Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4257
Title: | ความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ภายหลังการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 |
Other Titles: | Need of Labor in Logistics Area after ASEAN Economic Community in 2015 |
Authors: | พวงชมพู โจนส์ Puangchompoo Jones รอง พิริยะพิทยา Rong Piriyapitaya Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration |
Keywords: | ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ASEAN Economic Community การบริหารงานโลจิสติกส์ Business logistics ความต้องการแรงงาน อุปทานแรงงาน Labor supply อุปสงค์แรงงาน Labor demand |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ภายหลังการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี พ.ศ. 2555-2558 เป็นการศึกษาเชิงพยากรณ์ถึงความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่มีความสัมพันธ์กับค่าจ้าง สต็อกทุนของอุตสาหกรรม มูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวมราคาน้ำมันและผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) รายปี ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2554 รวมระยะเวลา 11 ปี โดยเก็บข้อมูลจากอินเทอร์เนตและหน่วยงานราชการ ได้แก่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมถึงเอกสารการวิจัยวิทยานิพนธ์ รายงานวารสาร และบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผล่อความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์และเพื่อให้ทราบถึงจำนวนความต้องการบุคลากรที่ทำงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ปี พ.ศ. 25555-2558 รวมถึงคุณสมบัติที่จำเป็นของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ด้วย วิธีดำเนินการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ข้อมูลจำนวนผู้มีงานทำ ค่าจ้าง สต็อกทุน มูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม ราคาน้ำมันและผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ โดยการใช้แบบจำลองการถดถอยพหุเชิงซ้อน (MULTIPLE REGRESSION METHOD) ประมาณค่าด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบกำลังสองน้อยที่สุด (ORDINARY LEAST SOUARES-OLS) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ ในการสร้างสมการถดถอยเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์พหุ (R) และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R SQARE) จนให้สมการโมเดลที่เหมาะสมที่สุด จากนั้นจึงนำสมการโมเดลมาพยากรณ์เป็นความต้องการแรงงานในปี พ.ศ. 2555-2558 ผลการศึกษาพบว่า สด็อกทุน มูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม ราคาน้ำมันดีเซลมีความสัมพันธ์กับความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในทิศทางตรงข้าม กล่าวคือ เมื่อสด็อกทุน มูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม ราคาน้ำมันดีเซล มีค่าเพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ลดลงร้อยละ 0.635, 0.015 และ 4.933 ตามลำดับ ในขณะที่ ค่าจ้างมีความสัมพันธ์กับความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในทิศทางเดียวกัน นั่นคือเมื่อค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.177 ส่วนของการพยากรณ์ความต้องการแรงงานในปี พ.ศ. 25555-258 นั้น พบว่า ค่าพยากรณ์ความต้องการแรงงานของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ คือ 1.034 ล้านคน 1.031 ล้านคน 1.029 ล้านคน และ 1.026 ล้านคน ตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากจำนวนแรงงานในสาขาโลจิสติกส์ที่สำรวจได้ในปี 2554 เท่ากับ 0.94 ล้านคน เท่ากับประเทศไทยยังต้องพัฒนาจำนวนแรงงานในสาขาโลจิสติกส์ ก่อนถึงปี พ.ศ. 2558 อีกราว 90,000 คน หรือเท่ากับ 22,500 คนต่อปี โดยเฉลี่ยรวมถึงปรับปรุงใน ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพของแรงงานที่ยังขาดความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญด้านมนุษย์และสังคม เช่น ภาษาอังกฤษ จิตวิทยา การสื่อสารและการบริการ ด้านการบริหารธุรกิจ เช่น บัญชี การตลาด กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น e-Commerce, GIS/GPS Tracking, RFID, EDI ด้านเทคโนโลยีวิศวกรรม เช่น การขับขี่ยานพาหนะ เทคโนโลยีการขนถ่ายสินค้า เทคโนโลขีการบรรจุหีบห่อ และรวมถึงลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลถึงงานด้านการบริการ เช่น ความเอาใจใส่ ความนอบน้อม และใจรักในงานบริการ |
Description: | การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/4257 |
Appears in Collections: | Business Administration - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Need-of-Labor-in-Logistics-After-ASEAN-Economic-Community-in-2015.pdf Restricted Access | 5.83 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.