Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1539
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการบริหารจัดการฟาร์มโคนม ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน : กรณีศึกษา-องค์การส่งเสริมการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กับกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย |
Other Titles: | The Comparative Study of the Management Process and Its Operating Performance of the Dairy Farm Business between the Government and Private Sectors : Case Study of Dairy Farm Promotion Organization of Thailand and Chockchai Farm Groups of Company |
Authors: | เจริญรัตน์ เบญจรัตนาภรณ์ Charoenratt Benjarattanaporn ถาวร ถิ่นแสนดี Thaworn Thinsandee Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | องค์การส่งเสริมการโคนมแห่งประเทศไทย Dairy Farm Promotion Organization กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย Farm Chokchai Group การจัดการฟาร์ม Dairy farms การวางแผนเชิงกลยุทธ์ Farm management ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ International commercial terms ฟาร์มโคนม Strategic planning |
Issue Date: | 2006 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการบริหารจัดการฟาร์ม โคนม ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน: กรณีศึกษาองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่ง ประเทศไทย (อ.ส.ค.) กับกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย โดยผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 100 ชุด แบ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากพนักงาน อ.ส.ค จำนวน 50 ชุด และกลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย จำนวน 50 ชุด ประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (SPSS: Statistical Package for the Social Sciences) เพื่อแสดงผลการศึกษาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ได้ผลการวิจัยดังนี้ผลการศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสององค์กรส่วนมากเป็นเพศชาย มากกว่าเพศหญิง ด้าน อ.ส.ค ส่วนมากมีอายุระหว่าง 31-40ปี เนื่องมาจากเป็นองค์กรของรัฐ ซึ่งมีอัตราการลาออกต่ำหรือไม่มีเลย สำหรับฟาร์มโชคชัยส่วนมากมีอายุระหว่าง 21-30ปี เนื่องจากมีการหมุนเวียนเข้า-ออกของพนักงานสูงกว่า ทั้งสององค์กรส่วนมากมีสถานภาพสมรสแล้ว มีระดับการศึกษาอยู่ระหว่าง ปวส/อนุปริญญาเป็นจำนวนมากที่สุด ด้าน อ.ส.ค ส่วนมากมีระดับรายได้ระหว่าง 10,001-20,000 บาท ฟาร์มโชคชัยส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 20,001-30,000 บาท ทั้งสององค์กรมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่อเนื่องนานมากกว่า 5 ปี และตำแหน่งงานปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น เจ้าหน้าที่ฝ่าย/วิศวกร และหัวหน้างานระดับต้น ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในองค์กร ที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กรตามแนวคิด McKinsey 7S พบว่า อ.ส.ค ในฐานะองค์กรภาครัฐนั้น สามารถที่จะดำเนินกิจการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ คือการตอบสนองนโยบายของภาครัฐ แต่ยังถือว่ามีความเชื่องช้าทางด้านการขยายธุรกิจเพื่อรองรับการเจริญเติบโตและลดความเสี่ยงของการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นธุรกิจทางด้านผลิตภัณฑ์นม ในขณะที่ฟาร์มโชคชัยนั้น พบว่ามีการพัฒนาและการขยายตัวทางธุรกิจที่ครอบคลุมในทุกด้านทั้งต้นน้ำปลายน้ำ และขยายสาขาธุรกิจไปสู่กิจการอื่น ๆ จึงส่งผลดีทั้งทางด้านผลิตผลและผลกำไรของกิจการอย่างเด่นชัด ด้านความคิดเห็นมุมมองในการปฏิบัติงานในองค์กรตามแบบดุลยภาพ (Balance-Scorecard) ที่มีผลต่อการดำเนินงานในด้านผลิตผลและผลกำไร (Productivity and Profitability) ของกิจการ พบว่า อ.ส.ค มีความสามารถทางด้านการเพิ่มผลิตผลและผลกำไรให้กับองค์กร ได้ต่ำกว่าฟาร์มโชคชัย ทั้งทางด้านปริมาณน้ำนมดิบ ต้นทุนการผลิต คุณภาพของน้ำนม รวมทั้งราคาขายน้ำนมดิบ จำนวนลูกโคที่ผลิตได้ต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากนโยบายและกลยุทธ์ที่มีความแตกต่างทางด้านการดำเนินกิจการ ความแตกต่างของปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของ อ.ส.ค นั้น มุ่งการวางแผนและพัฒนาเพื่อนำผลที่ได้ไปแนะนำสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเป็นสำคัญ ไม่ได้มุ่งสร้างกำไรจากการขยายธุรกิจ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐและความต่อเนื่องของนโยบาย อันเกิดจากอัตราการลาออกพนักงานต่ำหรือไม่มีเลย ทำให้ไม่ประสบปัญหาในการสรรหาพนักงานใหม่ ด้านฟาร์มโชคชัยนั้น มุ่งเน้นการขยายตัวเพื่อสร้างผลกำไรและการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งเกิดจากการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านงานวิจัยกับสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน ด้านปัจจัยแห่งความล้มเหลว อ.ส.ค ประสบปัญหาทางด้านบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ อีกทั้งขาดการวางแผนการดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์หรือทิศทางที่ชัดเจน โดยยังคงมุ่งเน้นการบริหารจัดการแบบเดิม ๆ (Routine Operation) ด้านฟาร์มโชคชัยนั้น ประสบปัญหาทางด้านการเข้า-ออกของบุคลากรมีอัตราสูง (High Turn Over Rate) ทำให้ต้องเสียต้นทุนทางด้านการสรรหาและฝึกอบรมใหม่ ทั้งนี้ทั้งสองหน่วยงาน ยังมีการให้ความร่วมมือกันทางด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านปศุสัตว์ ซึ่งในอนาคตนั้น จะต้องมีความร่วมมือกันมากขึ้นทางด้านการวิจัยและพัฒนาคุณภาพกระบวนการเลี้ยงโคนมเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพน้ำนมดิบรวมทั้งเทคโนโลยีทางด้านสูตรนมสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ เพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ เน้นการบริหารเชิงกลยุทธ์และการพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตโคนมในทุกด้าน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยเฉพาะ เพื่อรับมือกับผลกระทบที่มาจาก FTA การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านความรวมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันร่วมกัน การวิจัยเชิงเกษตรเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพอาหารสัตว์ เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการเลี้ยงดูโคนมเพื่อเพิ่มผลิตผลและคุณภาพน้ำนมดิบให้สูงขึ้นโดยเฉพาะ อ.ส.ค ที่ผลวิจัยชี้ว่า มีผลิตผลที่ต่ำกว่าฟาร์มโชคชัยมาก อนึ่งการวิจัยในครั้งนี้ มีข้อจำกัดทางด้านระยะเวลาการทำวิจัยรวมทั้งยังขาดข้อมูลเชิงลึกขององค์กรกรณีศึกษาในด้านต่างๆอีกมาก เนื่องจากเป็นข้อมูลความลับเฉพาะองค์กรไม่สามามารนำมาเปิดเผยได้ จึงใคร่ขอเสนอให้มีการดำเนินการศึกษาในเรื่องนี้ และในขอบเขตกรณีศึกษาที่มากกว่านี้ในเชิงลึกอีกครั้งเพื่อให้ได้ผลงานวิจัยที่ชัดเจนและในทุกแง่มุมมากขึ้นในอันดับต่อไป |
Description: | การศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1539 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thavorn-Tinsanddee.pdf Restricted Access | 9.79 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.