Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/197
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันเชื้อ เอช ไอ วี ของเยาวชนหญิง |
Other Titles: | Factors Effecting Sexual Relations without HIV Protection of the Former Drug Addicted Girls. |
Authors: | จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร Jaturong Boonyarattanasoontorn ประภาพร อุทัยชนะ Prapaporn Uthaichana Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | เพศสัมพันธ์ -- ไทย เยาวชน -- การใช้ยา การติดเชื้อเอชไอวี เอชไอวี (ไวรัส) เยาวชนหญิง -- พฤติกรรมทางเพศ. Female juvenile -- Sexual behavior HIV (Viruses) HIV infections Youth -- Drug use Sex |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษา "ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี ของเยาวชนหญิงที่เคยใช้สารเสพติด" มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาความรู้ และทัศนคติต่อยาเสพติด เพื่อศึกษาอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน คู่รัก และสื่อที่ส่งผลต่อเยาวชน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี ของเยาวชนหญิงที่เคยใช้สารเสพติด โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการบำบัดฟื้นฟูในสถานบำบัดไม่เกิน 1 ปี จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 15-25 ปี ระดับการศึกษาต่ำสุด คือ ประถมศึกษา สูงสุดคือปริญญาตรี เสพยาครั้งแรก อายุต่ำสุด 13 ปีและอายุสูงสุด 22 ปี มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุต่ำสุดคือ 14 ปี และสูงสุด คือ 18 ปี กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่อง โทษของสารเสพติดเป็นอย่างดี และมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเสพยาเสพติด คือ ทำให้มีความสุข สามารถลืมความทุกข์ได้ ช่วยให้มีความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างได้รับอิทธิพลจากเพื่อน คู่รัก และสื่อเป็นอย่างมาก โดยกลุ่มเพื่อนและคู่รักจะมีการถ่ายทอดประสบการณ์แก่กันในเรื่องการเสพยา การมีเพศสัมพันธ์ และสื่อลามกเป็นตัวกระตุ้นให้มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี ของกลุ่มตัวอย่าง ที่เคยใช้สารเสพติดพบว่า การเสพสารเสพติดมีผลต่อการกระตุ้นความต้องการทางเพศมากเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสองเกิดจากอิทธิพลของสื่อลามกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และอันดับสามเกิดจากการถ่ายทอดประสบการณ์การเสพสารเสพติด และประสบการณ์ทางเพศในกลุ่มเพื่อน ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ในระดับนโยบาย รัฐบาลควรกำหนดนโยบายการป้องกันมิให้วัยรุ่นเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ มอบนโยบายให้กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการควบคุมและปราบปรามสื่อลามกอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เยาวชนเข้าถึงสื่อลามกอนาจารได้ง่าย มีมาตรการเด็ดขาดด้านกฎหมายในการจัดการกับข้าราชการที่คอรัปชั่น หรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จัดตั้งสถานบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดให้ครบทุกจังหงวัด เพื่อกระจายผู้ติดสารเสพติดมิให้มารวมอยู่ที่เดียวกันมากจนเกินไป เพื่อป้องกันการถ่ายทอดลักษณะนิสัยที่ไม่ดี ระหว่างผู้เข้ารับการบำบัด รวมทั้งการสร้างเครือข่ายของผู้ติดยา และควรมีนโยบายให้สถานบำบัดยาเสพติดของรัฐนำมาตรการในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดมาใช้สำหรับผู้เข้ารับการบำบัดที่ยังไม่พร้อมที่จะเลิก ในระดับปฏิบัติการ ภาครัฐควรให้การช่วยเหลือผู้เคยเสพยาเสพติดโดยการจัดหางานหลังเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู ให้การสนับสนุนภาคเอกชนในการจัดตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาแก่ผู้หญิงและเยาวชนที่ถูกข่มขื่นกระทำชำเรา เด็กผู้หญิงที่ขายบริการทางเพศ ติดสารเสพติด และตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งควรมีผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา ที่สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดได้ ควรร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล รณรงค์เพื่อให้สื่อที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้เข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึง จัดโครงการให้ความรู้เรื่องสารเสพติด และความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ แก่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง จัดอบรมบุคลากรของหน่วยงานที่บำบัดผู้ติดยาเสพติดให้มีความรู้เรื่องการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดอย่างถูกต้องเพื่อประโยชน์ในการให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้ารับการบำบัด รวมทั้งให้ความรู้เรื่องสารเสพติด ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่คนในชุมชน เพื่อเป็นหูเป็นตา ดูแลกันเองในชุมชนและคอยแจ้งข่าวข้าราชการที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้แก่ภาครัฐ หลักสูตรการศึกษาควรมีการสอนเรื่องเกี่ยวกับการคบเพื่อนและการมีคู่รัก และจูงใจให้เยาวชนหันมามุ่งเน้นเรื่องการเรียน และครอบครัวควรดูแลบุตรหลานโดยการสอนเรื่องเพศศึกษา สารเสพติด การเลือกคบเพื่อน รวมทั้งควรให้กำลังใจ ให้การยอมรับ และให้โอกาสแก่ผู้ติดสารเสพติด เพื่อให้มีกำลังใจในการกลับสู่สังคม The objectives of research on "Factors Effecting Sexual Relation without HIV Protection of the Former Drug Addicted Girls" were to study the knowledge, attitudes and influence of friends, partner and media on the former drug and also factors effecting sexual relations without HIV protection of the former drug addicted girls. Qualitative research method was used through in-depth interview of 15 retrospective study cases who had been being in the rehab home less than a year. The study revealed that the study case were 25 year old with education level range from primary school to bachelor degree. The ages , at first using drugs, were between 13 and 22; while the ages, at first having sex, were between 14 and 18 years old. The study cases were fully aware on dangers of drug usage but having positive attitude that drugs would make them happy, eliminate all the troubles, and stimulate creative thinking. Friends, partners, and media had high degree of influences, particularly their experiences sharing on using drugs and having sex; while pornography in media were claimed towards unsuitable sex. Factors effecting the unprotected HIV in the patients were several while the most influence was drug using, pornographic media, and sharing sex experience respectively. Recommendations based on the findings are; the government should set a national agenda to prevent teenagers from drug using and authorize the National Police Bureau to strictly control pornographic and heavy penalty on corrupted government officials who involve in drugs should be enforced. A rehab house should be spread out every province to reduce the congestions in patients to prevent drug network bad behavior demonstration. Harm reduction measures for those who could not entirely give up addiction should be implemented. In practice, the government should give supportive measures to business corporations to hire former drug addicts who had been rehabilitated and provide consulting clinics for female sex victims, prostitutes, drug addicts, and the undesirable pregnant including having specialist such as social work and psychologists to assist drug addicted persons. The government should initiate projects that educate local people and rehab facility workers on the danger of drugs, and encourage the village to be drug free. Any sign of drug trade in local community should be reported to government officials immediately. Local authorities concerned should get support in distributing knowledge to rehab worker and people about drugs and AIDS protection together with relating rules and laws. Educational curriculum mist include topics such as sex education and encourage study to study harder and each family should take closely care of their children, educate them about sex and friends, including forgiving with the former drug users to make a happy life in the society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/197 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ABSTRACT.pdf | 310.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
table of content.pdf | 80.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 118.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 520.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 70.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 427.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 684.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Reference.pdf | 244.57 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.