Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/93
Title: | รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติที่สอดคล้องกับบริบทของเด็ก ครอบครัวและชุมชน : ศึกษากรณีเด็กไร้สัญชาติในชุมชนแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
Other Titles: | ducational Management Pattern for Stateless Children in Relevance to the Contest of Children, Theirs Families and Theirs Communities : A Case Study of Stateless Children in Mae Sam Labe Community of Sop Moe District, Maehongson Province |
Authors: | จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร Jaturong Boonyarattanasoontorn ชยารส อุตมอ่าง Chayarod Uttama-ang Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | ความไร้สัญชาติ -- เด็ก Statelessness -- Children คนต่างด้าว -- การศึกษา คนไร้รัฐ -- ไทย -- แม่ฮ่องสอน คนไร้รัฐ -- การศึกษา สัญชาติ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2012 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การศึกษา "รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติที่สอดคล้องกับบริบทของเด็ก ครอบครัว และชุมชน : ศึกษากรณีเด็กไร้สัญชาติในชุมชนแม่สามแลบ อำเภอสมเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพภูมินิเวศน์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ระบบการศึกษา การเมืองการปกครอง วิถีชีวิต และค่านิยมของชุมชนแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีผลต่อเด็กไร้สัญชาติและครอบครัว 2) ศึกษาสภาพครอบครัวของเด็กไร้สัญชาติ ทัศนคติของผู้ปกครองต่อการศึกษา และความใฝ่ฝันในชีวิตของเด็กไร้สัญชาติ 3) ศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่และการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติที่สอดคล้องกับบริบทของเด็ก ครอบครัว และชุมชน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม จำนวน 54 คน ประกอบด้วย 1) เด็กไร้สัญชาติที่เข้าถึงสิทธิทางการศึกษาและเข้าไม่ถึงสิทธิดังกล่าวและผู้ปกครอง รวม 40 คน 2) ผู้นำชุมชน 2 คน 3) ผู้อำนวยการโรงเรียน 3 คน 4) ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน 2 คน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนแม่สามแลบ ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงติดป่าสงวนในแนวตะเข็บชายแดนประเทศไทยกับประเทศพม่า ชาวบ้านทั้งหมดอพยพเข้ามาจากหลายพื้นที่ ประกอบด้วยชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ไทใหญ่ และชาวมุสลิมจากพม่า รายได้ส่วนใหญ่มาจากการรับจ้างทั่วไปและการหาของป่า ผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการศึกษาและไม่เคยได้รับการศึกษาไม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาไทยได้ การสื่อสารในครอบครัวส่วนใหญ่ยังคงใช้ภาษาพม่าหรือกะเหรี่ยง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อยหรือไม่ได้รับการศึกษา แต่ก็ยกย่องผู้มีการศึกษาเพราะเชื่อว่าการศึกษาที่สูงขึ้นจะทำให้ได้งานและมีรายได้ดี สภาพครอบครัวของเด็กไร้สัญชาติ ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว มีสมาชิกในครอบครัว 3-7 คน มีรายได้อยู่ในช่วงระหว่าง 1,000-6,000 บาทต่อเดือน เด็กไร้สัญชาติที่เข้าถึงสิทธิทางการศึกษาส่วนใหญ่มีความใฝ่ฝันอยากเป็นครูหรือแพทย์ ผู้ปกครองของเด็กไร้สัญชาติส่วนใหญ่ต้องการให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดี แม้ว่าพวกเขาจะมีการศึกษาน้อยหรือไม่เคยเรียนหนังสือเลย เพราะเชื่อว่าการศึกษาจะช่วยให้มีงานที่ดี และมีรายได้สูง ซึ่งจะช่วยให้ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น ปัญหาของเด็กไร้สัญชาติ คือ 1) การเรียนอ่อนในบางรายวิชา 2) การสื่อสารกับเพื่อนและครู 3) การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากอยู่กับครอบครัวมาอยู่โรงเรียน ระยะทางและค่าใช้จ่าย 4)การขอทุนการศึกษา สำหรับเด็กไร้สัญชาติที่เข้าไม่ถึงสิทธิทางการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ต้องการเรียนหนังสือ ขณะที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการให้เรียน อาชีพที่เด็กใฝ่ฝัน ได้แก่ ตำรวจ ช่าง รับจ้างทั่วไป ครู ค้าขาย ทำงานต่างประเทศ แม่บ้าน และแต่งงานมีครอบครัว อุปสรรคต่อการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา คือ 1) ผลการเรียนอ่อน เรียนไม่ทันเพื่อน เรียนไม่รู้เรื่อง 2) สื่อสารภาษาไทยไม่ได้ ทำให้ไม่เข้าใจบทเรียน 3) ขาดแคลนทุนทรัพย์ 4) ถูกให้ออกจากโรงเรียน รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติที่สอดคล้องกับบริบทของเด็ก ครอบครัว และชุมชน ได้แก่ 1) การศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถประกอบอาชีพที่ยั่งยืนในชุมชนและมีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ 2) การจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย 2.1 ครูผู้สอนสามารถสื่อสารภาษาถิ่นและภาษาไทยได้ดี 2.2 เกณฑ์การประเมินผลการเรียนควรปรับให้เหมาะสมตามบริบทของเด็กมากกว่าการใช้เกณฑ์มาตรฐานตามปกติ 2.3 สื่อการสอนปรับปรุงให้เหมาะสมต่อสภาพที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ 3)ส่งเสริมการรักษาอัตลักษณ์ในชุมชน ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย 1) ควรมีนโยบายเรื่องทุนการศึกษาแบบให้เปล่าและกู้ยืมเรียนแก่เด็กไร้สัญชาติ 2) ควรแก้ไขกฎหมายที่สงวนอาชีพบางอย่างสำหรับคนไทย ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ 1) ควรอนุญาตให้เด็กไร้สัญชาติออกนอกพื้นที่เพื่อการศึกษาตลอดหลักสูตรตามที่นโยบายกำหนด 2) ควรปลูกฝังจิตสำนักเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เด็กไร้สัญชาติเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อกระแสบริโภคนิยม 3) ควรสร้างอาชีพที่ยั่งยืนเพื่อลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานสู่ตัวเมืองและการขายบริการทางเพศ The study of "Educational Management Pattern for Stateless Children in Relevance to the Context of Children, their Families and their Communities : A Case Study of Stateless Children in Mae Sam Labe Community of Mae Hong Son Province's Son Moe District" has three objectives are 1) To examine the ecological, economic, social, cultural conditions, education system and politics as well as way of living and values of Mae Sam Labe Community that affected stateless children and their families 2) To examine stateless children's family conditions, their parents' attitudes toward education, and the children's dreams 3) To examine the education management of local schools and education managemenr for the family and community of stateless children in the line context of stateless children. This study was based on qualitative research and in-depth interviews of samples of stateless children which spread for 5 sample groups, totaling 54 interviewees, Including, 1) Stateless children which access to educate and lack the right to educate as well as parents of these two groups of children , totaling 40 interviewees. 2) Two formal community leaders. 3) Three school directors, 4) Two NGO representatives. The study shows that Mae Sam Laeb Community is situated in upland sreas bordering the Thai-Burmese boundaries. The community is adjacent to a forest reserve area. All community members were Karen and Tai Yai ethinc migrants as well as Muslim people migrating from Burma. Their main incomes came from waged work and the sales of forest products. Those elderly villagers, who had not been taught under the Thai schooling system, could not communicate in Thai language. Communication within their families was mostly conducted in Burmese or Koren language. Most village had low education or no education at all, but they had high regard for those highly-educated and believed that high education would lead to good jobs and incomes. Most stateless children lived in nuclear families with 3-7 members and each of these families earned an average monthly income in the range of 1,000 baht to 6,000 baht. Most stateless children who access to educate dreamed of becoming teachers of doctors. The majority of stateless children's parents wanted their children to be educate. Though they had relatively low education or none at all, they believed that education would enable their children to find good jobs and high incomes, which could improve the quality of life of their families. The problems of stateless children are 1) Being weak in certain subjects 2) Communication difficulties between friends and teachers 3) Stateless children must be changed the way of living from living with their families to living at school 4) The lack of access to scholarships. It was found that among the stateless children lacking access to education, most of them did not want to go to school while parents of them wanted their children to be educated what they dreamed to be such as policemen, mechanics, employees, teacher, running shops, work oversea, housekeeper and getting married. The troubled to access to educate are 1) Weakness ability in certain subjects, Failure to catch up with other pupils, inability to understand the subjects. 2) Inability to speak Thai Language, making them connot understand the subjects. 3) Needy money 4) Expelled them from school. The education managemenr approached suitable for the familty and community context of stateless children are 1) Education that encourages students to pursue a career sustainable. 2) Curriculum Arrangement as follow 2.1 Teachers are able to communicate dialect. 2.2 The measurement and evaluation of learning should be adapted to suit the context of stateless children 2.3 Teaching materails should be improved to suit for the lacking electricity supply. 3) To promote preserving identify in the community. Suggestion: At a policy leve 1)Should have no pay back scholarships and student loans for stateless children. 2) Should be adjusted the lae restricting certain occupations to Thai peope only. At a practical level 1)Stateless children be allowed to leave their locality throughout the completion of the course 2) The awareness of sufficiency economy should be instilled into stateless children's minds 3) Sustainable employment should be created to reduce the number of villagers leaving their communities to work in the cities and to reduce the number of Prostitution. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/93 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 176.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 121.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 310.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 106.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 472.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 165.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Reference.pdf | 294.2 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.