Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/119
Title: | การพัฒนากระบวนการการดูแลและป้องกันอาการหอบหืดซ้ำอย่างมีส่วนร่วมในเด็กก่อนวัยเรียน |
Other Titles: | The Development of a Caring and Preventive Process by Community Participation for Recurrent Asthma of Preschool Age |
Authors: | วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย จริยาวัตร คมพยัคฆ์ Vanida Durongrittichai Jariyawat Kompayak ทรรศนีย์ นาคราช Tasanee Nakrat Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing |
Keywords: | หืดในเด็ก เด็กวัยก่อนเข้าเรียน Asthma in children Preschool children |
Issue Date: | 2007 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันและเพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้ร่วมกันในการดูแลและป้องกันการเกิดอาการหอบหืดซ้ำในเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการหอบหืดซ้ำในเด็กก่อนวัยเรียน 2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อการดูแลและป้องกันการเกิดอาการหอบหืดซ้ำ และ 3) ศึกษาผลการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกันต่อการป้องกันอาการหอบหืดซ้ำในเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยเด็กก่อนวัยเรียน ผู้ดูแลเด็ก บุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาล บุคลากรสุขภาพในชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านและประชาชนในชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณา สถิติวิเคราะห์ t-test, Paired-t-test และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหอบหืดซ้ำในเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีทั้งปัจจัยด้านเด็ก ผู้ดูแลและสิ่งแวดล้อมในบ้าน กระบวนการการดูแลและป้องกันอาการหอบหืดซ้ำอย่างมีส่วนร่วมประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) สร้างสัมพันธ์ปันความคิดในทีมสุขภาพถึงชุมชน 2) รวมจิตดูแลแก้ไขปัญหาหอบหืดซ้ำจากกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 3) ร่วมดำเนินการดูแลและป้องกันอาการหอบหืดซ้ำอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง โดยต้องโน้มน้าวให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุ สะท้อนคิด สร้างการยอมรับให้ได้ว่าปัจจัยสาเหตุที่พบเป็นปัญหาของชุมชน ออกแบบกิจกรรม กำหนดผู้ปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติและประเมินผลจนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเกิดรูปธรรมของการปฏิบัติที่ชัดเจน ภายหลังการดำเนินงานแม้จะพบว่าระดับความรุนแรงของโรคหอบหืดในเด็กไม่ลดลง แต่ผู้ดูแลเด็กมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดอาการ หอบหืดซ้ำ การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดหอบหืดซ้ำและพฤติกรรมการดูแลและป้องกันการเกิดหอบหืดซ้ำสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บุคลากรสุขภาพในโรงพยาบาลและบุคลากรสุขภาพในชุมชนเพิ่มบทบาทด้านเวชปฏิบัติในการตรวจรักษาแก่เด็ก สร้างความตระหนักต่อผู้ดูแลเด็กและวางระบบการดูแลต่อเนื่องและคณะกรรมการหมู่บ้านเพิ่มการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่ากระบวนการการดูแลและป้องกันอาการหอบหืดซ้ำเป็นกระบวนการพัฒนาศักยภาพของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปยังชุมชนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชุมชนที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน ซึ่งควรมีการศึกษาปัจจัยทำนาย มุมมองเชิงลึกของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พัฒนาแนวปฏิบัติเฉพาะโรคและประเมินผลทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพิ่มเติมเพื่อให้การป้องกันการเกิดหอบหืดซ้ำในเด็กวัยก่อนเรียนเกิดความยั่งยืน The proposes of this community-based action research were to study the creation and the result of learning process in caring and prevention for recurrent asthma of preschool age. The study process composed of 3 stages : 1) to study risk factors which related to recurrent asthma 2) to develop learning process for caring and prevention of recurrent asthma and 3) to study the results following from the learning process. The target groups of this study were preschool age, caregiver, nurse who work in hospital , nurse who work in community, health care providers and people in community. The data was kept by questionnaires, interview and participant observation. It was analyses by descriptive statistic, t-test, compaired t- test and content analysis. The study result indicated that the significant factors related to recurrent asthma were preschool age characteristics, perception and preventive behaviors of caregiver, and in-home and out-home environment. The learning process drawn from participatory reflective learning among the involvement, could be divided into 3 steps. The first step is the building relationships and sharing ideas among stakeholders,included health care providers, people in community, primary health care workers and community leaders. The second step is the pool efforts of caring and solving recurrent asthma problem amongs stakeholders. And the third step is the coordination effort of all stakeholders to achieve their creatied activities. The dominant characteristics of learning process were the reflection causes of recurrent asthma in preschool age to community, involve all stakeholders to continually participate in the process until the acceptance wear occurred, design the activities according to continuous care of recurrent asthma and evaluating them periodically. After the development process, the severity of recurrent asthma of preschool age did not declined, however, in-home and out-home risk environment, perception of caregiver about the chance of preschool age to recurrent asthma, perception about the severity of recurrent asthma, and their preventive behaviors were higher than before the development of learning process significantly.Nurses both in hospital and in community and primary health care workers increased to act their primary medical care role, and develop the continuous care system for this disease. Additionally, community committee increase their environmental management role, which related to preschool health. The recommendation of this study was the development of caring and preventive process which was aimed to develop the performance of all stakeholders systematically from hospital to community could be applied to other similar communities. However, the further research could study about the predictive risk factors of recurrent asthma in preschool age, the diverse perspective of stakeholders to recurrent asthma, the development of practical guidelines for nurse practitioners, and the development process evaluation for finding the best way of solving this problem sustainable. |
Description: | ทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/119 |
Appears in Collections: | Nursing - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf Restricted Access | 123.14 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
tableContent.pdf Restricted Access | 116.93 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
chapter1.pdf Restricted Access | 168.52 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
chapter2.pdf Restricted Access | 362.65 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
chapter3.pdf Restricted Access | 172.72 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
chapter4.pdf Restricted Access | 584.22 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
chapter5.pdf Restricted Access | 160.09 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
reference.pdf Restricted Access | 401.6 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.