Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1751
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกชมรายการโทรทัศน์ทางด้านเทคโนโลยี ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors Influencing the Behaviors on Watching Technology Television Programs of People in Bangkok
Authors: รุ่งฤดี รัตนวิไล
Rungrudee Rattanawilai
เสาวนีย์ ถมยา
Saowanee Thomya
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: รายการโทรทัศน์
Television programs
ผู้ชมโทรทัศน์
Television viewers
โทรทัศน์ -- การผลิตและการกำกับรายการ
Television -- Production and direction
Issue Date: 2006
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกชมรายการโทรทัศน์ทางด้านเทคโนโลยีในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาถึงพฤติกรรมการชมรายการโทรทัศน์ทางด้านเทคโนโลยี 2) ศึกษาถึงปัจจัยในการเลือกชมรายการโทรทัศน์ทางด้านเทคโนโลยี ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การแจกแบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด แล้วนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ (Standard Package for the Second Sciences : SPSS) เพื่อแสดงผลการศึกษาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย รวมทั้งการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ของ Pearson Chi-square ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด มีอายุระหว่าง 24-35 ปี ระดับการศึกษาขั้นปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีระดับรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10000 บาท การศึกษาในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกชมรายการโทรทัศน์ทางด้านเทคโนโลยีของกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับปัจจัยในการเลือกชมรายการโทรทัศน์ทางด้านเทคโนโลยี มีระดับความสำคัญในระดับมากทั้ง 2 ปัจจัย คือ ด้านเนื้อหารายการ ด้านรูปแบบการดำเนินรายการ ส่วนในด้านประโยชน์ที่ได้รับ พบว่า มีระดับความสำคัญในระดับมากเช่นกัน สำหรับระดับความสำคัญในระดับปานกลาง คือ ด้านข้อดีของรายการ พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสำคัญปานกลาง ได้แก่ ระยะเวลาของการนำเสนอเรื่องราวในแต่ละเรื่องมีความเหมาะสมและหากเราพลาดจากการชมรายการใดแล้ว เรายังสามารถรอรับชมได้จากรายการอื่น ในช่วงเวลาถัดไป ส่วนในด้านข้อเสียของรายการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสคำคัญปานกลาง ได้แก่ เนื้อหารายการทางด้านเทคโนโลยีนำเสนอเรื่องราวสั้นเกินไป พิธีกร หรือผู้ดำเนินรายการ ถ่ายทอดเรื่องราวไม่น่าสนใจ ข้อมูลที่ได้รับชมไม่เอื้อต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากจำกัดด้วยกฎระเบียบบริษัทและอื่นๆ
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1751
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowanee-Thomya.pdf
  Restricted Access
39.32 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.