อมของจังหวัดสมุทรปราการ สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสํารวจส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกัน กล่าวคือ การรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนจะสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการในการขยายตลาด ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นและการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีสําหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามพบว่า ประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนในระดับปานกลาง (x̄ = 3.06) โดยมีความรู้เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนมากที่สุด (x̄ = 3.24) รองลงมามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลดีและผลเสียของไทยจากการเข้ารวมกลุ่มประชาคมอาเซียน (x̄ = 3.13) และเห็นว่าข้อมูลข่าวสารมีส่วนสําคัญมากที่สุด (x̄ = 3.56) รองลงมาคือ เป็นโอกาสสําคัญของไทยในการค้าขายกับต่างประเทศ (x̄ = 3.53) ผลกระทบในด้านบวกก็คือ ธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวและทํารายได้ให้กับประเทศมากขึ้น (x̄ = 3.69) สําหรับผลในด้านลบภาครัฐยังขาดกลไกให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (x̄ = 3.66) และทําให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติได้ (x̄ = 3.22) จากการวิเคราะห์ศักยภาพของจังหวัดสมุทรปราการพบว่ามีความพร้อมในการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของไทย โดยจะมีนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น เนื่องจากมีศักยภาพด้านแรงงานคุณภาพและฝีมือดี มีโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ขณะเดียวกันจะต้องเผชิญกับปัญหา ได้แก่ความเสียเปรียบในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจจากต่างประเทศที่มีความพร้อมทั้งในด้านกําลังคนและเทคโนโลยีสินค้าที่มีราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้นส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะสินค้า “หนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ปัญหาแนวโน้มอาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้นจากแรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมาย ปัญหาอาชญากรรมในรูปแบบใหม่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนต่างชาติ นอกจากนี้ กระแสวัฒนธรรมจากต่างประเทศอาจส่งผลกระทบต่อขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมที่ดีงามแต่ดั้งเดิมหากชุมชนในแต่ละท้องถิ่นไม่เข้มแข็ง อาจนําไปสู่ปัญหาครอบครัวที่เกิดจากสังคมมีการแข่งขันกันมากขึ้น จึงควรกําหนดแนวทางเชิงกลยุทธ์เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ประชาชนในทุกระดับมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีความพร้อมด้านภาษาในการสื่อสารกับชาวต่างชาติและเรียนรู้วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของสมาชิกสมาคมอาเซียนอย่างลึกซึ้ง The objectives of the study were to explore the people’s opinion about situations and the impact of ASEAN Community toward economic and social of Samutprakan Province, to analyze the potential of strategic plan and the readiness of Samutprakan Province to ASEAN Community. This study were quantitative and qualitative methodology and research instruments were questionnaire, survey and interview used for data analysis. 266 samples were selected from head of government offices, private sector, local government administrators and 22 from interviewer participants. Descriptive statistics were generated using frequency, percentage, mean and standard deviation. The research results were divided into 5 parts resulted from interview, survey and questionnaire, SWOT analysis, the analysis of the impact and Samutprakan Province’s readiness to ASEAN Community. The results of the study were as follows the Samutprakan Province’s people have comprehended ASEAN Community with an average mean of 3.06 understand the purpose of ASEAN Community with an excessive mean of 3.24 understand of benefit and negative impacts from AEC with an average mean of 3.13 and excessive mean of 3.56 how an importance of information and the benefits opportunity trading with foreign countries with mean of 3.53 and with excessive mean of 3.69 in the expansion of tourist business lead to growth in provincial incomes. The opposite side revealed that the government lacked ofsupporting and promoting mechanism to AEC with the mean of 3.66 and the results of small and medium enterprise (SMEs) inefficiency competitive from foreign investors with the mean of 3.22. The research results indicated that the information was performed in accordance with interview and survey about the potential of Samutprakan province’s readiness toward AEC with the increasing of foreign investors because of skill labor advantage, modernize infrastructure and transportation meanwhile the province confronted to the disadvantage of commercial competitive from foreign countries with have skill manpower and high technology, besides lower price of goods from neighbor countries will have more market share impact to SMEs, especially in “One Tambon One Product”, increasing of economic crime, people smuggling, trafficking in persons, conflict between ethnics groups besides foreign culture will threat local identity cultural weakness lead to family’s problem that the government must be strong in public relation to let Samutprakan Province’s people aware of ASEAN Community’s impact and to enhance new generation more language skill and profound knowledge in the membership of ASEAN Community’s culture. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1171 |
Appears in Collections: | Business Administration - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 126.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontents.pdf | 127.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 113.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 389.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 211.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 114.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 311.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter6.pdf | 113.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
References.pdf | 262.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.