Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/161
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภุชงค์ เสนานุช-
dc.contributor.advisorPuchong Senanuch-
dc.contributor.authorอาษา โอพิทักษ์ชีวิน-
dc.contributor.authorAsa Opitagchewin-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2022-04-28T03:19:53Z-
dc.date.available2022-04-28T03:19:53Z-
dc.date.issued2009-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/161-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2552th
dc.description.abstractการศึกษาความรุนแรงในครอบครัวของแรงงานสตรีย้ายถิ่นในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของความรุนแรงในครอบครัว ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในครอบครัว ผลกระทบของความรุนแรงในครอบครัว และเพื่อทราบถึงความต้องการการได้รับการสนับสนุนทางสังคมต่อการใช้ความรุนแรงในครอบครัวของแรงงานสตรี ย้ายถิ่นในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 398 คน จากโรงงานทั้งสิ้น 7 โรงงาน ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพหุถดถอย ผลการศึกษาปรากฏดังนี้1.ลักษณะของการความรุนแรงในครอบครัว พบว่า กลุ่มตัวอย่างถูกกระทำรุนแรงจากสามีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยความรุนแรงทางด้านจิตใจมีสัดส่วนสูงกว่าทางด้านร่างกาย2.ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในครอบครัวที่สำคัญมี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบุคคล ได้แก่ การดูแลรับผิดชอบภายในครอบครัว การกำหนดจำนวนบุตร 2) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การใช้จ่ายเงินภายในครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูงหรือการเที่ยวเตร่นอกบ้าน 3) ด้านสังคม ได้แก่ ความสัมพันธ์กับบิดามารดาของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด3.ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่สำคัญมี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ผลกระทบต่อผู้กระทำ คือ ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อจะขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพของสตรี 2) ผลกระทบต่อครอบครัว การเกิดความรุนแรงในครอบครัวมีผลต่อเศรษฐกิจภายในครอบครัว และนำไปสู่การหย่าร้าง เนื่องมาจากครอบครัวไม่สามารถทำหน้าที่ได้เพราะความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกถูกทำลาย 3) ผลกระทบต่อชุมชนและสังคม ได้แก่ การด่าทอทำร้ายร่างกายกันภายในครอบครัวส่งผลให้เกิดความรำคาญแก่เพื่อนบ้าน และทำให้สังคมมีปัญหามากขึ้นเนื่องมาจากสถาบันครอบครัวล่มสลาย4.ความต้องการได้รับการสนับสนุนทางสังคมต่อการใช้ความรุนแรงในครอบครัว พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวทางด้านร่างกาย ส่วนใหญ่ต้องการที่จะขอรับบริการความช่วยเหลือด้านการแพทย์ สำหรับความรุนแรงด้านจิตใจส่วนใหญ่จะขอรับคำปรึกษาจากเพื่อน และพ่อแม่ผลการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย ปรากฏผลดังต่อไปนี้1. ปัจจัยทางด้านบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อความรุนแรงในครอบครัวเป็นปฏิภาคเชิงบวกต่อความรุนแรงในครอบครัว2. การสนับสนุนทางสังคมเป็นปฏิภาคเชิงลบต่อความรุนแรงในครอบครัวข้อเสนอแนะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย คือ 1) ผู้หญิงควรมีเทคนิคและทักษะในการที่จะป้องกันตนเองจากการถูกทำร้ายหรือสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาได้ ก็อาจจะโต้ตอบกลับในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การวางเฉย การหลบหนี 2) ควรการส่งเสริมให้ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ส่งเสริมและปลูกจิตสำนึกมีความตระหนักในเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมกันระหว่างชาย-หญิง 3) ควรให้ความรู้ในเรื่องสิทธิและกฎหมายแก่เด็ก สตรีทั้งในสถานศึกษาและชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาทุกระดับให้มีความรู้เรื่องสิทธิสตรี สิทธิเด็ก การเคารพสิทธิเสรีภาพ 4) รณรงค์ส่งเสริมให้ชุมชนได้ตระหนักถึงผลกระทบของความรุนแรงและมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 5) ควรพัฒนาแหล่งสนับสนุนทางสังคมให้ดียิ่งขึ้นพร้อมทั้งประชาสัมพันธ์การให้บริการรวมทั้งการขยายบริการสังคมให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท 6) ควรมีการจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับทักษะการใช้ชีวิตคู่ ปัญหาครอบครัว และความรุนแรงในครอบครัวโดยมีทีมวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา พร้อมทั้งให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ เพื่อให้การบริการครอบคลุมและกระจายมากขึ้น 7) ควรมีการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีแผนงาน/โครงการ เพื่อป้องกันและคุ้งครอง แก้ไขพฤติกรรมความรุนแรงในครอบครัว ตลอดจนสนับสนุนให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและการแก้ไขปัญหาth
dc.description.abstractThe purpose of the study of family violence of immigrant female labors in the textile industry in Samutprakarn province is to study the violence characteristic in the family, factors which influence the family violence, effects of the family violence, and in order to understand the requirements of social supports on the family violence of immigrant female labors in the textile industry in Samutprakarn province. This is a surveying study by using the questionnaires of the samples of 398 people from 7 factories. Data processing and analysis were performed by a computer program SPSS/PC in order to determine the percentage, average, standard deviation, multiple regression value. The results from this study shall be shown as follow :1.The family violence characteristic, it was found that the samples have been committed the violence from their husbands in both physical and mental respects. The mental violence was found in a proportion that higher than the physical violence.2.The factors influence on the family violence shall be classified in 3 concerns, which are 1) Person concern, for example, the cares inside the family, determination of child number, 2) Economic concern, for example, family expenses, and relationship with friends or outside wandering, 3) Social concern, for example, relationship with parents of another side. 3.Effects due to the family violence shall be described in 3 concerns, which are 1) Effect to the doer; the victimized female shall lose her confidence and this shall result in the obstruction of female capability development, 2) Effect to the family; violence occurs in the family shall influence on the family economic and can consequent to divorce because the family cannot function as the members’ relationship has been destroyed, 3) Effect to the community and society; revilement and physical abuse in the family shall result in the disturbance to the neighbors and cause more social problems because of collapse of family institution.4.For the requirements of social supports on the family violence, it was found that the most of the samples that have the problem of physical violence in the family want to receive the assistance of medical service. On another hand, most samples of mental violence will seek the advices from friends, and parents. Recommendation The researcher has some following recommendations, which are 1) the women should know some technique and skill in order to protect themselves from any abuse, or avoid the problem. They shall react in any form such as ignorance, and escape, 2) there should be campaign for good relationship in the family, in order to support and build the consciousness which shall realize the right and equilibrium between man and woman, 3) there should be knowledge on the right and legal regulations for the child and female in both education institutes and community in order to support and promote the education in all levels, for rights of woman and child, and respects in liberty and right of human, 4) make a campaign in order to support the community to realize the influences of family violence and provide the role to prevent and solve the violence problem in the family 5) develop the social supporting facilities, and perform the public relation of service. Expand this social service to cover the whole urban and rural communities, 6) there should be a setting up of the counseling center regarding the skills for marriage life, family problem, family violence problem, managed by the multi-professional team such as, physician, nurse, social work officer, psychologist. In addition, the telephone counseling shall also be provided in order to make the service more cover and wider, 7) there should be the promotion for local administration in order to provide the plan / project for protect and prevent, for improve the behavior of family violence including the supports for community participation on the problems’ observation and solution.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัว -- ไทยth
dc.subjectอุตสาหกรรมสิ่งทอ -- ไทย -- สมุทรปราการth
dc.subjectแรงงานสตรี -- ไทย -- สมุทรปราการth
dc.subjectการย้ายถิ่นของแรงงานสตรี -- ไทย -- สมุทรปราการth
dc.subjectFamily violence -- Thailandth
dc.subjectTextile industry -- Thailand -- Samut Prakarnth
dc.subjectWomen -- Employment -- Thailandth
dc.subjectWomen migrant labor -- Thailand -- Samut Prakarnth
dc.titleความรุนแรงในครอบครัวของแรงงานสตรีย้ายถิ่นในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeThe Violence in Families of Immigrant Female Labor in Textile Industry, Samutprakarn Province.th
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf194.32 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf145.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf148.87 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf614.62 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf189.83 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf879.69 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf276.78 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf152.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.