Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/219
Title: การดูแลตนเองและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุพิการจากโรคเรื้อนในชุมชนสถาบันราชประชาสมาสัย จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: An Effect of Self Care and Social Support towards Quality of Life of Aged People with Leprosy Related Disability in Raj Pracha Samasai Institute Community, Samut Prakan Province
Authors: เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
ศุภญดา แสงสมเรือง
Keywords: คุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ
โรคเรื้อนในผู้สูงอายุ
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
การสนับสนุนทางสังคม
Quality of life
Older people
Self-care, Health
Social support
Issue Date: 2011
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การดูแลตนเองและการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุพิการจากโรคเรื้อนในชุมชนสถาบันราชประชาสมาสัย จังหวัดสมุทรปราการ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต พฤติกรรมการดูแลตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุพิการจากโรคเรื้อน ระเบียบวิธีการวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุพิการจากโรคเรื้อนที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนสถาบันราชประชาสมาสัย จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 360 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window โดยใช้สถิติพรรณนา คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา ดังนี้กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย มีอายุเฉลี่ย 71 ปี สมรสแล้วและยังอยู่กับคู่สมรส นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ แหล่งที่มาของรายได้ คือ เบี้ยสงเคราะห์จากรัฐ ซึ่งพอกินพอใช้ไม่เหลือเก็บ ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว คือ โรคความดันโลหิตสูง สภาพการพักอาศัยส่วนใหญ่อยู่คนเดียว การทำกิจวัตรประจำวันต้องมีคนช่วยทุกครั้ง ด้านการดูแลตนเองส่วนใหญ่มีการรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่เป็นบางครั้ง การนอนหลับอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง และหลับสนิท มีการออกกำลังกายและดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ด้านการสนับสนุนทางสังคม ส่วนใหญ่ได้รับการช่วยเหลือทางการเงิน ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านเหตุการณ์บ้านเมือง และได้รับกำลังใจ เมื่อพบปัญหาในชีวิตโดยได้รับจากตัวแทนภาครัฐ ส่วนการได้รับการยกย่องและชื่นชมจะได้รับจากเพื่อน/เพื่อนบ้านมากกว่ากลุ่มอื่น ๆด้านคุณภาพชีวิต จากการประเมินตามองค์ประกอบ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพโดยรวม พบว่า ผู้สูงอายุพิการจาก โรคเรื้อนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตระดับกลางทุกองค์ประกอบ ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณหาความสัมพันธ์ตัวแปรต่าง ๆ กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุพิการจากโรคเรื้อน พบว่า มีตัวแปรอิสระ 5 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม อยู่ในระดับปานกลาง และตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายความผันแปรตาม ร้อยละ 26.7 (R2=.267)โดยพบว่า ตัวแปร 5 ตัวแปร ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุพิการจากโรคเรื้อนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ได้แก่ รายได้ การพึ่งพาตนเอง สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การดูแลตนเอง การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อน/เพื่อนบ้าน จากข้อค้นพบดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้ถ่ายโอนสถานสงเคราะห์ 12 แห่งของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์/องค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อดูแลฟื้นฟูสภาพคนพิการจากโรคเรื้อนให้ได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับคนพิการทั่วไป สำหรับข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ คือ สถาบันราชประชาสมาสัย ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุพิการจากโรคเรื้อนประกอบอาชีพเพื่อให้มีรายได้ โดยควรมีการสำรวจความต้องการว่าต้องการมีอาชีพอะไร ส่วนการจำหน่ายสินค้า ควรมีตัวแทนจำหน่ายหรือใช้ชื่อสถาบันราชประชาสมาสัยเป็นผู้จำหน่าย ควรมีโครงการเสริมทักษะชีวิตในการให้ความรู้ การอบรม การใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุขโดยเชิญพระมาอบรม/สอนการปฏิบัติธรรม ควรนำผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ให้มาอยู่ที่อาคารผู้สูงอายุชั้นล่าง แล้วหาผู้ดูแลมาช่วยดูแล ส่วนชั้นบนให้ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง จะทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ควรให้สมาชิกในชุมชนช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน โดยนำผู้ที่ดูแลตนเองได้ดีมาช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และควรให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุพิการจากโรคเรื้อนในการดูแลตนเอง เพราะเมื่อไม่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตนเองจะทำให้เกิดความพิการมากขึ้น
The research “An Effect of Self Care and Social Support towards Quality of Life of Aged People with Leprosy Related Disability in Raj Pracha Samasai Institute Community, Samut Prakan Province” aimed to study quality of life, self care behaviors, social support and the factors that affect the quality of life for elderly People with Leprosy Related Disability. It was quantitative research. The samples consisted of 360 of elderly People with Leprosy Related Disability living in the community of Raj Pracha Samasai Institute Community, Samut Prakan Province with statistical analysis software package SPSS for window using descriptive statistics; percentage, standard deviation, and statistical analysis to test the relationship between variables in Multiple Regression Analysis. The results of the study are as follows :The samples of this study were slightly male rather than female, 71-years old in average, married and remain with the spouse. They were Buddhists and graduated in grade 4 from elementary school at most and generally unemployed. Sources of income came from government allowance that was enough with none left for saving. Their most common diseases were hypertension. Most of them stayed alone under daily assistance of care taking workers.For Self-caring, most of them sometimes completed all 5 food groups eating and deeply sleeping at least 6 hours per day with regularly exercise and water drinking without alcoholic beverage and smoking. For Social Support, they mostly got financial aid, daily news or update information, and mental when facing life problem from state representative. They also received praising and admiring from friends/neighbors rather than any other.For quality of life which was composed of six components : health, physical, mental, social relationships, social environment, and overall health. It was found that many of them were in the mid-level for all elements.The result of the Multiple Regression Analysis of variable correlated with the quality of life of many elderly People with Leprosy Related Disability found that five independent variables associated with a variable were in the mid-level and all independent variables could explain variation as percentage 26.7 (R2 = .267). Five variables affected the quality of life for elderly People with Leprosy Related Disability in significant statistical were income, self-reliance, physical environment, self-care, and social support from friends.Findings from this research, researcher has policy suggestions to transfer the 12 welfares of the Department of Disease Control, Ministry of Public Health to Ministry of Social Development and Human Security/ local government organizations to oversee the rehabilitation of People with Leprosy Related Disability to be treated as people with other health conditions related disabilities. For practical suggestions, Raj Pracha Samasai institute community should encourage many elderly People with Leprosy Related Disability to earn a living. Survey should be conducted to find their preference careers. Products selling should be done through dealers or under Raj Pracha Samasai name. Life skill enhancement project should be carried out through distributing knowledge or training “how to live happily”. A priest should be invited to train and introduce them the Dharma practice. The elderly who could not take care of themselves should be moved to the ground floor of the building under assistance of care taking workers while those who could do so should move to the upper one. Community members should be encouraged to help each other. Those who are able to do well self care should help those who are not. The elderly with Leprosy Related Disability should be provided with self care knowledge to prevent further disability.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2554
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/219
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf154.53 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdf176.47 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf115.08 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf574.22 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf126.68 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf517.7 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf174.62 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf664.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.