Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1536
Title: การลดการสูญเสียก๊าซในขบวนการจัดส่ง : กรณีศึกษาบริษัท ไอจี จำกัด
Other Titles: Decreasing the Loss of Industrial Gas Via Distribution Processes : A Case Study of IG Compan
Authors: วิรัตน์ ทองรอด
ปวรปรัชญ์ ปรัชญาวรกุล
Keywords: บริษัท ไอจี จำกัด
IG Company
ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)
Six sigma (Quality control standard)
ก๊าซ
Gas.
การควบคุมความสูญเปล่า
Loss control
การขนส่ง
Transportation
Issue Date: 2006
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาด้วยตัวเองครั้งนี้เป็นการศึกษาหาสาเหตุของการสูญเสียของก๊าซอาร์กอน ไนโตรเจน และออกซิเจนในการกระบวนการขนส่ง กรณีศึกษาบริษัท ไอจี จำกัด เพื่อคิดค้นหาแนวทางและแก้ไขให้บรรลุเป้าหมายในการลดต้นทุนในกระบวนการจัดส่งก๊าซอุตสาหกรรมเริ่มต้นด้วยการทบทวนวรรณกรรมเพื่อพัฒนาแบบบันทึกข้อมูลของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำไปเก็บข้อมูลเบื้องต้นมาวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาและสมการถดถอยเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อยืนยันปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางแก้ไข แล้วจึงนำแนวทางไปปฏิบัติจริงเพื่อเก็บข้อมูลหลังการปรับปรุงแล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลเบื้องต้น ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลเบื้องต้นของก๊าซทั้งสามชนิดประกอบด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และอาร์กอน มีอัตราการสูญเสียร้อยละ 7.31, 7.45, และ 6.72 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลเบื้องต้นไปวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับร้อยละการสูญเสียของก๊าซพบว่าร้อยละของการสูญเสียก๊าซออกซิเจน = 4.723+032 (ความดันแทงค์) + 0.001 (จำนวนลูกค้าต่อเที่ยว) + 0.828 (การปล่อยก๊าซทิ้ง) + 0.001 (จำนวนน้ำหนักบรรทุกก๊าซต่อเที่ยว) + .10 (จำนวนเวลาการเดินปั๊มในขณะเติมก๊าซ) ซึ่งมีค่า R2 = 0.679 (P-value = 0.000) ร้อยละของการสูญเสียก๊าซไนโตรเจน = 26.982-1.895 (การปล่อยก๊าซทิ้ง) + 0.426 (จำนวนลูกค้าต่อเที่ยว) + 0.22 + (จำนวนเวลาการเดินปั๊มเติมก๊าซ) + 0.0001 (จำนวนน้ำหนักการขนส่งต่อเที่ยว) + 0.004 (ความดันแทงค์) ซึ่งมีค่า R2 เท่ากับ 0.761 (P-value = 0.000) ร้อยละของการสูญเสียก๊าซอาร์กอน = 24.060 - 1.744 (การปล่อยก๊าซทิ้ง) + 0.68 (จำนวนลูกค้า ต่อเที่ยว) + 0.006 (ความดันแทงค์) ซึ่งมีค่า R2 เท่ากับ 0.765 (P-value = 0.000) เมื่อนำปัจจัยที่ไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางการปรับปรุงประกอบด้วยความดันสูงแนวทางในการแก้ไขต้องรักษาความดันให้มีค่าที่ต่ำไม่เกิน 100 psig ขนาดของแทงค์บรรจุก๊าซที่ลูกค้าต้องเหมาะสมกับปริมาณการใช้ไม่เล็กจนเกินไป ทำให้การเติมมีความถี่มากขึ้น ส่งผลต่อการสูญเสียสภาพของรถจัดส่งรวมถึงปั๊มที่ใช้ในการขนถ่ายควรมีแนวทางในการซ่อมบำรุงรักษาอย่างใกล้ชิด มีแผนการซ่อมที่ชัดเจน และในการจัดการด้านการจัดการในการจัดส่ง เกี่ยวกับจำนวนเที่ยวในการขนส่งต่อครั้งควรจัดให้อยู่ประมาณไม่เกินสามรายต่อการจัดส่งต่อเที่ยว เมื่อนำแนวทางการปรับปรุงมาปฏิบัติและข้อมูลหลังการปรับปรุงพบว่าก๊าซทั้งสามชนิดมีร้อยละของการสูญเสียดังนี้ ก๊าซออกซิเจน 5.10 ก๊าซไนโตรเจน 5.08 และก๊าซอาร์กอน 5.09 และเมื่อเปรียบเทียบของการวิเคราะห์อัตราร้อยละของการสูญเสียก๊าซ ก่อนและหลังจะเห็นว่ามีข้อแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P = 0.33 สำหรับก๊าซออกซิเจน P = 0.037 สำหรับก๊าซไนโตรเจน และP = 0.014 สำหรับก๊าซอาร์กอน) หรือก๊าซออกซิเจน คิดเป็นมูลค่าของจำนวนเงินทั้งปีที่ลดต้นทุนได้เท่ากับ 0.43 ล้านบาท ก๊าซไนโตรเจน คิดเป็นมูลค่าของจำนวนเงินทั้งปีที่ลดได้เท่ากับ 0.43 ล้านบาท และก๊าซอาร์กอน คิดเป็นมูลค่าของจำนวนเงินทั้งปีได้เท่ากับ 8.17 ล้านบาท เทียบกับปี 2548 ตามลำดับ
Description: การศึกษาด้วยตนเอง (บธ.ม.) (คณะบริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2549.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1536
Appears in Collections:Business Administration - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pavornprach-Prachayaworakul.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.