Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/294
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย-
dc.contributor.advisorหทัยชนก บัวเจริญ-
dc.contributor.advisorVanida Durongrittichai-
dc.contributor.advisorHathaichanok Buajaroen-
dc.contributor.authorวิจิตร วรรธนะวุฒิ-
dc.contributor.authorVichit Wattanawut-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing-
dc.date.accessioned2022-05-13T13:29:21Z-
dc.date.available2022-05-13T13:29:21Z-
dc.date.issued2011-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/294-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554th
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพและศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงหลังการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้เป็นเบาหวานในชุมชนหมู่ 1 ตำบลบางกระเบา อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐมจำนวน 42 คน กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ผู้ดูแล แพทย์ พยาบาลเวชปฏิบัติ พยาบาล เภสัชกร โภชนากร นักกายภาพบำบัด อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 27 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ การทดสอบทีและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า ผู้เป็นเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 64.3) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 71.4) อาศัยอยู่กับครอบครัว (ร้อยละ 97.6) มีอายุ 65 ปีขึ้นไป (ร้อยละ66.7) และรับรู้ว่าตนมีโรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ร้อยละ 69) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรรมการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา ลักษณะครอบครัว และโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน จากการวิเคราะห์บทบาทหน้าที่หุ้นส่วนแยกได้ 2 ประเด็น คือ 1) การปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาลต่อการจัดการสุขภาพผู้เป็นเบาหวาน พบว่า ขาดการเชื่อมประสานบทบาทภายในและระหว่างทีมดูแลผู้ป่วย และ 2) การปฏิบัติบทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลต่อผู้เป็นเบาหวาน พบว่าขาดความร่วมมือในการดูแลผู้เป็นเบาหวานอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพในชุมชนสำหรับผู้เป็นเบาหวานประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ร่วมมือกันสร้างความเป็นหุ้นส่วนสุขภาพด้วยการประชุมย่อยและประชุมร่วมทั้งทางการและไม่ทางการ 2) ร่วมกันทบทวนกำหนดบทบาทหน้าที่ใหม่โดยพยาบาลเน้นบทบาทผู้ให้คำปรึกษา ผู้จัดการเฉพาะราย ผู้ประสานงาน วางแผนจำหน่ายร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ส่วนผู้เป็นเบาหวานและผู้ดูแลมาร่วมเป็นสมาชิกทีม และ อสม. ทำหน้าที่จิตอาสาประจำครัวเรือน 3) ดำเนินกิจกรรมและประเมินผลความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมาย 5 ส่วน คือ หุ้นส่วนร่วมวางแผนเฉพาะรายก่อนผู้เป็นเบาหวานกลับบ้าน กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนในโรงพยาบาล หุ้นส่วนร่วมเยี่ยมบ้าน สร้างเครือข่ายเยี่ยมบ้านและหุ้นส่วนติดตามผล หลังการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพพบว่าคะแนนเฉลี่ยเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนสร้างมูลค่าเพิ่มให้บทบาทของตนเองด้วยการให้ผู้เป็นเบาหวานเลือกและตัดสินใจร่วมกับทีมสุขภาพมากขึ้น หุ้นส่วนทุกฝ่ายทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชนร่วมประสานและดำเนินกิจกรรมตามที่วางแผนไว้จนเกิดนวัตกรรมท้องถิ่น คือ ออกกำลังกายวิถีไทย สูตรอาหารบางกระเบาและดูแลเท้าวิธีไทย ผลวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าให้พัฒนาเป็นต้นแบบของการปฏิบัติ วางระบบการพัฒนาให้ครอบคลุมผู้เกี่ยวข้องให้มากขึ้น มีการประเมินผลการใช้รูปแบบระยะยาวและขยายการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของผู้เป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นเพื่อการดูแลแบบองค์รวมต่อไปth
dc.description.abstractThe purpose of this action research was aimed to develop health partnership and to examine what changes occurred after having developed health partnership. Major perspectives samples included 42 diabetes patients in Moo.1, Bangkabao, Nakhonchaisri, Nakhonpathom, and minor perspective samples included 27 patient caregivers, physicians, nurse practitioners, nurses, pharmaceutics, nutritionists, physical therapist, and health volunteers. Data collection was carried out using the questionnaires and interview. Data analysis was performed using Chi-squares, Pearson’s coefficient, t-test, and content analysis.The results showed that diabetes patients mainly were female (64.3%), primary education background (71.4%), staying with family (97.6%), aged 65 years or higher (66.7%), and perception of their diabetes complications (69%). The significant factors influencing the diabetes patients’ healthcare included age, educational background, nature of family, and complications. Analysis of partnership role could be described into two parts, firstly, performance of health personnel in the hospital for diabetes patient’s health management, and secondly, performance of caregivers. In the light of health personnel’s performance, the finding indicated the lack of internal coordination among caregiver teams while it indicated the lack of continuous taking care of the diabetes patients for caregiver’s performance.The processes of the development of health partnership for diabetes patients in community consisted of three steps. Firstly, collaborative improvement on health partnership through informal and formal meetings. Secondly, collaborative reviewing and reassignment of roles and responsibilities; namely nurse role was focused as counselor, case manager, coordinator, and discharge planner with multidisciplinary team. The diabetes patients and caregivers were team members and volunteer health personnel serves as household volunteer. Lastly, activities and evaluative strategies were set for achieving to five major goals; including, discharge planning for each, hospital peer group, home visit plans, home visit network, and follow-up plan.After partnership development, knowledge about diabetes and self-caring behaviors in diabetes patient was higher significantly. The community nurse practitioners added value in their roles by encouraging the diabetes patients to decide along with health teams more increasingly. All concerned partnerships in the hospital and community coordinated to carry the planned activities to bring for the local innovation which included exercise and food recipes in Thai way of living. The results of this study suggested that development protocol in practice should be developed. Development plan should cover those concerned persons more increasingly. Long term assessment and further examination of factors influencing the diabetes patients’ self-caring behavior as whole should be performed.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectผู้ป่วยเบาหวาน -- การดูแลth
dc.subjectDiabetics -- Careth
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองth
dc.subjectSelf-care, Healthth
dc.subjectหุ้นส่วนสุขภาพ-
dc.subjectHealth partnership-
dc.titleการพัฒนาหุ้นส่วนสุขภาพสำหรับผู้เป็นเบาหวานโดยพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนth
dc.title.alternativeHealth Partnership Development for Diabetes Clients by Community Nurse Practitionerth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนth
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf
  Restricted Access
146.45 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
TableofContents.pdf
  Restricted Access
145.11 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter1.pdf
  Restricted Access
130.22 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter2.pdf
  Restricted Access
364.38 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter3.pdf
  Restricted Access
131.79 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter4.pdf
  Restricted Access
352.95 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
Chapter5.pdf
  Restricted Access
130.23 kBAdobe PDFView/Open Request a copy
References.pdf
  Restricted Access
463.38 kBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.