Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1099
Title: การประเมินรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ประชาชนต้องการ : กรณีศึกษาเรื่องไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Assessment of Community - Oriented Health Communication Pattern : Case Study of Dengue Haemorrhagic Fever in Samut Prakarn Province
Authors: นันทวัน ยันตะดิลก
รัตนา ทิมเมือง
Nuntawun Yuntadilok
Ratana Timmuang
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts
Keywords: ไข้เลือดออก
Hemorrhagic fever
สารสนเทศทางการแพทย์
Medical informatics
การสื่อสารทางการแพทย์
Communication in medicine
สุขภาพ
Health
การสื่อสารสาธารณสุข
Communication in public health
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของประชาชนเรื่อง ไข้เลือดออก ช่องว่างในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเรื่องไข้เลือดออกกับการเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน สาเหตุของปัญหาในการได้รับข้อมูลเรื่องไข้เลือดออก แนวทางแก้ไขปัญหาที่นําไปสู่การจัดบริการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องไข้เลือดออกที่สอดคล้องกับความต้องการ โดยเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มผูัจัดบริการด้านสุขภาพจํานวน 12 คนและผู้รับบริการสุขภาพ จํานวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้รับสารที่มีความกระตือรือร้นน้อย และไม่แสวงหาข้อมูลยกเว้นกรณีที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นไข้เลือดออก ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารสุขภาพได่แก่ ผู้จัดบริการด้านสุขภาพมีทรัพยากรทํางานไม่สอดคล้องกับจํานวนประชากรที่รับผิดชอบ การทํางานไม่เป็นระบบ ไม่มีความต่อเนื่องในการติดตามกํากับและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อลดช่องว่างในพื้นที่รอยต่อ หรือในกลุ่มประชากรที่เข้าถึงได้ยาก ผู้จัดบริการสุขภาพมีทักษะการสื่อสารไม่เพียงพอ สื่อที่ใช้เผยแพร่ยังไม่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน เนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่เผยแพรเน้นความรู้เรื่องโรคแต่ยังไม่สามารถสร้างความตระหนักว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคนมีโอกาสเสี่ยงและได้รับผลกระทบจากปัญหาไข้เลือดออกได้ การปฏิบัติงานของผู้จัดบริการสุขภาพยังสื่อให้ประชาชนเข้าใจว่ามีหน่วยงานรับผิดชอบแล้วควรสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าของการเป็นสมาชิกในสังคมและการมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาวะ รูปแบบของสื่อและวิธีการสื่อสารยังไม่สอดคล้องเหมาะสมกับผู้รับสาร มีปัญหาทั้งด้านการเข้าถึงและการสร้างความเข้าใจ เพื่อให้การป้องกันไข้เลือดออกเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตจึงควรให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการออกแบบเนื้อหาและวิธีการสื่อสารที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต สร้างสื่อบุคคลจากกลุ่มแกนนําเยาวชนและผู้สูงอายุเพื่อให้เป็นผู้สื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในระดับครัวเรือนและชุมชนได้ดี
The objectives of this study comprise of studying DHF information exposure; the gap of DHF information exposure among Samut Prakarn people; communication activities carried out by the health service providers both GO and NGO sectors; causes of information access and the solution for community – oriented DHF information distribution. Methodology applied for this study was qualitative approach by conducting focus group discussion among 12 health service providers and 12 residents. Studying result indicated that most of the people are passive audience and non seeker for DHF information except the one whose family member sicked or died of DHF. The factors related to the effectiveness of communication program were insufficient working resources which was not appropriate to cover the entire population; discontinuity of quality monitoring system and exchanging of data among local implementors to bridge the communication gaps around the boundary areas or in the hard to reach group who was not concern about participation; health service providers have improper communication skills; media was not community–based oriented; promotion message focused on DHF knowledge lacking of raising awareness about the nearness to their lives and everybody chance to be infected and affected by DHF; health services provider actions were perceived that there were already some certain sectors care for DHF prevention; message emphasis on raising awareness by pointing out the value of being social member and encourage participation in creating healthy community are essential; communication pattern was not audience-oriented and leading to inaccessible and also confusing. Making DHF prevention embedded as people’s lifestyle, encouraging meaningful participation of the target population in designing more attractive message and media distribution are needed to provide more frequency to expose to the message. For better accessibility to DHF information, personal media should be recruited from youth and old age people who can provide closer communication in their own family and community context.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1099
Appears in Collections:Communication Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf156.67 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf83.81 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf101.37 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf507.9 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf101.89 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf336.69 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf202.4 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf239.47 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.