Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/232
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โชคชัย สุทธาเวศ | - |
dc.contributor.advisor | Chokchai Suttawet | - |
dc.contributor.author | บุบผา สุกแก้ว | - |
dc.contributor.author | Bubpha Sukkaew | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-04T09:50:26Z | - |
dc.date.available | 2022-05-04T09:50:26Z | - |
dc.date.issued | 2002 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/232 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 | th |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม : ศึกษาเปรียบเทียบในสถานประกอบการธุรกิจที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO9000 บริษัทที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9000 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในสถานประกอบการประกอบการธุรกิจที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9000 กับบริษัทที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9000 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานสถานประกอบการที่ศึกษามี 4 แห่ง โดยผู้วิจัยได้ทำการวิจัยทั้งในเชิงปริมาณ และในเชิงคุณภาพ โดยในเชิงปริมาณได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 406 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในส่วนของแบบสอบถามได้นำผลที่ได้นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Window เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติ F-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ ในส่วนของเชิงปริมาณได้ใช้การสัมภาษณ์ได้นำบทสัมภาษณ์มาประกอบในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่อยู่ในสถานประกอบการธุรกิจที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9000 จำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 51.72 และเป็นพนักงานอยู่ในสถานประกอบการที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 42.27ผลการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยทั่วไปพบว่าพนักงานของสถานประกอบการธุรกิจมีคุณภาพชีวิตในการทำงานในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการทำงานที่ท้าท้ายความสามารถ การได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม สภาพพื้นฐานโดยทั่วไป ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานกับการดำเนินชีวิตโดยทั่วไป และด้านการมีโอกาสมีส่วนร่วมตามลำดับ โดยทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางและมีคะแนนใกล้เคียงกันผลการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในสถานประกอบการธุรกิจที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9000 กับบริษัทที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9000 พบว่าสถานประกอบการธุรกิจที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9000 มีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในการทำงานน้อยกว่าบริษัทที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9000 ในทุกด้านทั้ง 5 ด้านโดยสถานประกอบการที่มีมาตรฐานอื่น ๆ มารองรับ เช่น การทำ Code of Conduct และพบว่าพนักงานในตำแหน่งหัวหน้างานแสดงบทบาทในการสนับสนุนระบบจากมาตรฐาน ISO9000 ให้สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานได้ดีกว่าพนักงานในระดับล่างนอกจากนี้สถานประกอบการที่มีการรวมตัวกันของพนักงานเป็นสหภาพแรงงานหรือเป็นคณะกรรมการกลับไม่ได้มีส่วนผลักดันจากระบบจากมาตรฐาน ISO9000 เพื่อส่งผลให้คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานดีกว่าที่ไม่มีการรวมตัว เนื่องจากเป็นแรงผลักดันจากฝ่ายบริหารมากกกว่า ผลการศึกษาปัจจัยที่มีคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับการศึกษา ระดับรายได้และอายุงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยความสัมพันธ์ด้านอายุงานกับคุณภาพชีวิตในการทำงานเป็นไปในเชิงลบ 2) ปัจจัยมาตรฐาน ISO9000 พบว่ามาตรฐาน ISO9000 มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ในทุกด้านทั้ง 5 ด้าน 3) ปัจจัยการรวมตัวกันของพนักงานในรูปของคณะกรรมการ พบว่าการมีสหภาพแรงงานกลับมีความสัมพันธ์ที่เป็นลบกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน แต่การมีคณะกรรมการสวัสดิการและคณะกรรมการความปลอดภัยมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานใน 5 ด้าน ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรให้มีการศึกษาผลของ Code of Conduct ของลูกค้าต่อสถานประกอบการเปรียบเทียบกับกฎหมายแรงงานไทย 2) ควรศึกษาว่ากฎหมายไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามมาตรฐานต่าง ๆ ที่ออกมาหรือไม่มากน้อยเพียงใด | th |
dc.description.abstract | The main purpose of this thesis is to study the quality of working life of employees in garment factories. The researcher makes a comparative study between two categories of factory : ones which are already certified with the ISO 9000 certificate and the others which have not yet been certified. And the objectives of the study are : 1.)To study the level of quality of working life of employees. 2.)To make a comparison of employees, quality of working life between two categories of factory. 3.)To find out the factors which relate to the quality of working life of employees. Four factories have been randomized and selected for this research. There with researcher employs employs both quantitative and qualitative approaches. Randomization is done by a multi-stage selection from all of the four factories which complies 406 respondents. Data is obtained by distributing questionnaires which are then collected back. Next, researcher analyzes the data by the use of the SPSS for window programme while employing these statistical techniques : percentage, mean, F-test, S.D., correlation. Regarding qualitative method, an in depth interview is also conducted.The study reveals that total employees, belong to the business firms which are already certified with the ISO 9000 certificate are 210 which is equal to 51.72% as compared to 196 employees or equal to 42.27% which belong to other business firms which are not yet certified. In accordance with the first hypothesis researcher finds out that the level of quality of working life of all employees is moderate. They can be ranked from the highest to the lowest degree of quality as follows :1.)To have a challenging work 2.)To be given an equal treatment3.)To work in general4.)To relate between working life and personal life5.)To have an opportunity to participationIn answering the second hypothesis comparing the quality of working life of employees between the business firms which are already certified with the ISO 9000 certificate and the ones which are not yet certified, employees in the business firms which are not yet certified have, however, better quality of working life than the others.It is also found that employees in the business firms which are conducting more working or production standards from the demand of customers (i.e.code of conduct) have better quality of the working life than the employees in business firms which have less working or production standards from the demand of customers.Furthermore, the management at a higher level give a greater support to the success of ISO 9000 certification than the management at a lower level of management gives much stronger attempt. Concerning the factors which significantly affect the quality of working life of employees, these factors comprise personal factors, educational levels, income and years of services, Secondly, standard of ISO 9000 does not significantly relate to or affect the quality of working life. Thirdly, labour union which is existing in some firms, are proved hypothetically to have a negative relation to the quality of working life through the ISO 900 activities, whereas an existing of worker’s welfare committees and worker’s health and safety committees are related employees’ quality of working life.In the future there should be the research focusing on the code of conduct of all customers in its comparison to the Thai labour laws, and also concerning on a possibility of any change of the labour lows in an accordance with various international standards. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | คุณภาพชีวิตการทำงาน | th |
dc.subject | อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป | th |
dc.subject | ไอเอสโอ 9000 | th |
dc.subject | Quality of work life | th |
dc.subject | Clothing trade | th |
dc.subject | ISO 9000 Series Standards | th |
dc.title | คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม : ศึกษาเปรียบเทียบในสถานประกอบการธุรกิจที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9000 กับบริษัทที่ไม่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9000 | th |
dc.title.alternative | The Quality of Working Life of Employees in Garment Manufacturers : A Comparative Study in Business Firms with and without the Implementation of the ISO 9000 of the International Organization for Standardization | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 490.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontents.pdf | 303.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 885.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 3.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 407.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 844.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 470.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.