Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/277
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ด้วยวิธีการพยากรณ์ความต้องการ
Other Titles: The Productivity Improvement of Wood Furniture with Demand Forecasting Method.
Authors: ชุติระ ระบอบ
Chutira Rabob
ณรงค์เดช เดชทวิสุทธิ์
Narongdech Dechtawisiute
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
Keywords: เครื่องเรือน
อุตสาหกรรมเครื่องเรือน
การวางแผนการผลิต
Production planning
Forecasting
พยากรณ์
Furniture
Demand (Economic theory)
อุปสงค์
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การส่งมอบสินค้าให้ทันตามกำหนดมีผลกระทบต่อความพึงพอใจและความเชื่อถือของลูกค้าที่มีต่อองค์กรธุรกิจมาก ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของธุรกิจจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร ปัญหาสำคัญที่พบในโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้คือ การผลิตสินค้าไม่ทันตามกำหนดเวลา เพราะไม่สามารถรู้คำสั่งซื้อล่วงหน้าจากลูกค้าได้ ช่วงเวลานำในการผลิตสินค้าสั้นและขาดแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ทำให้แผนการผลิตเป็นไปอย่างไม่เหมาะสม ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงทำการศึกษาสภาพปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ โดยมุ่งเน้นกระบวนการหาวิธีการพยากรณ์ความต้องการที่เหมาะสม โดยเลือกใช้การพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา (Time Series Models) เทคนิคที่ใช้ในการพยากรณ์ได้แก่ (1) Moving Average (2) Single Exponential Smoothing (3) Double Exponential Smoothing (4) Winters' Method จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การเลือกใช้เทคนิคต่างๆ ในการพยากรณ์จะให้ผลที่แตกต่างกัน สำหรับงานวิจัยนี้ได้เลือกวิธีการพยากรณ์ความต้องการด้วยเทคนิค Single Exponential Smoothing สำหรับสินค้าตู้ข้างล้อเลื่อน 2 ลิ้นชักและเทคนิค Winters' Method ในสินค้าตู้เตี้ยตั้งพื้น 2 บานเปิด และตู้สูงตั้งพื้น 4 บานเปิด โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน (MAPE) ที่น้อยสุดไปใช้งาน หลังจากการนำโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการจัดตารางการผลิตหลัก ปรากฏว่าประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มมากขึ้น จากการรวบรวมข้อมูลในอดีตก่อนการปรับปรุงเพบว่า มีประสิทธิภาพการผลิตเพียง 51.57 เปอร์เซ็นต์ หลังจากได้ทำการวางแผนการจัดตารางการผลิตหลัก พบว่า ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มเป็น 90.73 เปอร์เซ็นต์ หรือประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 39.16 เปอร์เซ็นต์
Timely delivery of products to have an impact on customer satisfaction and trust of our customers use business too. Therefore, increasing the productivity of business is a key factor affecting the success of the organization. A major problem encountered in the manufacture of wooden furniture. The delay in production because they can not know in advance of customer orders. The time taken to produce short and lack of efficient production pland. The production plan is not appropriate. Thus, this thesis is to study and optimize the production of wood furniture manufacturing plant. Our focus is the appropriate wat to forecase demand. The method of time series forecasting (Time Series Models) techniques used in forecasting are (1) Moving Average (2) Single Exponential Smoothing (3) Double Exponential Smoothing (4) Winters' Method. The results showed that the techniques used in forecasing the results are different. For this study, methods of demand forecasting techniques for single exponential smoothing cabinet 2 drawers on casters. And Winters' Methos, in a low cabinet high cabinet floor and second floor windows open four doors open on the basis of averafe percentage error. (MAPE) to a minimum. After the application of computer applications in planning, master production scheduling, it appears that the production efficiency. The increase of the sum of the historical data before the update was only 51.57 percent of the production efficiency. The plan of the master production schedule. The productivity increase is 90.73 percent. Or production efficiency, increased 39.16 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/277
Appears in Collections:Business Administration - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf799.48 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf131.59 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdf225.31 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdf299.62 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdf502.64 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdf120.33 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.