Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/101
Title: | 泰华作家年腊梅笔下的女性形象研究 |
Other Titles: | การศึกษาภาพลักษณ์สตรีในงานเขียนของเหนียนล่าเหมย A Study of the Feminine Image in the Work of Thailand's Oversea Chinese Author Nianlamei |
Authors: | 范军 Fan, Jun 陈雅群 คณิศร ฉันทศรีวิโรจน์ Huachiew Chalermprakiet University. College of Chinese Studies |
Keywords: | สตรีในวรรณกรรม Women in literature การวิเคราะห์เนื้อหา Content analysis (Communication) Nianlamei -- Literary style เหนียนล่าเหมย -- แนวการเขียน 年腊梅 女性形象 双重角色 下层女性 女性观念 |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | Huachiew Chalermprakiet University |
Abstract: | จากประวัติวรรณกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย ในศตวรรษที่ 20 ช่วงประมาณปี ค.ศ. 1940-1950 วงวรรณกรรมจีนในไทยได้กำเนิดนักเขียนหญิงกลุ่มหนึ่ง เหนียนล่าเหมยเป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ทั้งยังเป็นนักเขียนหญิงที่มีรูปแบบที่เป็นตัวแทนและมีเสน่ห์ในเชิงศิลปะเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัว เหนียนล่าเหมยเริ่มสร้างผลงานการประพันธ์ของตนเองประมาณปี ค.ศ. 1950 ผลงานวรรณกรรมส่วนใหญ่จะเขียนถึงเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย โดยเฉพาะภาพลักษณ์และอุปนิสัยของสตรีในยุคสมัยนั้น เธอใช้ช่วงทำนองและมุมมองเฉพาะตัวในการสังเกตชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ใช้ความรู้สึกที่สมเพชเวทนาในการพรรณนาเรื่องราวความเป็นอยู่ของสตรีที่เป็นชนชั้นล่างที่ถูกเหยียดหยามและถูกข่มเหงรังแก ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงสังคมที่ขาดความยุติธรรม ความล้าหลังของวัฒนธรรมและพฤติกรรมอันหยาบช้าของคนในสังคม จากงานเขียนของเหนียนล่าเหมยได้สร้างสรรค์ภาพลักษณ์ของสตรีที่มีความโดดเด่นเชิงศิลปะไว้อย่างมากมาย โดยเฉพาะภาพลักษณ์ของสตรีที่เป็นชนชั้นล่างที่ถูกข่มเหงรังแก อาทิ ตัวละครที่แสดงเป็นภรรยาของเจ้าของร้านขายกุนเขียงในเรื่อง "เฮยล่าฉาง" ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ของสตรีที่มีความโอบอ้อมอารีและขยันขันแข็ง แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับความยุติธรรมจากสามีที่มักมากในกาม ภาพลักษณ์ของหญิงขายบริการในเรื่อง "ฮวาเจ" ที่ถูกขูดรีดและเอารัดเอาเปรียบ เป็นต้น สาเหตุของสตรีในนวนิยายที่ต้องตกอยู่ในสภาพทนทุกข์และถูกข่มเหงนั้นเป็นเพราะพวกเขาเหล่านั้นขาดโอกาสในการศึกษา เมื่อขาดความรู้ จึงเป็นเหตุให้ถูกดูหมิ่นเหยียดหยามและถูกเอารัดเอาเปรียบ สตรีเหล่านี้เป็นกลุ่มชนชั้นที่อ่อนแอ ไม่มีกำลังที่จะต่อต้านและไม่มีใครยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือให้พวกเขาพ้นจากความทุกข์ทรมาน จากภาพลักษณ์ของสตรีเหล่านี้บ่งบอกถึงอารมณ์โกรธเคืองของผู้เขียนที่ต้องการประณามและเปิดโปงความไม่ธรรมของสังคม นอกจากนี้ ผู้เขียนยังสร้างภาพลักษณ์ของสตรีที่มีสองบทบาท ซึ่งภาพลักษณ์เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงธรรมเนียมโบราณที่ว่า "ชายคุมนอก หญิงคุมใน" นั้นได้ถูกทำลายแล้วในสังคมปัจจุบัน พวกเธอเหล่านั้น ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของจิตสำนักให้รู้ซึ้งถึงคุณค่าของตนเองและยังมีอิสระในการเลือกสรรมากขึ้น จากผลงานของเหนียนล่าเหมย ได้สะท้อนให้เห็นถึงนานาทัศนะที่มีต่อสตรี ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เพศหญิงจะเป็นเพศที่ตกอยู่ในฐานะถูกกระทำ จะถูกบังคับให้อยู่ในขอบเขตของขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณต่างๆ นานา หญิงสาวผู้ต่ำต้อยและด้อยการศึกษาซึ่งยังมีกฎข้อบังคับโบราณฝังอยู่ในความคิด ก็ยากจะหลุดพ้นจากการพันธนาการของชะตากรรมอันแสนขมขื่นได้ ส่วนหญิงสาวที่มีการศึกษาจะมีความคิดที่มีความเป็นอิสระและเสรีมากกว่า ฉะนั้นจึงมีอำนาจในการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตของตนเองได้มากกว่า ในวงวรรณกรรมจีนในไทย เหนียนล่าเหมย เป็นนักเขียนที่มีเอกลักษณ์และผลงานอันโดดเด่น เธอใช้หลักการเขียนที่ประณีต สมจริงซึ่งสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงรวมถึงการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ของสตรีที่อุดมไปด้วยสีสันที่สดใส ภาพลักษณ์ของตัวละครที่มีอารมณ์ลึกซึ้งนั้นแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ให้ความสนใจต่อชะตาชีวิตของสตรีที่ต่างชนชั้นและต่างฐานะในสังคมเป็นอย่างยิ่ง บทประพันธ์ของเหนียนล่าเหมยแสดงให้เห็นถึงเมตตาอาทรของผู้เขียนที่มีต่อหญิงสาวชนชั้นล่าง บ่งบอกถึงจิตใจของผู้เขียนที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเห็นอกเห็นใจต่อหญิงสาวเหล่านี้ และยังประจักษ์ถึงสำนักในความรับผิดดชอบต่อสังคมที่มีอยู่อย่างแรงกล้าของผู้เขียน อีกทั้งยังมีความหมายในเชิงความเป็นจริงที่จับต้องได้อย่างเด่นชัด In the history of modern literature in Thailand, last century around 1940s-1950s, there was a rise of the female writer group of Thai-Chinese literacy. "Nianlamei" was one of the groups. She was a writer with representative style and unique artistic charm. She officially started her literacy work in 1950s. Her works mostly depict the living conditions of Chinese who live in Thailand especially images and characters of women. She used unique style and perspective to observe their lives as well as used compassion feeling to depict the story of joys and sorrows of those low class people being insulted and bullied. At the same time, alsp reveal the unfairness of the society, vu;garity, and ignorance that can be found everywhere. "Nianlamei" has created many wonderful female artistic images. Main ones are those low class women being insulted and hurt. For example, in her works - "Hei La Chang" ; a shop oowner's wife - Mrs. Jiang who is kind hearted and diligent, finally suffers from unfair treatment of her randy husband. "Hua Jie" ; a group of prostitutes who are exploited and bullied etc. In her novel, the causse of tragic images of women who have such miserable fates is their lack of educational opportunities. Thus, this makes them suffer from unfair treatment and social discrimination. They are vulnerable group having no ability to resist and on one gives them a helping hand to help them escape from suffering and free them from pain. These images reflect the writer's angry complaint and intention to expose the injustics of society. In addition, she also created "playing a dual role" female images. These images reflect thai in today's society, the pattern of "Men are master outside, Women are master inside" has already been broken. Women have strengthened their self-valued awareness. Also, they have more freedom to choose. From works of "Nianlamei", variety of female images refracts variety of views on women. From ancient times until the present, women are in passive position and are variously restricted by traditional Confucianism. Those without knowledge low class women also have traditional female concept, no ability to free themselves from chain of tragic fates. On the contary, knowledgebale women have more freedom and liberation female concept. Thus, they have more decision-making power to change their own fates. In Thai-Chinese literacy, "Nianlamei" is a very unique writer with remarkable achievement. She used fine and smooth, realism creative method to create rich and distinctive female images. These deeply impressive human characters have expressed the writer's earnest attention on fates of women in different classes and social positions of women. Her works express deep sympathy to those tragic fates low class women, manifest the broad compassion and strong sense of social responsibility possess the strong realistic implication. 在泰国现代文学史上, 上个世纪四五十年代,泰华文坛崛起一批女作家, 年腊梅是其中的一位, 且是一位具有代表性和独特艺术魅力的女作家。年腊梅在五十年代正式开始她的文学创作, 作品大多描绘了居住在泰国的华人的生活情况, 尤其是女性们的形象和性格特征。她以独特的风格、独特的视角观察他们的生活, 以悲悯的情怀描写了那些被侮辱和被欺凌的底层小人物的悲欢离合的故事, 同时也展示了社会的不公和无处不在的庸俗和愚昧 年腊梅的笔下诞生了许多精彩的女性艺术形象, 主要是被侮辱与被损害的下层女性形象等,例如在《黑腊肠》中一个善良、勤奋却遭受丈夫背叛和抛弃的江老板娘;《花街》里的一群被剥削、被欺辱的卖春女等等。 小说中悲剧性的女性形象所以有如此悲惨的命运, 是因为她们缺少受教育的机会, 从而使她们遭受着不公平的虐待, 遭受社会的歧视。她们是弱势群体, 没能力反抗也没人伸手帮助她们跳出火坑, 摆脱苦海。这些人物形象是作者对不正义的社会的愤怒控诉与揭露。 此外,作家还塑造了扮演着双重角色的女性形象, 这些形象反映了在当今社会中 “男主外, 女主内” 的模式已经被打破了。女性们都加强了自我价值的意识, 且有了更自由的选择。年腊梅笔下女性形象折射出多元化的女性观。自古迄今女性处于被动地位, 受到传统礼教的种种约束, 没有知识的下层女性还抱有传统的女性观念, 无力挣脱悲惨命运的束缚; 知识女性则具有更自由解放的女性观, 因而拥有更多改变自己命运的自主权。 年腊梅在泰华文坛是独树一帜且成就斐然的作家, 她以细腻真实的现实主义创作方法创作了丰富鲜明的女性形象。这些感人至深的人物形象表达了作者对不同阶层的女性命运与女性在社会上的地位的热切的关注, 年腊梅作品对下层女子的悲惨遭遇寄予深切同情, 表现出作者宽广的悲悯情怀和强烈的社会责任感, 具有强然的现实意义。 |
Description: | Thesis (M.A.) (Modern and Contemporary Chinese Literature) -- Huachiew Chalermprakiet University, 2012 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/101 |
Appears in Collections: | College Of Chinese Studies - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontents.pdf | 361.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 539.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf Restricted Access | 529 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter3.pdf Restricted Access | 439.21 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
References.pdf | 494.34 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.