Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1411
Title: องค์ประกอบและความขัดแย้งในนวนิยายสืบสวนสอบสวนของปราปต์
Other Titles: Elements and Conflict in the Detective Novels of Prapt
Authors: รัชนีพร ศรีรักษา
Li, Ruiyan
Keywords: การวิเคราะห์เนื้อหา
Content analysis
นวนิยายสืบสวนสอบสวน
Detective and mystery stories
นวนิยายไทย
Thai fiction
ความขัดแย้ง (จิตวิทยา)
Conflict (Psychology)
ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการสร้างเรื่อง ความขัดแย้งและการคลี่คลายความขัดแย้งในนวนิยายสืบสวนสอบสวนของปราปต์ โดยเลือกศึกษาเฉพาะนวนิยายสืบสวนสอบสวนของปราปต์ที่ได้รับรางวัลหรือเข้ารอบการตัดสินรางวัลวรรณกรรม ซึ่งมีจำนวน 5 เล่มได้แก่ กาหลมหรทึก นิราศมหรรณพ ห่มแดน ลิงพาดกลอน และอโศกสาง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการสร้างเรื่องแนวสืบสวนสอบสวนในนวนิยายของปราปต์มีดังนี้ 1) การเปิดเรื่องมีการเปิดเรื่องด้วยการบรรยายเหตุการณ์ที่สร้างข้อสงสัยทำให้ผู้อ่านต้องการติดตามสืบค้นความจริง 2) การดำเนินเรื่องแบ่งได้เป็นสามประเภทได้แก่ การดำเนินเรื่องตามลำดับปฏิทินหรือลำดับเวลา การดำเนินเรื่องย้อนไปย้อนมา และการดำเนินเรื่องโดยการอ้างถึงที่เป็นจุดเด่นในงานเขียนของปราปต์ 3) การผูกปม ผู้เขียนสร้างการผู้ปมโดยใช้การขาดความรักและความเข้าใจการเกลียดชังและใส่ร้ายกัน และความห่างเหินกันของบุคคลในครอบครัว 4) การคลายปม ผู้เขียนเปิดเผยตัวละครคนร้าย และเหตุจูงใจที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง 5) การปิดเรื่อง ผู้เขียนใช้วิธีการจบแบบโศกนาฏกรรม การจบแบบหักมุม และการจบแบบทิ้งปมปัญหา 6) การสร้างตัวละคร บทบาทของตัวละครที่ปรากฏในเรื่องแบ่งได้เป็น ตัวละครนักสืบตัวละครผู้ช่วยนักสืบ และตัวละครคนร้ายและ 7) การสร้างฉากและบรรยากาศ ผู้เขียนสร้างฉากและบรรยากาศที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของตัวละคร สภาพแวดล้อมและสถานที่เกิดเหตุการณ์ในเรื่องได้อย่างน่าติดตามในด้านความขัดแย้งและการคลี่คลายความขัดแย้งในนวนิยายสืบสวนสอบสวนของปราปต์ผู้วิจัยพบว่า 1) ด้านความขัดแย้งในเรื่องแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับตัวละคร ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับสังคม และความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร2) ด้านการคลี่คลายความขัดแย้งในเรื่อง ลักษณะการคลี่คลายความขัดแย้งจะมี 5 ลักษณะ ได้แก่การเอาชนะ การร่วมมือ การประนีประนอม การหลีกเลี่ยง และการยอมให้
This research aims to analyze story elements, conflicts and their unravelling in the detective novels of Prapt. Five novels, awarded and/or nominated for literary awards, are studied, including Ga-hon-mahor a-took; Ni-ras-mahun-nope; Home-dan;Ling-pard-glon; and Asoak-sang. Research findings focusing on seven elements are observed as the following. 1) Exposition, suspicious events are narrated as exposition scenes in all five novels studied; these attract curiosity of readers to the ending facts. 2) Story development, three types are noted including chronological sequence; shifting between the present and the past; and selected scenes presented according to their distinction. 3) Climax, three main issues causing problems in the stories include lack of love and understanding; hatred and imputation; and remote relationships between family members. 4) Anti-climax, the villains and their motives are identified.5) Resolutions, three types are found including a tragic ending; a twist ending; and an ending with the unsolved problem. 6) Characters, three major types are found including the detective; the assistant; and the villain. 7) Setting and atmosphere attactively narrate actions of characters; environment; and scenes. Relating to conflicts and their unravelling in studied novels of Prapt, following aspects are found. 1) Three conflicts are noted, including a conflict between characters; a conflict of the character against the society; and a mental conflict of the character. 2) Five ways of unravelling conflicts are presented, including defeating; cooperating; compromising; avoiding; and surrendering.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ, 2566
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1411
Appears in Collections:Liberal Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
LI RUIYAN.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.