Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/184
Title: อิทธิพลของครอบครัว ชุมชน สังคม และสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในภาวะปกติในชุมชนแออัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Family Community Social Support and Living Environment Influencing Self Caring of the Aging in Normal Situation in Bangkok Slum Areas
Authors: เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
มาลี สันติถิรศักดิ์
Keywords: ผู้สูงอายุ -- การดูแล
Older people -- Care
การพึ่งตนเองในผู้สูงอายุ
Self-Care
Self-care, Health
ชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Slums -- Thailand -- Bangkok
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
Issue Date: 2003
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในภาวะปกติ และศึกษาอิทธิพลของครอบครัว ชุมชน สังคม และสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในภาวะปกติในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร 4 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตบางพลัด จำนวน 400 คน โดยวิธีสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมของชุมชนและสังคม และข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ การวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยวิเคราะห์พหุคูณแบบปกติ ผลวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 60-93 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน และจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาวะปกติ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลตนเองในแต่ละด้านในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะด้านการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน ด้านการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวมาก โดยเฉพาะด้านปัจจัย 4 ด้านการสนับสนุนทางสังคมจากชุมชนและสังคม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใกล้ชิด ได้แก่ เพื่อนและเพื่อนบ้าน ทางด้านอารมณ์ คือ ได้รับความรัก ความเอาใจใส่ ซึ่งเกิดจากความผูกพันต่อชุมชนและการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดหรือจากการมีปฏิสัมพันธ์กัน และแหล่งที่ให้การสนับสนุนทางสังคมแก่ผู้สูงอายุมากอีกแห่งหนึ่ง ได้แก่ องค์กรศาสนาโดยเฉพาะการมีความเชื่อในหลักศาสนา มีการปฏิบัติธรรม ด้วยการไปวัด สวดมนต์ ฟังเทศน์ และทำบุญ ด้านสิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในบ้านที่มีขนาดของบ้าน 10-15 ตารางเมตร ซึ่งมีขนาดเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่ในบ้านจำนวน 4-6 คน ภายในบ้านสะอาด จัดบ้านเรียบร้อย ลมพัดผ่านได้ดีและอากาศถ่ายเทได้สะดวก ยกเว้นบริเวณรอบๆ บ้านมีน้ำเสียท่วมขัง ไม่มีระบบระบายน้ำเสียหรือน้ำโสโครก จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นพาหะนำโรค ซึ่งมีผลกระทบต่อการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระมีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้แก่ เพื่อนและเพื่อนบ้าน ความผูกพันต่อชุมชน องค์กรศาสนา และมลพิษทางอากาศ ผลการวิจัยครั้งนี้ พบประเด็นพิจารณาเป็นข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐ องค์กรเอกชน องค์กรศาสนา ในด้านการจัดการศึกษา ด้านการสนับสนุนทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างสุขนิสัยและการดูแลตนเองที่ถูกต้องตามวัย ทุกวัย โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง
The purpose of this research were : to study the self-Caring of the aging of the aging in normal situation; the influence form their families, communities. Societies and the environments which effected their behavior. The aging group in this study inhibited in Bangkok slum areas under Bangsue, Dhonburi, Klongsan and Bangplad municipalities. The total sample of the aging population was 400. The research method was the interview with questionnaire about the social support from family, community, society and on the environment. The SPSS/PC computer program is used to analyze the collected data. The result of this research were that most of the aging were female age range was from 60-93 years old. Most were married and were living with the spouses. Their education was at secondary school level. Self-caring behavior of the aging in normal situation was in good level especially in daily activities. As for social support from family, the aging received a lot of supports from family especially the basic needs from their family. As for social support on from community and society of the aging received emotional support from their close friends in the neighborhood with caring and love which derived from their deep relationship, with others in community or b y their interacting. Furthermore, the religious organization also played important part in normal support for the aging by influencing them to go to the temple, to pray, to listen to the sermon, and to give a charity. For living environment to strengthen their believes. Most of them inhabited in 10-15 meter-square hose which was too small for living space with 4-6 members: Their house were clean and tidy with good air circulation. However, their places were surrounded with polluted water, because there was no drain around the compound. The polluted water caused the mosquito and effected health care of the aging. The test of the hypothesis was that the variables which effected the self- caring of the aging were friends and neighbors, the deep relationships in community, the religious organizations and air pollution. The findings of this research could be used as guidelines for government organizations, private organizations and religious organizations to support in educational, social and environmental areas through out the building up of hygienic habit and self-caring, especially for the aging in slum areas.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2546
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/184
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf295.9 kBAdobe PDFView/Open
tableofcontent.pdf155.55 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf144.69 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
references.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.