Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1715
Title: การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2543 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: An Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Finance Degree's Curriculum for Academic Year 2000 Huachiew Chalermprakiet University
Authors: ทรรศจันทร์ ปิยะตันติ
เพ็ญ ชยาวิวัฒน์กุล
วรสิทธิ์ จักษ์เมธา
สมนึก อัศดรวิเศษ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
การเงิน -- หลักสูตร
Finance -- Curricula
การเงิน -- การศึกษาและการสอน
Finance -- Study and teaching
Issue Date: 2006
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยประเมินหลักสูตรการเงิน สาขาวิชาการเงิน จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้น ในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิตและนักศึกษาปัจจุบันเพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน และนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชากรทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชาการในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 5 ชุด มีการตอบกลับมา 5 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 อาจารย์ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท และมีอายุระหว่าง 3-6 ปี และมีอาจารย์ร้อยละ 40 มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ทุกคนเห็นว่าเนื้อหารวมของหลักสูตรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ซึ่งก็มีความสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย อาจารย์ทุกคนเห็นว่าคณะมีการกำกับดูแลมาตรฐานการบริหารหลักสูตรและเห็นด้วยกับการที่มีการบริหารหลักสูตรในรูปคณะกรรมการ อาจารย์มีความเห็นต่อสัดส่วนจำนวนหน่วยกิตของแต่ละหมวดวิชาว่า กลุ่มวิชาเอกเลือกหรือวิชาโทมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับรายวิชา ในหมวดการศึกษาทั่วไปในกลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และกลุ่มสังคมศาสตร์ อาจารย์ประจำคิดว่าตนเองมีพฤติกรรมการสอนส่วนใหญ่ในระดับมาก แต่ที่คิดว่าตนเองมีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมอื่นๆ คือ การแทรกการอบรมสั่่งสอนคุณธรรมและศีลธรรมในรายวิชาที่สอนแก่นักศึกษา ความเห็นของอาจารย์ต่อคุณลักษณะที่สำคัญต่อการเป็นอาจารย์ ได้แก่ การมีศีลธรรม การมีความรับผิดชอบ และการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี ในขณะที่อาจารย์คิดว่าคุณลักษณะที่ตนเองมีมาก ได้แก่ การมีศีลธรรม การรู้จักตนเอง อาจารย์ประจำทุกคนใช้การสอนแบบบรรยาย มีอาจารย์บางคนใช้การสนอแบบบรรยายเชิงอภิปรายและการสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ สื่อการสอนที่ใช้ทุกคน คือ เครื่องฉายแผ่นใสหรือเครื่องฉายแผ่นทึบ รองลงมาคือ การนำเสนอด้วย Power Point หรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูป อาจารย์ประจำส่วนใหญ่คิดว่าคุณลักษณะของนักศึกษาในด้านพื้้นฐานความรู้ระดับสามัญ ความเคารพและเชื่อฟังอาจารย์ การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และการอ่านหนังสือประกอบ/ค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่อาจารย์สั่งสม่่ำเสมอ มีอยู่ในระดับปานกลาง แบบการเรียนแบบร่วมมือ เป็นแบบที่อาจารย์ประจำส่วนใหญ่ต้องการให้นักศึกษาเรียนในขณะที่มีอาจารย์ร้อยละ 40 ใช้แบบการเรียนแบบจำใจเรียน และร้อยละ 40 ใช้แบบร่วมมมือ ผลการศึกษาข้อมูลจากบัณฑิต คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามสำหรับบัณฑิต 20 ชุด ตอบกลับมาทั้งหมด 20 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 บัณฑิตส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 22-23 ปี ร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธและมีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก บัณฑิตร้อยละ 45 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อจบการศึกษาต่ำกว่า 2.5 ร้อยละ 40 มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.5-3.25 มีบัณฑิต 1 ราย ไม่ได้ทำงาน เนื่องจากกำลังรองานใหม่ บัณฑิต 19 คนที่ทำงาน ส่วนใหญ่ทำในหน่วยงานเอกชน ในตำแหน่งพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน มีบัณฑิต 1 รายที่เป็นผู้บริหารระดับสูงเนื่องจากเป็นกิจการของครอบครัว บัณฑิตร้อยละ 74 ได้รับเงินเดือนในอัตรา 5,001-10,000 บาท บัณฑิตร้อยละ 42 ได้งานทำโดยการสมัครงานด้วยตนเองที่หน่วยงาน อีกร้อยละ 37 ให้ญาติแนะนำ บัณฑิตมีความเห็นต่อหลักสูตร หมวดวิชาพื้้นฐานว่ามีเหมาะสมในระดับปานกลาง หมวดวิชาแกน บัณฑิตมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกบังคับ บัณฑิตส่วนใหญ่เห็นมีความเหมาะสมในระดับดี กลุ่มวิชาเอกเลือก มีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี โดยให้ความเห็นว่าบางรายวิชาควรมีการปรับปรุงในบางด้าน การจัดการเรียนการสอนบัณฑิตชอบวิธีการเรียนแบบร่วมมือและแบบพึ่งพา และเห็นว่าแบบร่วมมือเป็นวิธีที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอน บัณฑิตเห็นว่าการติดต่อสื่อสาร การปรึกษากับอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับดี บัณฑิตร้อยละ 65 เห็นว่าสิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ บัณฑิตเห็นว่าตนเองมีความรู้ทางด้านการเงินมากที่สุด รองลงมาคือมีความสามารถในการนำความรู้มาแก้ปัญหา บัณฑิตคิดว่าตนเองมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษน้อย บัณฑิตมีความเห็นว่าคุณสมบัติที่มีความสำคัญในการปฏิบัติงาน คือ การมีจรรยาบรรณในวิชาชีพและการมีศีลธรรมและคุณธรรม ซึ่งตรงกับที่บัณฑิตคิดว่าเป็นคุณสมบัติที่ตนเองมี ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามผู้ใช้บัณฑิตโดยให้บัณฑิตเป็นผู้ส่งให้กับผู้บังคับบัญชา จากจำนวนที่ส่งทั้งหมด 20 ชุด ผู้ใช้บัณฑิตตอบกลับมาเพียง 1 ชุด คิดเป็นร้อยละ 5 ของแบบสอบถามทั้งหมดที่ส่งออกไป ข้อมูลที่ได้ไม่สามารถใช้เป็นตัวแทนความคิดของผู้ใช้บัณฑิตทั้งหมดได้ ผู้ใช้บัณฑิตได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานว่าเป็นหน่วยงานเอกชน เป็นผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการรับบัณฑิตเข้าทำงาน จะพิจารณาจากสาขาวิชาที่บัณฑิตจบตรงกับลักษณะงาน เป็นสำคัญ ผู้ใช้บัณฑิตมีความเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพของบัณฑิตอยู่ในระดับปานกลาง และมีศักยภาพการทำงานเปรียบเทียบกับบัณฑิตจากสถาบันอื่นในระดับเท่ากัน ผู้ใช้บัณฑิตมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตบัณฑิตในด้านสิ่งที่ควรเพิ่มเติมสำหรับการผลิตบัณฑิต คือ ก่อนที่จะจบการศึกษาควรมีการอบรมความรู้ให้กับบัณฑิตในการสมัครงาน การเตรียมตัวรวมถึงบุคลิก การแต่งการในการสมัครงาน การสอบ สอบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาข้อมูลจากนักศึกษาปัจจุบัน คณะผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้บัณฑิตทั้งหมด 20 คน ตอบกลับมาทั้งหมด 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักศึกษาปัจจุบันร้อยละ 90 เป็นนักศึกษาหญิง ภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลางเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการ นักศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสายวิทย์-คณิต นักศึกษามีความเห็นต่อหลักสูตร หมวดศึกษาทั่วไปว่ามีความเหมาะสมในระดับปานกลางถึงดี หมวดวิชาแกน มีความเหมาะสมในระดับดี หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเอกบังคับ กลุ่มวิชาเอกเลือกหรือวิชาโท และหมวดวิชาเลือกเสรี มีความเหมาะสมในระดับดี ความเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับดีในหลายๆ ด้าน และมีนักศึกษาร้อยละ 85 เห็นว่าควรปรับปรุงจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1715
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassachan-Piyatunti.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.