Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/634
Title: | วัฒนธรรมการเล่นว่าวไทยและจีน : ภูมิหลังและพัฒนาการ |
Other Titles: | The Culture of Flying Kites in Thai and Chinese Societies Background and Development |
Authors: | แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย Sangaroon Kanokpongchai Liao, Xuemei Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts |
Keywords: | ว่าว -- ไทย ว่าว -- จีน Kites -- Thailand Kites -- China |
Issue Date: | 2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการเล่นว่าวของไทยและจีน และเพื่อวิเคราะห์คุณค่าของวัฒนธรรมการเล่นว่าวไทยและจีน โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ตำนาน บันทึกการบอกเล่า ความเชื่อ พิธีกรรม และรูปแบบการเล่นว่าวทั้งของไทยและจีน และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยกับประเทศจีนมีประวัติการเล่นว่าวมายาวนาน ตามบันทึกเก่าแก่ของจีน เชื่อกันว่าประเทศจีนเป็นชาติแรกที่ประดิษฐ์ว่าว มีต้นกำเนิดในสมัยซุนชิว (770-256 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) นับถึงวันนี้ว่าวจีนมีความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปี หลังจากนั้นมาก็ได้รับความนิยมอย่างสูง การเล่นว่าวจึงได้แพร่ขยายไปประเทศอื่นๆ ตามเส้นทางการค้าขาย รวมทั้งประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเซีย นอกจากนี้ สภาพภูมิศาสตร์ทางตอนใต้ของจีนยังมีภูมิอากาศที่คล้ายกับไทย คือ มีท้องฟ้าแจ่มใส มีสายลมพัดแรงเหมาะสมต่อการเล่นว่าวเป็นอย่างมาก ทำให้มีความนิยมเล่นว่าวด้วยวัตถุประสงค์หลายด้าน คือ เพื่อใช้ในการทำสงคราม การเสี่ยงทาย การแก้บน การสื่อสาร และการแข่งขันเพื่อความสนุกสนาน เป็นการออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง ที่มีอากาศแจ่มใส่ มีผลทำให้การผลิตว่าวเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ และยังเป็นการแข่งขันที่ทำให้คนในสังคมมีความสามัคคีกัน ปัจจุบันว่าวยังถูกนำมาใช้ในวงการธุรกิจการค้า โดยทำเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความรวดเร็ว This research had the purposes to study the history and evolution of kite playing in Thailand and China and analyze the value of Thai and China's kite flying culture by studying from documentation with regards to history, legend, oral history, belief, rites, and kite playing styles of Thailand and China and presented in descriptive analysis. The research found that Thailand and China had long history of kite. According to the ancient record, it believed that China was the first country who created the kite since Spring and Autumn Period (770-256 BC). Until present, China has long history of kite over 2,000 years. After thay, kite has been so popular that it has spread to other countries along the trade route including Thailand, located in Asia. In additions, the geography of South China was similar to Thailand where the sky was clear and the wind blew which were appropriated to kite playing. This made flying kite very popular in many aspects such as being used as war strategy, fortune telling, paying a vow, communication and competition as the leisure outdoor activity. The kite competition also created the social unity in the community. Thus, producing kite became high earning career. At the present, flying kite is used in trading as the symbol of speed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) (การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/634 |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf Restricted Access | 259.46 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Tableofcontents.pdf Restricted Access | 56.06 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter1.pdf Restricted Access | 110.56 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter2.pdf Restricted Access | 188.71 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter3.pdf Restricted Access | 2.46 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter4.pdf Restricted Access | 317.03 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
Chapter5.pdf Restricted Access | 66.67 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy | |
References.pdf Restricted Access | 115.38 kB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.