Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/286
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.advisor | Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya | - |
dc.contributor.author | รยากร งามดี | - |
dc.contributor.author | Rayakorn Ngamdee | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-13T07:12:14Z | - |
dc.date.available | 2022-05-13T07:12:14Z | - |
dc.date.issued | 1998 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/286 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 | th |
dc.description.abstract | การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนต่อของเด็กและเยาวชน ในชุมชนแออัดกรุงเทพมหานครครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการควบคุมตนเอง สุขภาพจิต และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของเด็กและเยาวชน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนในระบบนอกระบบ เคยเรียนแต่หยุดเรียน และ ไม่เคยเรียนต่อเลย ของเด็กและเยาวชนในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลจากเด็กและเยาวชนจำนวน 340 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ และใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยมีดังนี้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นชาย มีพี่น้องจำนวน 3 คน และเป็นบุตรคนที่ 2 ผู้ปกครองศึกษาระดับประถมศึกษา ครอบครัวมีรายได้ต่อเดือน 3,001-6000 บาท เด็กที่ไม่เรียนในระบบโรงเรียนมี 137 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา ส่วนใหญ่เรียนในระบบการศึกษา ร้อยละ 48.7 รองลงมาคือไม่เคยเรียนต่อเลย ร้อยละ 23.0 และเคยเรียนแต่หยุดเรียนร้อยละ 17.7 ส่วนผู้ที่เรียนนอกระบบ มีสัดส่วนน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 10.6 เด็กที่ไม่ได้เรียนต่อเลยส่วนใหญ่ไม่ทำงานอะไรเลย และเด็กที่เคยเรียนแต่หยุดเรียนส่วนใหญ่มีสาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจผลการศึกษาสุขภาพจิต การควบคุมตนเอง และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีสุขภาพจิตปานกลางค่อนข้างดี มีการควบคุมตนเองและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ระดับปานกลางเมื่อเทียบระหว่างหญิงชาย พบว่า เด็กหญิงมีการควบคุมตนเองและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงกว่าเด็กชายและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเรื่องสุขภาพจิต เด็กหญิงชายไม่มีความแตกต่างกัน จากการถดถอยพหุคุณหลายขั้นตอน พลปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนต่อในระบบโรงเรียนการเรียนนอกระบบโรงเรียน การเคยเรียนแต่หยุดเรียน และการไม่เคยเรียนต่อเลยดังนี้ผู้ปกครองที่มีการศึกษาสูง มีจำนวนพี่น้องน้อย มีรายได้ครอบครัวสูง มีการควบคุมตนเองอยู่ในระดับสูง และมีสุขภาพจิตดี จะเรียนต่อในระบบโรงเรียนเด็กที่มีการควบคุมตนเองดี จะมีผลต่อการเรียนนอกระบบโรงเรียนเด็กที่มีสุขภาพจิตไม่ดี และมีรายได้ของครอบครัวต่ำ จะมีผลให้เด็กที่เคยหยุดเรียนในภายหลังเด็กที่มีการควบคุมตนเองไม่ดี มีการศึกษาของผู้ปกครองต่ำ และมีจำนวนพี่น้องมากจะมีผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่เคยเรียนต่อเลยจากผลการวิจัยดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ที่จะทำให้เด็กมีควบคุมตนเองดี มีสุขภาพจิตดี และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนต่อของเด็กและเสนอแนะต่อกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเด็ก ควรตระหนักในการเอาใจใส่ในเรื่องของการส่งเสริมวินัยในตนเองของเด็ก ซึ่งจะส่งผลต่อการศึกษาของเด็กเยาวชนได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดนโยบายในการช่วยเหลือเด็กที่หยุดเรียน โดยการให้ฝึกอาชีพหรือจัดให้เด็ก ๆ ได้รับความรู้ เพื่อสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวัน | th |
dc.description.abstract | This research aims to study self-control, mental health and achievement motiveter which effected study continuation of children and juveniles in slums in Bangkok.Sample are 339 children and juveniles. Data analysis was done by SPSS/PC+ computer programs. Analised data was presented in descriptive statistics, oneway analysis of variance and regression analysis (stepwise).Most of samples were boys, second child in approximately 3 children in the families. Their parents mostly finished primary school level and earned about 3,001-6,000 baht per month. 36 Children studied in informal education. Most of them were employed. About studying, most children continued their study in schools (48.7%), 23.0% did not study, 17.7% quitted the study after continuing for a while and 10.6% studied in informal education. The result on the study of self-control, mental health and achievement motivation of the children, samples had moderate levels of those 3 mental characteristics. And from the multiple regression analysis, the result revealed that self-control, mental health, parents’education, family income and number of children in the families effected study continuation of the children. For the studying in schools ; high level of self-control and mental health, small number of member in the families and parents with education and high income influenced children to further their studies. For the children who quitted the schools, they were effected by bad mental health and low income of the parents. For the children who continued their studies in informal education system, they had high level of self-control.And, for the children who never continue their studies, they had low level of self-control, their parents earned low income and they were in big families. From the result of the studies, researcher would suggest that families and schools should emphasize on encouraging children to have high self-control. The Ministry of Education should provide policy to help children who have less chance to study in schools to be able to further their Education as much as possible. | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | การควบคุมตนเองในเด็ก | th |
dc.subject | Self-control in children | th |
dc.subject | แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในเด็ก | th |
dc.subject | Achievement motivation in children | th |
dc.subject | ชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯ | th |
dc.subject | Slums -- Thailand -- Bangkok | th |
dc.title | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนต่อของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนในชุมชนแออัดกรุงเทพมหานคร | th |
dc.title.alternative | Factors Effecting Study Continuation of Children and Juveniles : A Case Study of Children and Juveniles in Slums in Bangkok | th |
dc.type | Thesis | th |
dc.degree.name | สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต | th |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th |
dc.degree.discipline | การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม | th |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 374.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontents.pdf | 218.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 567.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 2.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 419.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 559.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 622.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.