Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2016
Title: | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนอนุบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Marketing Mix Factors on Parent's Decision toward Choosing Kindergarten in Muang District, Samutprakan Province |
Authors: | วรสิทธิ์ จักษ์เมธา Worasith Jackmetha เกษสุดา รวงผึ้ง Katesuda Ruangphung Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | การศึกษาขั้นอนุบาล Kindergarten การศึกษาปฐมวัย Early childhood education พฤติกรรมผู้บริโภค Consumer behavior โรงเรียนอนุบาล |
Issue Date: | 2005 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนอนุบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง ในการเลือกโรงเรียนอนุบาล ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มประชากรตัวอย่างจากผู้ปกครองในจังหวัดสมุทรปราการตามความสะดวก จำนวน 383 ตัวอย่าง และนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS เพื่อแสดงผลการศึกษาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย รวมทั้งการทดสอบสมมติฐานในการวิจัย โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีความเกี่ยวข้องกับนักเรียนในฐานะมารดา ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี / เทียบเท่า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001-20,000 บาท และมีอาชีพรับจ้างภาคเอกชน ในด้านส่วนประสมทางการตลาด ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกในโรงเรียนอนุบาล เรียงลำดับ ดังนี้ (1) ปัจจัยด้านบุคลากร (2) ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งและความสะดวกในการเดินทาง (3) ปัจจัยด้านการรับรองมาตรฐานและความปลอดภัย (4) ปัจจัยด้านสถานศึกษา (5) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ (6) ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ (7) ปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา จากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพส่วนบุคคลของผู้ปกครองกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านต่างๆ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ ความเกี่ยวข้องกับนักเรียนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสถานศึกษา ด้านทำเลที่ตั้งและความสะดวกในการเดินทาง ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการในการให้บริการ วุฒิการศึกษามีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสถานศึกษา ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา ด้านทำเลที่ตั้งและความสะดวกในการเดินทาง ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการรับรองมาตรฐานและความปลอดภัย และด้านกระบวนการในการให้บริการ รายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการรับรองมาตรฐานและความปลอดภัย และด้านกระบวนการในการให้บริการ อาชีพของผู้ประกอบการมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา ด้านทำเลที่ตั้งและความสะดวกในการเดินทาง ด้านการส่งเสริมเรียนรู้ ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการในการให้บริการ |
Description: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548. |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2016 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ketsuda-RuangPeung.pdf Restricted Access | 9.5 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.