Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1729
Title: การประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด ปีการศึกษา 2543 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: An Evaluation of the Bachelor of Business Administration in Marketing Degree's Curriculum for Academic Year 2003 Huachiew Chalermprakiet University
Authors: อรรถพล ธรรมไพบูลย์
เมธี รัชตวิศาล
สุพิศพรรณ วัจนเทพินทร์
นิรมล เจริญสวรรค์
ปยุต ถาวรสถิตย์
เมตตา ภู่ตระกูล
วิโรจน์ รัตนสิงห์
นทสรวง มหาชนก
พวงชมพู โจนส์
สุเมษ เลิศจริยพร
เกรียงศักดิ์ อวยพรชัยเจริญ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะบริหารธุรกิจ
Keywords: การประเมินหลักสูตร
Curriculum evaluation
การตลาด -- หลักสูตร
Marketing -- Curricula
การตลาด -- การศึกษาและการสอน
Marketing -- Study and teaching
Issue Date: 2005
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด จัดทำขึ้นตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติในการกำหนดให้มีการประกันคุณภาพของหลักสูตร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อสังคมและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาประกอบ เช่น หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน เป็นต้น ดังนั้น ในการวิจัยประเมินหลักสูตรนี้จึงทำการศึกษาความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตร การทำวิจัยประเมินหลักสูตรนี้รวบรวมข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด ผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากประชากรทุกกลุ่มมีจำนวนไม่มาก ผู้วิจัยจึงใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถานภาพของประชากรเป็นตัวแปรอิสระ และความคิดเห็นของประชาการในด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของหลักสูตรเป็นตัวแปรตาม ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดได้มาจากแบบสอบถาม ซึ่งจัดทำโดยคณะกรรมการประเมินหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ ผลการศึกษาข้อมูลจากอาจารย์ คณะผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามทั้งหมด 11 ชุด มีการตอบกลับมา 11 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 อาจารย์ทั้งหมดมีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโทคิดเป็นร้อยละ 100 และทั้งหมดมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ ประสบการณ์การสอนส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 3-6 ปี อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ร้อยละ 81.8 ความเห็นต่อสัดส่วนของหมวดวิชาต่างๆ ในหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีสัดส่วนอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย ส่วนหมวดวิชาเฉพาะ อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่ามีสัดส่วนอยู่ในระดับน้อย-ปานกลาง โดยมีความเห็นว่ากลุ่มวิชาแกนมีสัดส่วนปานกลาง ส่วนกลุ่มวิชาเอกและกลุ่มวิชาเอกเลือกหรือวิชาโทมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย สำหรับกลุ่มวิชาเลือกเสรี อาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่ามีสัดส่วนอยู่ในระดับน้อย ความเห็นต่อพฤติกรรมการสอนของตนเอง อาจารย์ผู้สอนเห็นว่าตนเองมีพฤติกรรมในการสอนในระดับดีมากในทุกหัวข้อ คุณลักษณะที่อาจารย์ผู้สอนคิดว่าตนเองมีมากที่สุด คือ การมีศีลธรรม คุณลักษณะสำคัญที่รองลงมาได้แก่ มีความรับผิดชอบ และสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ คุณลักษณะที่สำคัญในการเป็นอาจารย์ผู้สอนการเป็นผู้มีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี ส่วนคุณลักษณะที่สำคัญที่รองลงมา คือ ขวนขวายติดตามความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงในความรู้ใหม่ๆ อาจารย์ผู้สอนใช้รูปแบบการสอนแบบการบรรยาย แบบบรรยายเชิงอภิปราย และแบบบรรยายเชิงปฏิบัติสูงสุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่มีความเห็นว่านักศึกษามีระดับความรู้พื้นฐานระดับสามัญอยู่ในระดับน้อย มีความเห็นว่านักศึกษามีความสนใจ ตั้งใจ และให้ความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับปานกลาง มีการเข้าเรียนในรายวิชาที่สอนสม่่ำเสมอ ในระดับปานกลาง และอ่านหนังสือประกอบหรือค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่อาจารย์สั่งอยู่ในระดับน้อย ผลการศึกษาข้อมูลนักศึกษา คณะวิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้บัณฑิตหลักสูตรการตลาดจำนวนทั้งหมด 47 ชุด บัณฑิตตอบแบบสอบถามและส่งกลับมาทั้งสิ้น 41 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.23 ของบัณฑิตทั้งหมด บัณฑิตส่วนใหญ่มีอายุ 22 ปี โดยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และชลบุรีเป็นส่วนใหญ่ บัณฑิตมีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อจบการศึกษา ต่ำกว่า 2.5 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 75 และไม่มีงานทำคิดเป็นร้อยละ 25 เนื่องจากสมัครแล้วแต่รอทางบริษัทติดต่อกลับ โดยมีบัณฑิตทำงานในหน่วยงานของเอกชน ร้อยละ 34 และกิจการของครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 30 โดยทำงานในตำแหน่งงานพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมากที่สุดถึงร้อยละ 57 ร้อยละ 48.8 ของบัณฑิตมีอัตราเงินเดือนระหว่าง 5,001-10,000 บาท และร้อยละ 19.5 ของบัณฑิตมีอัตราเงินเดือนระหว่าง 10,001-15,000 บาท ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร บัณฑิตมีความเห็นว่าหลักสูตรนี้มีความเหมาะสม โดยจาการดูค่าเฉลี่ยที่ปรากฏอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง-ดีทุกหมวดวิชา (หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาเฉพาะ วิชาแกน และวิชาเอกบังคับ และหมวดวิชาเลือกเสรี) และวิธีการเรียนที่บัณฑิตชอบเป็นวิธีการเรียนแบบร่วมมือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.2 รองลงมา คือ แบบอิสระคิดเป็นร้อยละ 31.7 ในขณะเดียวกันบัณฑิตก็คิดว่าวิธีการเรียนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จควรเป็นวิธีแบบร่วมมือสูงที่สุด เช่นเดียวกันหรือคิดเป็นร้อยละ 65.9 รองลงมาคือแบบพึ่งพา คิดเป็นร้อยละ 17.1 การประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของบัณฑิต บัณฑิตมีความเห็นว่าตนเองมีความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติงานในด้านความรู้พื้นฐานเชิงทฤษฎีสำหรับการประกอบอาชีพ มีความรู้ทางด้านการบัญชี การจัดการ การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ มีการนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับงาน มีความสามารถในการนำความรู้มาแก้ไขปัญหา มีการนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงาน มีความสามารถในการนำเสนอความรู้ต่อผู้บริหารได้ถูกต้องและชัดเจน มีความสามารถในการนำความรู้มาเป็นพื้นฐานในการศึกษาเพิ่มเติม มีการนำความรู้ที่ได้รับมีความทันสมัยสามารถปรับใช้กับเหตุการณ์ปัจจุบันได้ และมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับดี ผลการศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต คณะวิจัยส่งแบบสอบถามที่ส่งไปถึงผู้ใช้บัณฑิตทั้งหมด 47 ชุด ได้รับตอบกลับมา 4 ชุด คิดเป็นร้อยละ 8.51 ผู้ใช้บัณฑิตมีความสัมพันธ์กับบัณฑิตในการเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานถึงร้อยละ 100 ในภาพรวมนั้นผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าบัณฑิตมีความรู้ความสามารถในระดับสูงในทุกประเด็นยกเว้นในเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและความเป็นผู้นำและความเชื่อถือยอมรับจากผู้ร่วมงานซึ่งมีความสามารถในระดับปานกลาง โดยบัณฑิตมีความสามารถในการติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมงานเป็นอันดับแรก รองลงมาอันดับ 2 บัณฑิตมีความสามารถในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และอันดับ 3 คือความสามารถในการปฏิบัติงาน ความสามารถในการแก้ไขปัญหาและความสามารถในการทำงานได้รวดเร็วทันกำหนด ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เมื่อเปรียบเทียบกับบัณฑิตจากสถาบันอื่นพบว่าบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติสาขาวิชาการตลาด มีศักยภาพการทำงานมากกว่าบัณฑิตจากสถาบันอื่นในด้านการอุทิศเวลาให้กับงานและความสามารถในการใช้ภาษาไทย
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1729
Appears in Collections:Business Administration - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Attapol-Thammapaiboon.pdf10.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.