Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2068
Title: | การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ประเภทครีมบำรุงผิว |
Other Titles: | Efficency Improvement of Total Processing for Nourishing Cream Products Group : Case Study of Beiersdore Company Limited |
Authors: | อภิชัย สายสดุดี Apichai Saisadudee จันทนา ลิ้มสุขเสกสรรค์ Jantana Limsukseksun Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | การวางแผนการผลิต Production planning. การบำรุงรักษาเชิงทวีผลโดยรวม Total productive maintenance. การควบคุมความสูญเปล่า Loss control ครีมบำรุงผิว Nourishing cream บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด Beiersdore Company Limited |
Issue Date: | 2006 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ประเภท Cream บำรุงผิว (Nourishing Cream) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาที่มีผลต่อค่าประสิทธิผลโดยรวมของกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ประเภท Cream พร้อมทั้งหาแนวทางในการแก้ไขและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตโดยวิธีการเปรียบเทียบกับค่า Benchmarking ของข้อมูลย้อนหลัง 2 ปี โดยใช้เครื่องมือทดสอบความสัมพันธ์ที่เรียกว่า การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และใช้เครื่องมือ TPM (การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม) ในเสาหลักที่มีชื่อว่า การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement) ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง การเก็บข้อมูลขณะทำการศึกษา/แก้ไข เพื่อหาสาเหตุของปัญหา และสุดท้ายการวิเคราะห์ข้อมูลหลังทำการศึกษา พร้อมเปรียบเทียบผลที่ได้ก่อนและหลังทำการศึกษาโดยใช้เครื่องมือควบคุมคุณภาพช่วยในการศึกษา คือ ใบตรวจสอบ (Check Sheet) การวิเคราะห์พาเรโต (Pareto Analysis) และผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) ผลการศึกษา พบว่าปัญหาที่ทำให้ค่า ร้อยละ Service Level ของผลิตภัณฑ์ประเภท Cream มีค่าต่ำกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์กลุ่มของ Roll-On และ Body นั้นมาจากปัญหาด้านประสิทธิภาพของการผลิต เนื่องมาจากค่าเฉลี่ยร้อยละประสิทธิผล โดยรวมของเครื่องจักรก่อนทำการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 ถึงเดือนกันยายน 2548 นั้นมีค่าเพียง 38.30 แต่เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างร้อยละ Service Level และค่าเฉลี่ยร้อยละ Supplier Performance Evaluation นั้นมีค่าเพียง 0.33 ซึ่งพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน อีกทั้งในช่วงเวลาเดียวกันค่าร้อยละเฉลี่ย Supplier Performance Evaluation นั้น ยังมีค่าสูงถึง 96.50 ซี่งสนับสนุนผลจากการวิเคราะห์ว่าปัญหาที่ทำให้ค่าร้อยละ Service Level มีค่าต่ำนั้นมีที่มาจากปัญหาด้านประสิทธิภาพของการผลิต สำหรับการศึกษาในส่วนของปัญหาด้านประสิทธิภาพของการผลิต พบว่า สาเหตุที่ทำให้ค่าร้อยละประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร มีค่าต่ำนั้นมาจากปัญหาตลับคว่ำ/ตัวยาราด และปัญหาฝาลงไม่ทันคิดเป็นร้อยละ 14.01 และ 13.86 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเวลารับภาระงานทั้งหมด โดยหลังจากทำการปรับปรุง/ศึกษา ค่าความสูญเสียลดลงเหลือร้อยละ 6.03 และ 2.45 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเวลารับภาะงานทั้งหมด ทำให้ค่าร้อยละประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรมีค่าเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยก่อนปรับปรุงซึ่งอยู่ที่ 38.30 เป็น 67.50 และค่าร้อยละเฉลี่ย Service Level เพิ่มขึ้นจาก 94.86 เป็น 98.06 |
Description: | ภาคนิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2068 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Juntana-Limsooksaksun.pdf Restricted Access | 18.12 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.