Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/239
Title: | การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิงของข้าราชการตำรวจเพศชายในเขตจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | A Study on Attitude and Sexual Harassment against Women of Male Police in Samutprakarn Province |
Authors: | เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย วรรยา เทียนดี |
Keywords: | การคุกคามทางเพศต่อสตรี ตำรวจ -- ไทย -- สมุทรปราการ Sexual harassment of women Police -- Thailand -- Samutprakarn |
Issue Date: | 2004 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะ 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศของข้าราชการตำรวจ และ 2) เพื่อทราบลักษณะพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศของข้าราชการตำรวจ วิธีการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถามไปยังตำรวจชายที่สมรสแล้ว ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 390 คน จาก 7 หน่วยงาน ในจังหวัดสมุทรปราการ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 31-40 ปีจบการศึกษาสูงสุดในระดับ ปวช. หรือ ม. 6 เป็นตำรวจชั้นประทวนซึ่งอยู่ผ่ายปราบปรามมากที่สุด อายุราชการส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 6-10 ปี ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ พบว่า ชั้นยศ ระยะเวลาทำงานบทบาทหญิงชายในครอบครัว สภาพแวดล้อมที่ทำงาน ค่านิยมและวัฒนธรรมทางเพศ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ 1. ชั้นยศ พบว่า ยิ่งชั้นยศสูง ตำแหน่งสูงจะมีแนวโน้มในการกระทำการคุกคามทางเพศมากทั้งนี้ตำรวจที่มีชั้นยศหรือตำแหน่งสูงย่อมมีอำนาจ โอกาส และอิทธิพลที่จะกระทำการ ใด ๆ มากกว่าตำรวจชั้นผู้น้อย 2. ระยะเวลาทำงาน คือกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุการทำงานนานจะมีทัศนคติและพฤติกรรมการละเมิดทางเพศน้อย ซึ่งในที่นี้ตำรวจส่วนใหญ่อยู่ชั้นประทวน มีอายุระหว่าง 31-40 ปี และมีอายุราชการตั้งแต่ 6-10 ปี ดังนั้น ปัจจัยที่จะกระทำการล่วงละเมิดมีน้อย ตรงข้ามกับตำรวจที่มีอายุการทำงานไม่นานรวมถึงอยู่ในชั้นยศสูงมีแนวโน้มกระทำการล่วงละเมิดมากกว่า 3. บทบาทหญิงชายในครอบครัว พบว่า ถ้าการแบ่งงานกันทำและการตัดสินใจร่วมกันระหว่างสามีภรรยามีความเท่าเทียมกัน มีปฏิบัติร่วมกันมาก พฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศจะน้อย 4. สภาพแวดล้อมที่ทำงาน พบว่าการสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม จะมีแนวโน้มเกิดพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานได้ เช่น ห้องที่ปิดมิดผู้อื่นไม่สามารถมองผ่านไปได้ นอกจากนี้ยังพบอีกว่าสัดส่วนจำนวนเพศหญิงชายที่ไม่เท่ากัน ทำให้พฤติกรรมการละเมิดทางเพศแสดงออกได้ง่ายมากขึ้น 5. ค่านิยมและวัฒนธรรมทางเพศ กล่าวคือ เพศชายที่มีค่านิยมและวัฒนธรรมทางเพศแบบใหม่ จะมีทัศนคติและพฤติกรรมการละเมิดทางเพศน้อย กล่าวคือ ไม่มีข้อแบ่งแยกว่าหญิงชายใครกระทำได้ไม่ได้ ทุกคนสามารถทำสิ่งเดียวกันได้ไม่ผิด นอกจากนี้ ยังพบว่าพฤติกรรมทางการล่วงละเมิดทางเพศมีระดับแตกต่างกัน คือ การคุกคามทางวาจาจะพบมากกว่าการคุกคามทางกิริยาท่าทาง และการคุกคามโดยสัมผัสร่างกายทั้งนี้เนื่องด้วยพฤติกรรมทางวาจาเป็นวิธีคุกคามที่ไม่รุนแรงมาก ผู้ถูกคุกคามสามารถหลีกเลี่ยงได้ ข้อเสนอแนะ 1. จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศ ให้กับตำรวจ เช่น สัมมนา ฝึกอบรม ให้ความรู้กับกลุ่มตำรวจผู้ปฏิบัติ รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร เรื่องบทบาทหญิงชาย และบทลงโทษเมื่อมีผู้กระทำผิด 2. สถาบันครอบครัวและในสถานศึกษาควรมีบทบาทในการให้ความรู้เรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงการแนะแนวป้องกันในเรื่องบทบาทหญิงชาย 3. การผลิตสื่อเพื่อสร้างการตระหนักรู้เรื่องการละเมิดทางเพศให้ทุกคนทราบ 4. การศึกษาที่เป็นเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ที่ครอบคลุมถึงผู้กระทำและผู้ถูกละเมิดเพื่อเนื้อหาที่สมบูรณ์ในงานวิจัยครั้งต่อไป The purposes of research were 1) to study factors related to sexual harassment behavior to women of male police and 2) to study behavioral patterns on sexual harassment against women of male police. The methodology was quantitative study using questionnaires for married male police. The samples were 390 police from 7 police stations in Samutprakarn province. The results of the study reveals that most police aged between 31-40 years old were graduated in high vocational education or high school. They were the noncommissioned officers in combat crime sector. Most of them worked for 6-10 years. The results from regression analysis found that the rank, years of work, gender role in family, workplace, and cultural values towards sexual behavior related to harassment behavior. 1. Regarding ranking, it was found that police in higher rank conduct more sexual harassment since they had more influences, more opportunities, and more power to freely act towards women. 2. Regarding years of work, the samples who had longer years of work, had less attitude and sexual harassment. It was found that most of police were in noncommissioned officers in between 31-40 years old and have been working for 6-10 years led them have less harassment. On the other hand, the police who worked in short term but were in high position probably harassed easier. 3. Regarding their spouse, it was found that gender relation between spouse and balance of house work roles effected less sexual harassment. 4. Regarding workplace, in the risk and far sighted workplace environment, sexual harassed behavior happened easily. Besides, unequal ratio between female and male, sexual harassed behavior occurred. 5. Regarding value and attitude toward gender, male with modernized value and attitudes, no distinction between men and women. Moreover, sexual harassed behaviors were found in different degrees. Verbal harassment happened more than nonverbal of physical harassment. Because verbal harassment was not severity, a person could avoid. Suggestions 1. Provide seminar, workshop, and meeting on sexual harassment to build up knowledge and understanding to police and officers, in order to change sexual value in organization to accept gender role and punishment of quality occurred. 2. Families and schools should be responsible in implanting knowledge on sexual harassment and ways to protect and avoid such situation. 3. Mass media launches campaign to awaken sexual harassment awareness. 4. Study more both qualitative and quantitative research to reveal other information. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/239 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tableofcontents.pdf | 876.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 13.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 8.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 4.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
reference.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.