Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/189
Title: การปรับตัวทางสังคมของเยาวชนแรงงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: A Study on Social Adjustment of Youth Labour in Bangkok Metropolitan and Its Suburbs
Authors: ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เสาวนิจ รัตนวิจิตร
Keywords: การปรับตัวทางสังคม
แรงงานเด็ก -- ไทย -- กรุงเทพฯ
เยาวชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Social adjustment
Child labor -- Thailand -- Bangkok
Youth -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 1997
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของเยาวชนแรงงาน การปรับตัวทางสังคมของเยาวชนแรงงานจากสภาพแวดล้อมและการทำงาน และปัจจัยที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์ต่อการปรับตัวทางสังคมของเยาวชนแรงงาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนแรงงานในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3 เขต ได้แก่ เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตอ้อมน้อยจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 240 คน โดยวิธีสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในครอบครัว ความพึงพอใจต่องาน การได้รับข่าวสารข้อมูล การสนับสนุนทางสังคมของญาติหรือเพื่อน และพฤติกรรมทางเพศและการใช้ยาเสพติด เมื่อได้รับข้อมูลครบถ้วน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวนและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ผลการวิจัยพบว่าเยาวชนแรงงานส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 19-20 ปี มีการศึกษาไม่เกินชั้นประถมปีที่ 6 อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑลมาแล้วไม่เกิน 1 ปี และเยาวชนแรงงานส่วนใหญ่มีรายได้เดือนละ 3,001-4,500 บาทด้านความพึงพอใจต่อครอบครัว เยาวชนแรงงานส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อครอบครัวมากโดยเฉพาะในเรื่องการอดออมทรัพย์ และมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่อยู่ที่บ้านเดิมมาจนถึงปัจจุบันด้านความพึงพอใจต่องาน เยาวชนแรงงานส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่องานโดยมีความพึงพอใจต่อเพื่อนร่วมงานมากที่สุด ด้านการรับข่าวสารข้อมูล เยาวชนแรงงานส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารข้อมูลมาก่อนมาทำงานในเมือง ด้านการสนับสนุนทางสังคมจากญาติหรือเพื่อน เยาวชนแรงงานส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากญาติหรือเพื่อนมากโดยเฉพาะในเรื่องการให้กำลังใจและคำชมเชยด้านการปรับตัวทางสังคม เยาวชนแรงงานส่วนใหญ่ปรับตัวทางสังคมได้ค่อนข้างดีโดยเฉพาะในด้านที่เยาวชนแรงงานเห็นว่ากลุ่มของตนเองเป็นกลุ่มที่ดีด้านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามสังคมที่พัฒนา เยาวชนแรงงานส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปตามสังคมที่พัฒนามากโดยเฉพาะในเรื่องการรักษากฎและระเบียบวินัยด้านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอันเป็นผลกระทบจากสังคมที่พัฒนา เยาวชนแรงงานส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอันเป็นผลกระทบจากสังคมที่พัฒนาค่อนข้างน้อย จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระเกือบทั้งหมดมีผลต่อการปรับตัวทางสังคมได้แก่ระดับการศึกษา ความพึงพอใจในครอบครัว ความพึงพอใจในงานกับรับรู้ข่าวสารข้อมูล และการสนับสนุนทางสังคมของญาติหรือเพื่อน ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามสังคมที่พัฒนามี 1 ตัวแปรคือการรับรู้ข่าวสารข้อมูลและปัจจัยที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอันเป็นผลกระทบจากสังคมที่พัฒนามี 2 ตัวแปรคืออายุการทำงานและการรับรู้ข่าวสารข้อมูลผลการวิจัยครั้งนี้พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐ องค์กร พัฒนาเอกชน และนายจ้างในด้านการศึกษา ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพอนามัย ด้านจัดสวัสดิการต่าง ๆในที่ทำงาน พัฒนาคุณภาพข่าวสารข้อมูล จัดหน่วยงานให้คำปรึกษา จัดการนันทนาการและการกีฬาเพื่อให้เยาวชนแรงงานได้พัฒนาทักษะความรู้ในการทำงาน เพื่อให้เยาวชนแรงงานสามารถปรับตัวทางสังคมได้ดีขึ้นในสังคมเมือง ตลอดจนช่วยให้เยาวชนแรงงานได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดและพฤติกรรมทางเพศของเยาวชนแรงงาน
This research aims to study problems of youth labourers, their social adjustment in their home and work environments and factors related to the social adjustment. 240 samples were picked up in 2 districts in Bangkok ; Bang Khuntein, Ratburana and 1 dictrict of Omnoy in Samut Sakhon Province. The samples were interviewed based on questionnaires which included items regarding their satisfaction in family life, woeks, use of mass media communication, social support from relatives and friends, sexual behavior/attitudes and the experiences on the drugs. The collected data was analyzed by using SPSS/PC computer program and analised data was presented in percentage, mean, one-way analysis of variance and correlation coefficient. The study has show that most of the youth labourers were aged between 19-20 years. Their education was up to grade 6 level only. They have lived in Bangkok or its suburbs for not more than a year. Most of the youth labourers received an average income of Bht. 3,001- 4,500 per month. The following conclusions can be drawn from the study, regarding: -family fife: most youth labourers were satisfied with their family lives especially which related to the saving scheme. They had good relationship with their families since they were at their home base up to the present time. -works: most of them were satisfied with their work especially with their work sepecially with their co-workers. -communications: most of them received messages before coming to the city to work.-social support from relatives and friends: most of the youth labourers received a lot of support from both relatives and friends especially regarding moral support and complements. -social adjustment: most youth labourers were highly socially adjusted especially when they felt that their groups were good groups. -changing of life-style based on a developed society: most of them have been greatly influenced by the social changes in the demands for self-discipline.-changing of life style based on the effects of development change: they have not chaged much for they have been able to maintain most of their cultural values. Based on the questionnaire, the study had answers for the hypothesis-the factors, most of independent variables, were related to the aspects of social adjustment of youth labourer, i.e., their academic level, satisfaction in family life and their works, communication and social support from relatives and friends. There was only one factor, communication, related to the changing of the way of life based on the development of society. Two other variable factors related to the changing or the way of life based on the effect of developmental change, the duration of the work and communication.The result of this research has revealed the truth which will allow us to make suggestions to Government Organizations, Non-Government Organizations and other agencies to provide support to youth labourers in education, their actual place of residence, their health, other social services in their place of work and to develop the quality of communication, provide counselling service where young labourers can ask for advice when they have problems, recreation and sports. All of these are means to help the youth labourers to develop their knowledge and skills in their work and to help them adjust to the urban society,. including help in the use of free time for physical exercise and other activities to provent drug usage and illicit sexual activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2540
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/189
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf759.69 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf8.34 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
References.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.