Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภรัฐ หงษ์มณี-
dc.contributor.authorวรทา กิจวารี-
dc.date.accessioned2022-05-04T11:12:30Z-
dc.date.available2022-05-04T11:12:30Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/237-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545th
dc.description.abstractความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ กับปัจจัยสภาพภูมิหลังด้านสังคม 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความแตกต่างของความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้มีภูมิหลังต่างกัน สังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานสอบสวนในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งหมด 13 สถานี จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ตอน 1) สภาพภูมิหลังด้านสังคมเศรษฐกิจ 2) แบบวัดความพึงพอใจในด้านปัจจัยค้ำจุนในการปฏิบัติหน้าที่ 3) แบบวัดพึงพอใจในด้านปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่า พนักงานสอบสวนส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส อายุระหว่าง31-40 ปี อายุราชการตั้งแต่ 13-20 ปี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งในปัจจุบันตั้งแต่ 1-4 ปี วุฒิการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต รายได้ต่อเดือน 13,001 บาทขึ้นไป มีตำแหน่งพนักงานสอบสวน(สบ.2) เข้ามาดำรงตำแหน่งปัจจุบันโดยได้รับการแต่งตั้งครั้งแรก ความรู้สึกเท่าเดิมเมื่อมาดำรงตำแหน่งปัจจุบันและมีภรรยาทำงานส่วนตัว พนักงานสอบสวนส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจด้านปัจจัยค้ำจุนปานกลางปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพนักงานสอบสวนที่มีความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่แบ่งออกเป็น 2 ด้านได้แก่ ด้านปัจจัยค้ำจุนและด้านปัจจัยจูงใจ พบว่า 1) อายุ นั้นในด้านปัจจัยค้ำจุนจะส่งผลต่อการปกครองบังคับบัญชา และสภาพการทำงานกับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สำหรับในด้านปัจจัยแรงจูงใจ พบว่าอายุเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของงาน ความรับผิดชอบในงาน โอกาสเจริญเติบโตในงานที่ปฏิบัติ และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน 2) วุฒิการศึกษาในด้านปัจจัยค้ำจุนจุเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชากับเงินเดือนและรายได้จากอาชีพพิเศษ สำหรับด้านปัจจัยจูงใจนั้นพบว่า จะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโอกาสการเจริญเติบโตในงานที่ปฏิบัติและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ราชการ 3) ระยะเวลาดำรงตำแหน่งปัจจุบัน พบว่าจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเพียงในด้านปัจจัยค้ำจุนเท่านั้น ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชากับเงินเดือนและรายได้จากอาชีพพิเศษ 4) การเข้าสู่ตำแหน่งปัจจุบัน ในด้านปัจจัยค้ำจุนจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การปกครองบังคับบัญชา สำหรับด้านปัจจัยจูงใจพบว่าจะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของงานกับความรับผิดชอบในงาน 5) สถานภาพสมรสพบว่าจะเป็นปัจจัยมีอิทธิพลเพียงในด้านปัจจัยค้ำจุนเท่านั้น ได้แก่เงินเดือนและรายได้จากอาชีพพิเศษผลความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนพบว่า พนักงานสอบสวนที่มีปัจจัยสภาพภูมิหลังด้านสังคมต่างกัน จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนต่างกันแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยค้ำจุนและด้านปัจจัยจูงใจ พบว่า 1) สถานภาพสมรส จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่างกันเพียงในด้านปัจจัยค้ำจุนเท่านั้นคือ สภาพทางสังคม 2) อายุ จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่างกันในด้านปัจจัยค้ำจุนคือ สภาพการทำงานความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความเป็นอยู่ส่วนตัว ความมั่นคงในงาน ส่วนในด้านปัจจัยจูงใจได้แก่ ความรับผิดชอบในงานกับความก้าวหน้าในการปฏิบัติหน้าที่ 3) อายุราชการจะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจในด้านปัจจัยค้ำจุนคือ การปกครองบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สถานภาพทางสังคม ความมั่นคงในงาน ส่วนในด้านปัจจัยจูงใจได้แก่ โอกาสการเจริญเติบโตในงานที่ปฏิบัติ 4) ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งปัจจุบันจะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่างกันในด้านปัจจัยค้ำจุนคือ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา กับเงินเดือนและรายได้จากงานพิเศษ ส่วนในด้านปัจจัยจูงใจได้แก่ โอกาสเจริญเติบโตในงานที่ปฏิบัติ 5) วุฒิการศึกษาหรือสถาบันที่จบ จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่างกันในด้านปัจจัยค้ำจุนคือ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ส่วนในด้านปัจจัยจูงใจได้แก่ ความรับผิดชอบในงาน 6) การเข้ามาดำรงตำแหน่งปัจจุบัน จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่างกันคือ ความเป็นอยู่ส่วนตัวความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สถานภาพทางสังคม และความมั่นคงในงาน ส่วนในด้านปัจจัยจูงใจได้แก่ ด้านความสำเร็จของงาน 7) ความรู้สึกเมื่อมาดำรงตำแหน่ง จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่างกันในด้านปัจจัยค้ำจุนคือ สภาพการทำงาน ความเป็นอยู่ส่วนตัว ส่วนในด้านปัจจัยจูงใจได้แก่ลักษณะงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่และโอกาสเจริญเติบโตในงานที่ปฏิบัติ 8) รายได้ต่อเดือน จะส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่างกันในด้านปัจจัยค้ำจุนคือ ด้านการปกครองบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา เงินเดือนและรายได้จากงานพิเศษ และสถานภาพทางสังคม ส่วนในด้านปัจจัยจูงใจได้แก่ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะแก่พนักงานสอบสวนที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตำแหน่ง และหน้าที่การงานของพนักงานสอบสวน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่แน่ใจของพนักงานสอบสวนว่าโครงสร้างใหม่รวมไปถึงผู้เกี่ยวข้องว่า พนักงานสอบสวนที่มีความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่โดยส่วนมากจะเป็นพนักงานที่มีอายุมาก มีความอาวุโส หรือเป็นผู้มีตำแหน่งสูง หรือระดับผู้บริหาร ดังนั้นในการที่จะสร้างแรงจูงใจหรือความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนจึงควรเน้นไปที่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยที่แต่ละสถานีตำรวจ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารควรจะมีการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น การส่งเสริมให้มีการอบรมเกี่ยวกับโครงสร้างพนักงานสอบสวนใหม่ให้ทราบทั่วกัน ส่งเสริมให้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในด้านบริหารและในด้านวิชาการ เพื่อนำมาปฏิบัติจริงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสเจริญเติบโตในการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการ ในตำแหน่งของพนักงานสอบสวน จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพth
dc.description.abstractThe satisfaction of the duty all of the investigators. Studying at Samut prakarn areas only, as follow this article. 1.The satisfaction for the investigate who has the certificate of investigators in level 1,2 and 3,Under the Samut prakarn’s police station. 2.The relation between the satisfied of every investigators who has the duty of every level and the factor as social economy’s background, under the Samut prakarn’s police station. 3.Comparison with the different of the level for every investigators who is on doing duty, under the Samut prakarn’s police station. The groups of research are all the 13 police station with the 148 investigators, and tools of the research have 3 kinds : such as 1) The social economy’s background 2) The research of the satisfaction is supported the duty. 3)the research of the satisfaction is attract the duty, and then the data analysis was done by SPSS/PC+ which present in percentage, means, standard deviations, one–way analysis of variance, correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. The results of the study on factors effecting behaviors of students are as follow : The most of satisfactions they are already got married average 31-40 years old and 13-20 years in jobs, 1-4 years on duty, Bachelor of low with over 13,001 bath on salary. In this present has the investigator in charge from the first promoted also the feeling as same as before and wife has her own business. Most of investigators have a middle of the satisfaction’s support.The factors of influence for the satisfaction on duty from i9nvestigators have kind such as the factors of the support and the factors of the attractive.For the factors of the support they have many attributes as 1) The micro factor’s support is the age. 2) The guardian of the times from the started date. 3) The relation with the leader and the times on duty. 4) The condition of duty and the age. 5) Salary and part time job is depend on marriage, times on duty, seniority of graduated. 6) The factors of relations with other co-worker and the age. 7) Life style is the graduated, and salary, 8) The relation with the leader is graduated. 9) There are no relation of the social life. 10) There are no relation of working’s guarantee. For the factors of the attribute as 1) The micro factor’s is not found. 2) The successful is found because of the age and the times on duty. 3) The factors of respect are not found. 4) The factors of the opportunity with promoted the age and graduated. 5) The factors of progression are the age and graduated. The result above will follow this reason. There are 2 different kinds of the satisfaction’s factors that will be transfer to the social economy’s background as the factors of the support and the factors of the attractive. For the factors of the support they have many attributers as 1) The micro factor’s support is the times on duty and the feeling on this duty. 2) The guardianship has 3 kinds such as the age of duty, the times of duty, graduated and salary. 4) Condition of duty is the age. 5) The factors of salary and part time job have 3 kinds such as the time of duty, salary, the feeling with this duty. 6) The factors of relation with other co-worker have 3 kinds such as the age, the age of duty, and how to promote. 7) the factors of the life style have 5 kinds such as the age, salary, the position, how to get the job, and the feeling with this duty. 8) The factors of relation with the under commander has only one kind is the age. 9) The factors of the social life have 4 kinds such as marriage, the times on duty, salary, and how to promote. 10) The guarantee of the duty there are 3 kinds of factors such as the age, the time of marriage, and how to get the job.For the factors of the attitude they have many attributes as 1) There are 2 kinds of micro factors such as salary, and the feeling of this duty, 2) The factors of success as are how to promote. 3) The factors of respect are not found. 4) There is only one factors of the kind of duty is the feeling with duty. 5) The factors of the responsibility have 3 kinds such as the age, and graduate. 6) The factors of the progression are the age, salary, and the feeling with this duty. 7) The factors of the opportunity with promoted are the age of duty, and the times of duty, and the feeling with this duty. AS follow with this research, the researcher has an opinion for the investigators who had been change the structure and the duty in order to make you confuse, between the older investigators and higher position. Setup the factors of the efficiency and the satisfaction will be supported to train for the new structure of the investigator supported to learn for the business and the knowledge. They are for the real action.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectพนักงานสอบสวน -- ความพอใจในการทำงานth
dc.subjectตำรวจ -- ความพอใจในการทำงานth
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงานth
dc.subjectQuality of work lifeth
dc.subjectPolice -- Job satisfactionth
dc.titleความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตจังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeSatisfaction in Duties of Local Police : A Case Study of Local Police in Samutprakarnth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf516.24 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf901.51 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf554.81 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf241.21 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf929.73 kBAdobe PDFView/Open
references.pdf280.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.