Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/227
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการกับความขัดแย้งของคู่สมรส :ศึกษาเฉพาะคู่สมรสในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Factors Affected Conflict Management of Couples in Bangkok Area. |
Authors: | ณัฏฐ์ษา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Nuttsa Sanitvong Na Ayuttaya ทรงศักดิ์ สถาปนะนันต์ Songsak Satapananun Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | การสมรส คู่สมรส ครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล Marriage Spouses Families -- Thailand -- Bangkok Interpersonal conflict |
Issue Date: | 2006 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมความขัดแย้งในคู่สมรส 2) ศึกษาการจัดการความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยก่อนการสมรส ปัจจัยระหว่างการสมรส ปัจจัยสาเหตุของความขัดแย้ง ปัจจัยลักษณะของความขัดแย้งกับการจัดการกับความขัดแย้งของคู่สมรส และ 4) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการกับความขัดแย้งของคู่สมรส กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาในครั้งนี้เป็นผู้ที่ทำการสมรสแล้ว อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ทำการสมรสแล้วจำนวน 384 คน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด มีรายได้ 10,001-25,000 บาท ในเรื่องจำนวน ส่วนใหญ่มีบุตรชาย 1 คน บุตรหญิง 1 คน มากที่สุดจากการวิเคราะห์ข้อมูลในเรื่องความขัดแย้งของคู่สมรส สรุปได้ว่าสาเหตุของความขัดแย้งส่วนใหญ่เกิดจากการมีความคิดเห็นไม่ตรงกันมากที่สุด รองลงมาคือการไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ความแตกต่างในค่านิยมและความเชื่อ ความแตกต่างของประสบการณ์ ภูมิหลัง และสุดท้าย คือ การไม่รับผิดชอบหน้าที่ตามบทบาทในครอบครัวลักษณะความขัดแย้ง พบว่า มีความขัดแย้งที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลมากที่สุด รองลงมาคือความขัดแย้งที่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล ความขัดแย้งที่มีลักษณะเปิดเผย ความขัดแย้งที่มีลักษณะไม่เปิดเผย ความขัดแย้งที่มีลักษณะเฉียบพลัน และความขัดแย้งที่มีลักษณะเรื้อรังนอกจากนี้การจัดการกับความขัดแย้งของคู่สมรส ซึ่งมีสองลักษณะ คือการจัดการกับความขัดแย้งเชิงบวก ได้แก่ การใช้ความอ่อนโยน การยอมตาม การประนีประนอม และการเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหา และการจัดการกับความขัดแย้งเชิงลบ ได้แก่การใช้ความเย็นชา การหลีกหนี การเก็บกด และการใช้อำนาจ ผลการวิจัยพบว่าคู่สมรสใช้การจัดการกับความขัดแย้งเชิงบวกมากกว่าเชิงลบส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับการจัดการกับความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส พบว่าคู่สมรสที่มีสาเหตุของความขัดแย้งและลักษณะความขัดแย้งต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับการที่คู่สมรสจะมีการจัดการกับความขัดแย้งเชิงบวกน้อยการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการกับความขัดแย้งของคู่สมรส พบว่ามีตัวแปรปัจจัยก่อนการสมรส ได้แก่ การสนับสนุนจากบุคคลสำคัญนัยสำคัญ และความแตกต่างในค่านิยม และความเชื่อ ตัวแปรปัจจัยระหว่างการสมรส ได้แก่ ระยะเวลาการสมรส และรายได้รวมของครอบครัวตัวแปรปัจจัยด้านลักษณะของความขัดแย้ง ได้แก่ ความขัดแย้งที่มีลักษณะเรื้อรัง และลักษณะของความขัดแย้งเฉียบพลัน และตัวแปรปัจจัยด้านสาเหตุของความขัดแย้ง ได้แก่ ความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันโดยการได้รับการสนับสนุนจากบุคคลนัยสำคัญมาก มีผลให้คู่สมรสมีการจัดการกับความขัดแย้งเชิงบวกสูง การมีความแตกต่างในค่านิยมความเชื่อ มีผลให้คู่สมรสมีการจัดการกับความขัดแย้งเชิงบวกน้อย ระยะเวลาการสมรสนานและรายได้รวมของครอบครัวมาก มีผลให้คู่สมรสมีการจัดการกับความขัดแย้งเชิงบวกมาก ความขัดแย้งระหว่างคู่สมรสทั้งเรื้อรังและเฉียบพลันและความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน มีผลให้คู่สมรสมีการจัดการกับความขัดแย้งเชิงบวกน้อยจากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ หน่วยงานด้านการศึกษาควรให้ความรู้แก่วัยรุ่นและเยาวชน ให้เห็นความสำคัญของปัจจัยที่อาจส่งผลต่อชีวิตสมรสในระยะยาว ส่งเสริมให้มีการจัดหน่วยงานให้คำปรึกษาปัญหาด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งสนับสนุนในการประกอบอาชีพ จัดอบรมให้มีนักสังคมสงเคราะห์ที่สามารถเป็นที่ปรึกษาปัญหาความขัดแย้งของคู่สมรส ในหน่วยงานระดับท้องถิ่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันทางศาสนา เพิ่มทักษะในการให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดการกับความขัดแย้งของคู่สมรส ควบคู่กับการให้ความรู้และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม This research aimed to 1) study types of conflict of couples 2) examine conflict management between spouses 3) study the relation of pre-marriage factors, in-between marriage factors, conflict types and conflict causes with conflict management ; and 4) study factors affected conflict management of couples. Populations were married persons resided in Bangkok. Data was collected by questionnaires. The statistics used in this research were descriptive statistics, percentile, means, as well as analysis of variance, correlation and multiple regression.Samples were 384 married persons, more female than male, most of them were Buddhists, aged between 31-40 year-old, bachelor’s degree graduated, most were employees, income range between 10,001-25000 baht per month. They mostly had 2 children, one boy and one girl each.The result of the study reveals that situation which caused conflict between couples most was opinion conflict, others were misunderstanding, attitude and belief differences, experiences and background differences and irresponsibility. Conflict type was mostly unexplainable conflict, others were explanable conflict, disclosed conflict type, disclosed conflict type, closed conflict type, unexpected conflict type and long-lasting conflict type. For conflict management, the study shows that samples used positive management rather than negative management. And it’s found that samples with any type of conflicts and causes of conflicts tended to used less positive conflict management.To study factors affected 3 levels of conflict management of couples, 7 factors were found. They were the support from significant persons, attitude and belief differences, duration of marriage, family income, long-lasting conflict type, unexpected conflict type and misunderstanding each other.From the results of this study, it’s suggested that education organizations should educate teenagers and people to realize the importance of factors which could affect married life. Concerned organization should provide counselling services for married couples in economic matters and occupational funds for needed families, and also prepare social workers to cope family problems of clients. Local organizations and especially, religion institution increase skills in advising people in conflict management of couples as well as to teach them the morality. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2548 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/227 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 335.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontent.pdf | 193.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 497 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 221.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 734.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Reference.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.