Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/314
Title: ผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Effects of Health Literacy Program on Sexual Prevention Behaviors among Junior High School Students
Authors: อรพินท์ สีขาว
ชฎาพร ประเสริฐทรง
Orapin Sikaow
Chadapa Prasertsong
วานิศา ประโยชน์มี
Vanisa Prayochmee
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: ความรอบรู้ทางสุขภาพ
Health literacy
เพศสัมพันธ์
Sex
นักเรียนมัธยมศึกษา
High school students
เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่น
Sex instruction for teenagers
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบรายขั้นตอนได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 40 คน โรงเรียนวัดท้องคุ้ง เป็นกลุ่มทดลอง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 40 คน โรงเรียนบ้านสวนอุดมวิทยา เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือประกอบด้วยโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าความเชื่อมั่น .86 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ One-way repeated measured ANOVA ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มทดลอง ก่อนทดลอง และระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังการทดลอง และระยะติดตามผลพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The quasi-experimental research aimes to examine the effects of health literacy program on sexual behaviors among junior high school students. The sample group was randomized by multi-stage random sampling. The experimental group was forty students of Matthayom 3/2 at Tongkung School, whereas the control group wa s forty students of Mattahayom 3/1 at Bansuan School. The research instruments were composed of the health literacy program on sexual prevention behaviors, the questionnaire of health literacy on sexual prevention behaviors and the questionnaire of sexual prevention behaviors. The reliability of questionnaires were 0.86 and 0.89 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistic, One-way repeated measures ANOVA test and independent t-test. The results found that the mean scores of health literacy and sexual prevention behaviors of the experimental group before, after the program and follow-up period had statistically signifiant differences at the level of .01. To compare the mean scores of health literacy and sexual prevention behaviors between the experimental group and the control group after the program and follow-up period, it was found that the experimental group had the scores of health literacy and sexual prevention behaviors significantly higher than the control group with statistical significance at level of .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/314
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
VANISA-PRAYOCHMEE.pdf
  Restricted Access
4.51 MBAdobe PDFView/Open Request a copy


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.