Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1004
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริลักษณ์ วงษ์วิจิตสุข-
dc.contributor.authorชัญญา เจียมใจ-
dc.contributor.authorSirilak Wongvijitsuk-
dc.contributor.authorChanya Jiemjai-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health-
dc.date.accessioned2023-01-02T04:47:45Z-
dc.date.available2023-01-02T04:47:45Z-
dc.date.issued2009-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1004-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณมลพิษในอากาศภายในห้องปิด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดอาการกลุ่มอาคารป่วย และความชุกของการเกิดอาการอาคารป่วยและทำการศึกษา หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดอาการกลุ่มอาคารป่วย โดยใช้ห้องที่มีลักษณะปิดและกลุ่มตัวอย่างในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นกรณีศึกษา มลพิษในอากาศได้ทำการสำรวจปริมาณฝุ่นรวมทุกขนาด (Total dust) ปริมาณฝุ่นที่สามารถเข้าถึงและสะสมอยู่ในถุงลมปอดได้ (Respirable dust) ปริมาณรวมของเชื้อแบคทีเรีย (Total bacteria) และปริมาณรวมของเชื้อรา (Total fungi) ซึ่งทำการเก็บตัวอย่างในห้องที่มีลักษณะปิดทั้งหมดจำนวน 77 ห้อง โดยแบ่งเป็น ห้องพักอาจารย์ 8 ห้อง สำนักงาน 17 ห้อง ห้องบรรยาย 52 ห้อง และกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจอาการอาคารป่วย จำนวน 638 คน ประกอบด้วยอาจารย์ทั้งหมด 92 คน เจ้าหน้าที่ทั้งหมด 135 คน และนักศึกษาทั้งหมด 410 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้ ANOVA ในการทดสอบเปรียบเทียบความแตกต่างของปริมาณคุณภาพอากาศระหว่างกลุ่มที่มีอาการอาคารป่วยกับกลุ่มที่ไม่มีอาการอาคารป่วย และวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ระหว่างระดับการสัมผัสกับขนาดการเกิดกลุ่มอาการอาคารป่วย และทดสอบความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณภาพอากาศ ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะการทำงาน ปัจจัยด้านสถานที่ทำงาน กับความชุกของการเกิดกลุ่มอาการอาคารป่วยที่ได้จากแบบสอบถามโดยใช้ Chi-square ผลการศึกษาพบว่าฝุ่นรวมทุกขนาด (Total dust) ฝุ่นขนาดที่เข้าถึงและสะสมในถุงลมปอดได้ (Respirable dust) ในสำนักงานมีปริมาณมากที่สุด และห้องทั้งหมดมีปริมาณไม่เกินค่ามาตรฐานของฝุ่น ทั้งหมดและฝุ่นที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมปอดที่อยู่ในอากาศภายในอาคารของหน่วยงานต่างประเทศ ( Environmental Protection Agency (EPA) ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 75 (μg/m3) และหน่วยงาน American Society Heating, Refrigerating and Air Condition Engineer (ASHRAE) ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 150 (μg/m3) ) พบว่าในสำนักงานมีปริมาณรวมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราสูงสุด โดยพบว่าในร้อยละ 26.67 ของสำนักงาน และร้อยละ 2.78 ของห้องบรรยายมีปริมาณรวมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเกินค่ามาตรฐานของหน่วยงาน American Conference of governmental Industrial Hygienist (ACGIH) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความเข้มข้นของฝุ่นรวมทุกขนาด ฝุ่นที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมปอด ปริมาณรวมของแบคทีเรียและราที่ปนเปื้อนในอากาศภายในห้องของทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่าง พบว่าค่าความเข้มข้นของฝุ่นรวมทุกขนาดและค่าความเข้มข้นของฝุ่นที่สามารถเข้าและสะสมในถุงลมปอดในแต่ละกลุ่มตัวอย่างมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ p < 0.05 การสำรวจการเกิดอาการอาคารป่วยตามอวัยวะต่างๆ ในกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดว่าเป็นผู้ที่มีความถี่ของการเกิดอาการตั้งแต่ 1-3 วันต่อสัปดาห์ และมีตั้งแต่ 2 อาการใน 1 กลุ่มอาการ โดยอาการนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะในที่ทำงานเท่านั้น พบว่ากลุ่มอาการระบบประสาทเป็นกลุ่มอาการที่พบมากและเกิดขึ้นเท่ากับร้อยละ 25.08 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่าง เมื่อพิจารณาแยกในแต่ละกลุ่มตัวอย่างพบว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่มีกลุ่มอาการอาคารป่วยเกิดขึ้นมากกว่า 1 กลุ่มอาการโดยส่วนใหญ่มีอาการในกลุ่มอาการทางตา กลุ่มอาการทางจมูกและระบบประสาท ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์และนักศึกษาพบว่ามีอาการเพียงกลุ่มอาการเดียวคือ ระบบประสาท ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณภาพอากาศภายในห้อง ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงานและปัจจัยด้านสถานที่ทำงานกับกลุ่มอาการอาคารป่วยที่เกิดขึ้น พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการกลุ่มอาคารป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยด้านคุณภาพอากาศคือ จำนวนเชื้อแบคทีเรีย (p<0.05) ปัจจัยทางด้านลักษณะการทำงานจะพบในส่วนของการใช้กระดาษคาร์บอน (p<0.05) และปัจจัยทางด้านสถานที่ทำงานพบว่าความสะดวกสบายของโต๊ะและเก้าอี้ มีกลิ่นน้ำยาทำความสะอาดพื้น แสงสะท้อน และแสงไม่เพียงพอ (มืด) มีความสัมพันธ์ทางสถิติที่ p<0.05 สรุปผลการศึกษาครั้งนี้กลุ่มที่พบว่ามีการเกิดอาการอาคารป่วยสูงคือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีปัจจัยหลักคือ คุณภาพอากาศภายในอาคาร และมีปัจจัยอื่นที่เป็นเกี่ยวเนื่อง เช่น ปัจจัยจากลักษณะการทำงานงานและปัจจัยสถานที่ทำงานที่ไม่เหมาะสมมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้นผู้ที่ทำงานในอาคารที่มีปัญหาทางด้านคุณภาพอากาศ ลักษณะการทำงานและสถานที่ทำงานมีโอกาสทำให้เกิดอาการกลุ่มอาคารป่วยได้มาก ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน จึงควรให้ความสนใจต่อการแก้ไขปัญหาอาการอาคารป่วยและปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอาคารป่วย ทั้งหมดและฝุ่นที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมปอดที่อยู่ในอากาศภายในอาคารของหน่วยงานต่างประเทศ ( Environmental Protection Agency (EPA) ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 75 (μg/m3) และหน่วยงาน American Society Heating, Refrigerating and Air Condition Engineer (ASHRAE) ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 150 (μg/m3) ) พบว่าในสำนักงานมีปริมาณรวมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราสูงสุด โดยพบว่าในร้อยละ 26.67 ของสำนักงาน และร้อยละ 2.78 ของห้องบรรยายมีปริมาณรวมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราเกินค่ามาตรฐานของหน่วยงาน American Conference of governmental Industrial Hygienist (ACGIH) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความเข้มข้นของฝุ่นรวมทุกขนาด ฝุ่นที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมปอด ปริมาณรวมของแบคทีเรียและราที่ปนเปื้อนในอากาศภายในห้องของทั้ง 3 กลุ่มตัวอย่าง พบว่าค่าความเข้มข้นของฝุ่นรวมทุกขนาดและค่าความเข้มข้นของฝุ่นที่สามารถเข้าและสะสมในถุงลมปอดในแต่ละกลุ่มตัวอย่างมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ p < 0.05 การสำรวจการเกิดอาการอาคารป่วยตามอวัยวะต่างๆ ในกลุ่มตัวอย่าง โดยกำหนดว่าเป็นผู้ที่มีความถี่ของการเกิดอาการตั้งแต่ 1-3 วันต่อสัปดาห์ และมีตั้งแต่ 2 อาการใน 1 กลุ่มอาการ โดยอาการนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะในที่ทำงานเท่านั้น พบว่ากลุ่มอาการระบบประสาทเป็นกลุ่มอาการที่พบมากและเกิดขึ้นเท่ากับร้อยละ 25.08 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่าง เมื่อพิจารณาแยกในแต่ละกลุ่มตัวอย่างพบว่ากลุ่มเจ้าหน้าที่มีกลุ่มอาการอาคารป่วยเกิดขึ้นมากกว่า 1 กลุ่มอาการโดยส่วนใหญ่มีอาการในกลุ่มอาการทางตา กลุ่มอาการทางจมูกและระบบประสาท ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอาจารย์และนักศึกษาพบว่ามีอาการเพียงกลุ่มอาการเดียวคือ ระบบประสาท ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณภาพอากาศภายในห้อง ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงานและปัจจัยด้านสถานที่ทำงานกับกลุ่มอาการอาคารป่วยที่เกิดขึ้น พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการกลุ่มอาคารป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยด้านคุณภาพอากาศคือ จำนวนเชื้อแบคทีเรีย (p<0.05) ปัจจัยทางด้านลักษณะการทำงานจะพบในส่วนของการใช้กระดาษคาร์บอน (p<0.05) และปัจจัยทางด้านสถานที่ทำงานพบว่าความสะดวกสบายของโต๊ะและเก้าอี้ มีกลิ่นน้ำยาทำความสะอาดพื้น แสงสะท้อน และแสงไม่เพียงพอ (มืด) มีความสัมพันธ์ทางสถิติที่ p<0.05 สรุปผลการศึกษาครั้งนี้กลุ่มที่พบว่ามีการเกิดอาการอาคารป่วยสูงคือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีปัจจัยหลักคือ คุณภาพอากาศภายในอาคาร และมีปัจจัยอื่นที่เป็นเกี่ยวเนื่อง เช่น ปัจจัยจากลักษณะการทำงานงานและปัจจัยสถานที่ทำงานที่ไม่เหมาะสมมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ดังนั้นผู้ที่ทำงานในอาคารที่มีปัญหาทางด้านคุณภาพอากาศ ลักษณะการทำงานและสถานที่ทำงานมีโอกาสทำให้เกิดอาการกลุ่มอาคารป่วยได้มาก ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน จึงควรให้ความสนใจต่อการแก้ไขปัญหาอาการอาคารป่วยและปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอาคารป่วยth
dc.description.abstractThe present study aimed to evaluate the levels of air contaminates, Sick building syndrome factors and Sick building syndromes prevalent and determined the relationship between Sick building syndrome factors and Sick building syndromes prevalent. The close rooms and people in Huachiew Chalermprakiet University were samples. The total dust, respirable dust, Total bacteria and Total fungi were studied and sampling in 77 rooms and divided to: 8 lecturer room, 17 offices and 52 lecture rooms. Study subjects comprised 683 persons and comprised by 93 lecturers, 135 officers and 410 students. ANOVA determined the different of air contaminates levels in each room groups. The Chi-square was used to determine the relationship of sick building syndrome and sick building syndrome factors. This study showed levels of total dust and respirable dust in office had the highest levels. These contaminates were not exceed the standard (EPA for total dust 75 μg/m3 and ASHREA for respiable dust 150 μg/m3) in all rooms. The levels of total bacteria and fungi in office were the highest levels. These microorganism contaminates in 26.67% of office and 2.78 % of lecture rooms exceeded the standard (ACGIH). The comparing results of air contaminates in each room types showed the levels of respirable dust and total bacteria levels were statistical significant different at p<0.05. Sick building syndrome were determined by frequency of symptoms expression (1-3 day/week), number of symptoms ( > 2 symptoms in 1 group) and these symptoms must expressed in workplace only. The results showed the highest symptoms of sick building syndrome was neurological symptoms group (25.08%). Considering in each job characteristics of subjects, the officers had more than 1 symptom groups of sick building syndrome such as eye symptoms group, nose symptoms group and neurological symptoms group. The neurological symptoms group was found in lecturer and students. The results of relationship between sick building syndrome factors and sick building syndrome levels showed total bacteria levels was significant relationship with sick building syndrome levels at p<0.05. Job characteristics factor at carbon paper used was significant relationship at p <0.05 and workplace characteristics factors which significant relationship with sick building syndrome levels were comfortable of table and chair smell of cleaning chemical and light problem such as glare and deficient of light at p<0.05. Finally, this study showed the officers were the highest prevalent of sick building syndrome. Due to they exposed to the highest levels of indoor air pollution which was the main factor of sick building syndrome and the work related problems were found in their job characteristics and workplace characteristics at the highest levels of sick building syndrome. Although, the relationship of some factors were not significant but they may effected to workers’ a way of life and morale. Then, the management of sick building syndrome and its factors should consider.-
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2550th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectมลพิษทางอากาศในอาคารth
dc.subjectIndoor air pollutionth
dc.subjectโรคแพ้ตึกth
dc.subjectSick building syndrometh
dc.subjectโรคเกิดจากสิ่งแวดล้อมth
dc.subjectEnvironmentally induced diseasesth
dc.titleมลพิษอากาศภายในห้องปิดปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดกลุ่มอาการอาคารป่วยและความชุกของกลุ่มอาการอาคารป่วย กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeIndoor Air Pollution Sick Building Syndrome Factors and Prevalent of Sick Building Syndrome in Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf151.42 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf110.63 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf116.33 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf162.54 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf150.03 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf874.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf184.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.