Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/221
Title: | คุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจหญิง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง |
Other Titles: | The Quality of the Working Life of Policewomen in the Immigration Bureau |
Authors: | สุภรัฐ หงษ์มณี ศรินทิพย์ มานะปรีชา |
Keywords: | สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจหญิง คุณภาพชีวิตการทำงาน Police women Quality of work life |
Issue Date: | 2001 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจหญิงสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจหญิง 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตและการทำงาน และ 3) ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของการทำงานของตำรวจหญิงกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือตำรวจหญิงที่ทำงานในสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบผสมผสาน จากตำรวจหญิงชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตรที่ทำงานในส่วนกลาง 4 กองบังคับการ และด่านตรวจคนเข้าเมืองในจังหวัดต่าง ๆ 53 ด่าน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 354 คน รวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Window เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ และค่าสถิติ t-testผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นตำรวจหญิงระดับชั้นประทวน 235 คน คิดเป็นร้อยละ 66.4 ชั้นสัญญาบัตรจำนวน 119 คน คิดเป็นร้อยละ 33.6 มีอายุราชการเฉลี่ย 14 ปี ตำรวจหญิงส่วนใหญ่มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวเฉลี่ย 2 คน และได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวในระดับสูง โดยมีทัศนคติที่ค่อนข้างดีในการรับราชการตำรวจผลการศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน พบว่าตำรวจหญิงสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับแต่ละด้านจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบูรณาการทางสังคม ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคล สิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน และด้านธรรมนูญในองค์การโดยทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางและมีคะแนนใกล้เคียงกันผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่จำนวนคนที่ต้องรับภาระ การสนับสนุนของครอบครัว และปัจจัยลักษณะงาน ได้แก่ งานที่ใช้ทักษะหลากหลาย งานมีเอกลักษณ์ ความพร้อมในการรับการตรวจสอบ มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานทั้งในภาพรวมและรายด้านทั้ง 8 ด้านผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่าคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจหญิงชั้นประทวนและชั้นสัญญาบัตรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจหญิงในส่วนกลางมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับตำรวจหญิงที่ทำงานในส่วนภูมิภาคจากการศึกษาครั้งนี้พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานดังนี้ 1) หน่วยงานควรแก้ไขระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้ได้รับความเสมอภาคกันมากขึ้น 2) หน่วยงานควรเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การในด้านต่าง ๆ บ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับวิวัฒนาการของสังคม 3) ควรส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มฝึกวิชาชีพเพื่อหารายได้เพิ่มและรณรงค์ให้มีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง 4) สร้างทัศนคติที่ดีในการพัฒนาศักยภาพในด้านการใช้ภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมทางสังคมร่วมกับชุมชนข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยครั้งต่อไป 1) ควรทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจคนเข้าเมืองระหว่างตำรวจชายและตำรวจหญิง 2) ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าในการรับราชการตำรวจของตำรวจหญิง 3) ควรศึกษาความพึงพอใจในการรับบริการงานตรวจคนเข้าเมือง จากผู้มารับบริการในด้านต่าง ๆ 4) ควรศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของตำรวจหญิงในเชิงคุณภาพ The essence of this study concentrates on “The Quality of The Working Life of Policewomen in The Immigration Bureau” . The study had three main objectives: 1. To study the levels of the quality of the working life. 2. To study the determining factors which influence the quality of the working life. 3. To make a comparative study of the quality of the working life of policewomen.The sampling groups are taken at random, by the multi-stage stratification method, from policewomen who are working in The Immigration Bureau. These sampling groups comprise both high ranking and low ranking officials. These officials are working in four major police command offices in suburban areas, plus those who are working in another 53 immigration offices in the provinces. Data collection is conducted by distributing questionnaires and then collecting them back. Data has been collected from 354 respondents. The analysis of the data is conducted by employing the “SPSS for Windows Program” and by utilizing some statistical techniques : percentage, mean, multiple regression and T-test. The sampling groups comprise 235 low ranking policewomen (66.4%) and 119 high ranking policewomen (33.6%) ; the aggregate average working experience is 14 years. Most people have to cater for about two persons in their families. The overall findings reveal that most of the policewomen sampled have a “moderate” working life. When the eight minor aspects affecting the “Quality of working life” are classified, ranking from the greatest level of intensity to the least, they appear as follows: 1. Social integration. 2. Social relevance. 3. Total life space. 4. Development of human capacities. 5. Safe and healthy environment. 6. Adequate and fair compensation. 7. Growth and security. 8. Rules and regulations. From the findings in this study, there are three major determining factors: a) personal, b) job characteristics, c) attitude, which influence the quality of the working life. The personal factor consists of the number of family members who must be taken care of and supported within the family. The work factor consists of multi-skills at work, identity of work and feedback. The attitude factor focuses on the attitude they adopt towards their careers. This last factor greatly affects the quality of the working life, both overall and more particularly in the eight aspects referred to previously.The comparative study shows that there is “statistical significance of difference” in the quality of the working life between high ranking and low ranking policewomen. In addition there is also a significant difference between policewomen who are working in the metropolitan area and those who are working in the countryside. From this study there are some suggested points made in order to improve the quality of the working life of policewomen. These are as follows: The Immigration Bureau should: 1.Improve the present promotion system by implementing a stronger merit system.2.Adapt its organizational culture in accordance with current social evolution. 3.Promote extra income earning projects and initiate a campaign of a self-sufficiency economy.4.Develop the skills of policewomen in English proficiency and information technology (IT).5.Organize social activities within the neighboring communities. Suggestions for following-up research are: 1.There should be a comparative study of “efficiency” between policemen and policewomen in order to “put the right persons in the fight places”2.There should be a study of “influencing factors” which affect the career progress of policewomen.3.There should be another study regarding “customer satisfaction” of all who come into contact with immigration offices. 4.There should be a qualitative study of “The quality of the working life of Policewomen” gererally. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/221 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 430.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontent.pdf | 248.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 811.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 402.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Reference.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.