Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/179
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorThanya Sanitwongse Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorสุนิดา พูนสวัสดิ์-
dc.contributor.authorSunida Poonswasd-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2022-04-30T08:44:51Z-
dc.date.available2022-04-30T08:44:51Z-
dc.date.issued2000-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/179-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543th
dc.description.abstractการศึกษาความคิดเห็นและการเข้าร่วมโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตเกษียณก่อนกำหนดของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานครที่มีต่อโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ และ 3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหลังการเข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานครที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต จำนวน 1,034 คน ใช้วิธีแบบผสมผสานเก็บตัวอย่างร้อยละ 60 ของข้าราชครูที่เข้าร่วมโครงการคิดเป็นจำนวน 175 คน และร้อยละ 40 ของกลุ่มไม่เข้าร่วมโครงการคิดเป็น 297 คน รวมตัวอย่างทั้งสิ้น 472 คน รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สมการจำแนกประเภทผลการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าข้าราชการครูที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ถึงร้อยละ 74.5 เพศชายร้อยละ 25.5 และสมรสแล้วกว่าร้อยละ 50 อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการเท่ากับ 53.2 ปี ส่วนใหญ่มีเงินเดือนสูงกว่า 25,000 บาท จบปริญญาตรีร้อยละ 80 จากการศึกษาพบว่าปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ด้านความพอใจในความสำเร็จของงาน ความรับผิดชอบในงานซึ่งมีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง แต่ความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มที่ปรากฎชัดคือกลุ่มที่เข้าร่วมมีความไม่พอใจต่อการปกครองบังคับบัญชาเป็นอย่างมาก รองลงมาคือไม่พอใจต่อความก้าวหน้าในการทำงาน ลักษณะงานที่ทำ และสภาพแวดล้อมในการทำงานในขณะที่กลุ่มที่ไม่เข้าร่วมมีความรู้สึกปกติ การศึกษาวิเคราะห์ความคิดเห็นของข้าราชการครูที่เข้าร่วมโครงการโดยแบ่งเป็น 3 ด้านคือ 1) ด้านประโยชน์ของโครงการ คือลดภาวะหนี้สิน เงินตอบแทน 7 เท่าลดปัญหาส่วนตัวและการเดินทาง 2) ด้านนโยบาย ทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกันคือควรจัดโครงการทุกปี เพิ่มเงินจูงใจให้มาก เพิ่มระดับตำแหน่ง 1 ขั้น 3) ด้านการดำเนินปฏิบัติของโครงการ กลุ่มที่ไม่เข้าร่วมมีความคิดเห็นด้านลบต่อการประชาสัมพันธ์ของโครงการ การศึกษาพบว่ามี 5 ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการคือ 1) อาชีพสำรอง เป็นตัวแปรอันดับแรก 2) การปกครองบังคับบัญชาทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม 3) ความพึงพอใจต่อจำนวนบำเหน็จบำนาญ 4) ความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าผู้ที่มีความก้าวหน้าในงาน เพราะจะไม่เข้าร่วมโครงการในขณะที่ผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในงานจะเลือกที่จะเข้าร่วมโครงการ 5) อายุราชการเป็นปัจจัยสุดท้าย ผู้ที่มีอายุราชการมากเมื่อเข้าร่วมโครงการจะได้เงินตอบแทนสูง และมีความเบื่อหน่ายต่อการทำงานมานานจะเข้าร่วมโครงการผลการศึกษาชีวิตหลังการเข้าร่วมโครงการ 1) ด้านจิตใจมีความสุขและผ่อนคลายขึ้น 2) ด้านสังคมเข้าสังคมได้เช่นเคยและมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมใหม่ ๆ 3) ด้านครอบครัวมีเวลาได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้น 4) ด้านเศรษฐกิจพบว่าส่วนใหญ่จะมีอาชีพสำรองและไม่กระทบต่อรายได้ 5) ด้านอาชีพมีอาชีพสำรองทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการสร้างความพึงพอใจมีความสุขและเพลิดเพลินต่ออาชีพใหม่จากการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับปรุงการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้มีความเข้าใจมากขึ้น 2) การบริหารจัดการระบบราชการควรปรับปรุงเพื่อไม่ให้เกิดภาวะความกดดันเป็นเหตุให้ลาออก 3) ควรมีการปรับปรุงให้มีสิ่งสูงใจมากขึ้น 4) ควรมีการติดตามประเมินผลโครงการ และแนะนำปรึกษาปัญหาแก่กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการที่ประสบปัญหาต่าง ๆ 5) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดอบรมการสร้างอาชีพเสริมให้ข้าราชการครูที่เข้าร่วมโครงการหรือข้าราชการที่ต้องการมีอาชีพเสริมรายได้th
dc.description.abstractThe study of opinion and participation about the early retirement of the government teachers from school clusters, department of common education within Bangkok. The three objectives are as follows: 1) To study of the opinion of government teachers from common education department towards the changing way life project 2) To study the factors which effect the decision in joining the project 3) To study how life changed after joining project. The study group of 1034 government teachers who were entitled to join the project were selected by using integrated method of collecting samples of 60% of government teachers who joined the project which were equivalent to 175 people. At the same time collecting samples of 40% of government teachers who did not join the project which were equal to 297 people. The total of two samplings were 472 people. Collecting data by using questionnaires and analyzed them by using SPSS/PC computer program to find percentage, average, and discrimination function equation. The result from studying personal factors found that the majority of government teachers who joined the project up to 74.5% were female and up to 50% were married, while 25.5% were male. The average age of the participants was 53.2 years old. And their salary were over 25,000 bath. Besides 80% of the participants graduated from bachelor degree. The result from studying found the motivation factors that effected the decision making of the participants were the satisfaction of successful work and their working Responsibility which were in moderate average value and were similar in both group. However, it’s obvious that the group of people who joined the project were not satisfied with the management of their boss immensely. Less than that they were not satisfied with their working progress, type of work, and working atmosphere, while the other group who did not join the project felt normal. The study and analysis about the opinion of the government teachers who joined the project could be discriminated into 3 categories: 1) The utility of the project: reducing their debts, receiving remuneration of 7 months salary, reducing travel burden 2) The project policy: the opinion resulted that that the participants and anticipant shared the same point of view which means: should set up this project every year, increase more motivation money, and give 1 level of promotion. 3) The management of the project: the anticipant had a negative point view towards the project announcement. The problem raised by the participants were the delaying in getting the benefit money. The study found that there were 5 changing factors effected the decision of participating the project: 1) Supporting job was the priority effecting decision making 2) Control and management, most of the participants felt unjustified. 3) The satisfaction to the amount of pension and remuneration 4) The satisfaction of their working progress: the employee who were satisfied with their working progress wouldn’t join the project, while the less successful people would join the project. 5) Work-life is the last factor: the more work life the higher remuneration from the project. Besides long work-life caused the feeling of boredom and repetition.The results from studying life after participating in the project 1) Mind aspect: relaxing and happier 2) Social aspect: social relationship was normal and had more time to join mew activities 3) Family aspect: could spend more time with family 4) Economy aspect: new job gave satisfaction, happiness, and joyful at work. The suggestion from this study: 1) Should develop project awareness. 2) Should develop government management system to avoid working pressure. 3) Should develop more motivation factors. 4) Should follow up and evaluate the project. 5) The departments concerned should organize a special course of career training for government teachers who join the project or who are interested.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectการเกษียณอายุก่อนกำหนดth
dc.subjectEarly retirementth
dc.subjectข้าราชการครู -- ไทย -- กรุงเทพฯth
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแล -- ไทยth
dc.subjectOlder people -- Care -- Thailandth
dc.titleการศึกษาความคิดเห็นและการเข้าร่วมโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตเกษียณก่อนกำหนดของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeThe Study of Opinion and Participation about the Early Retirement of the Government Teachers from School Clusters, Department of Common Education within Bangkokth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf856.06 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontent.pdf726.41 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf12.16 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf923.34 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.