Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/96
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorThanya Sanitwongse Na Ayuttaya-
dc.contributor.authorสุทธิลักษณ์ นาคสู่สุข-
dc.contributor.authorSudthiluk Naksusuk-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare-
dc.date.accessioned2022-04-15T09:09:22Z-
dc.date.available2022-04-15T09:09:22Z-
dc.date.issued2001-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/96-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2544th
dc.description.abstractพฤติกรรมสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นปัญหาสำคัญที่จะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตของนักเรียนต่อไปในอนาคตได้ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาถึงระดับสุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่สุขภาพจิตของเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้แก่ ปัจจัยทางชีวสังคม การอบรมเลี้ยงดูและสัมพันธภาพในครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 420 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา คือค่าความถี่ ร้อยละ การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมสุขภาพจิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับดีพอใช้ โดยใช้ปัจจัยทางชีวสังคม การอบรมเลี้ยงดู สัมพันธภาพในครอบครัว และระดับสุขภาพจิตของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังรายละเอียดดังนี้ผลการศึกษาทางชีวสังคม พบว่านักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อาศัยกับบิดามารดา มีบิดามารดาเป็นผู้อบรมเลี้ยงดู และบิดามารดาอยู่ร่วมกัน การศึกษาของบิดามารดาส่วนใหญ่อยู่ระดับประถมศึกษาตอนต้น รายได้ของครอบครัวส่วนใหญ่ไม่เกิน 8,000 บาท ซึ่งรายได้นี้จะต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัวถึง 4 คนเป็นอย่างต่ำผลการศึกษาการอบรมเลี้ยงดู นักเรียนส่วนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก รองลงมาเป็นแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย แบบรักสนับสนุน และใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ตามลำดับ ซึ่งเด็กเพศหญิงจะถูกควบคุมมากกว่าเด็กเพศชาย และลำดับการเกิดของเด็กลำดับต้น ๆ จะถูกลงโทษมากกว่าลำดับหลัง ๆ ผลการศึกษาสัมพันธภาพในครอบครัว ครอบครัวส่วนใหญ่มีสัมพันธภาพค่อนข้างดี โดยมีบิดามารดาอบรมเลี้ยงดู ดูแลลูกร่วมกัน และครอบครัวที่มีสัมพันธภาพดีมีการอบรมเลี้ยงดูลูกแบบรักสนับสนุนมาก ควบคุมมาก ลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย และใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ส่วนผลการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพจิตของนักเรียนซึ่งแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ด้านอารมณ์ ด้านพฤติกรรมเกเร ด้านพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน และด้านสัมพันธภาพทางสังคมพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพจิตเฉลี่ยอยู่ในระดับปกติ และพบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพจิตของเด็กแต่ละระดับดังนี้-พฤติกรรมสุขภาพจิตด้านอารมณ์ เด็กหญิงที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนน้อยและใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล จะมีปัญหาพฤติกรรมสุขภาพจิตด้านอารมณ์-พฤติกรรมสุขภาพจิตด้านอยู่ไม่นิ่ง เด็กที่อยู่กับพ่อแม่และถูกเลี้ยงแบบใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ถูกลงโทษทางกายมากกว่าทางจิต และถูกควบคุมน้อย จะมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง-พฤติกรรมสุขภาพจิตด้านความเกเร เด็กชายที่มีพี่น้องน้อย แม้จะมีความสัมพันธ์ในครอบครัวดีแต่ได้รับการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนน้อย ถูกควบคุมน้อยอาจมีพฤติกรรมเกเรได้-พฤติกรรมสุขภาพจิตด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน เด็กที่มีพ่อแม่อยู่ด้วยกันอาจมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนได้หากสัมพันธภาพในครอบครัวไม่แน่นแฟ้นไม่มีเวลาและเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนน้อย-พฤติกรรมสุขภาพจิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม เด็กชายที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบควบคุมมากจะมีสัมพันธภาพทางสังคมดีจากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ให้สถาบันครอบครัวศึกษาการอบรมเลี้ยงดู 4 แบบ ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก พ่อแม่ลูกมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด ให้โอกาสลูกได้มีทางเลือกในการแสดงออกอย่างเหมาะสม บิดามารดาควรคัดเลือกกลุ่มเพื่อนให้ลูก และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตนให้สอดคล้องกับการใช้เวลาของลูก เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น และสถาบันการศึกษาควรมีส่วนร่วมดำเนินการส่งเสริมดูแลเด็กนักเรียนในด้านสุขภาพจิต และประพฤติปฏิบัติด้วยวิธีการที่ถูกต้องโดยอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพจิตที่ดีต่อไปth
dc.description.abstractMental health behavior of secondary school student is important, because it affects students’ future mental health. The purpose of this study are 1) to analyze level of mental health in adolescent of B.M.A. secondary school students 2) to analyze factors effecting mental health of secondary school student. Samples were 420 students in secondary schools in Bangkok Metropolitan, picked up by Multistage Random Sampling. The data was analyze by using frequency, percentage, mean. Pearson correlation coefficient, and Enter Multistage Regression. The result of bio-social variables revealed that most of the students were female. The students were brought up by mothers and fathers and both of them stayed together.On the study of child rearing, students were mostly brought up by control type followed by psychological punishment rather than physical punishment type, using reason rather than temper. Girls were more strictly controlled than boys and the elder children were punished more than the younger ones. Student’s family relationship was quite good. Families with good family relationship tended to bring up children by using love and support type, more strictly control, psychological punishment and using reason rather than temperIn the study of mental health, the results revealed that the students had approximately normal level of mental health. With consideration of students’mental health in 5 different aspects, the results were as follow: - Mental health behavior on emotional aspect : girls who were brought up by less love and support type and using temper rather than reason tended to have mental health problem on emotion. - Mental health behavior on restless aspect : children stayed with both fathers and mothers, were brought up using temper rather than reson, physical punished and less controlled tended to have mental health problem on restless behavior. - Mental health behavior on aggressiveness : boys with few bothers and sisters, even though lived in good relation families, were brought up by less love and support, and less controlled, tended to have aggressive behavior. - Mental health behavior on relation with friend : children who lived with parents whose marital status married, tended to have loose relation with friend. - Mental health behavior on social relation with others : boys who were brought up by using strictly control type tended to have good social relation with others.The study suggests that families should pay more attention to child rearing processes a specially love support type and control type. Parents and children school face and solve the families problem cooperatively. Parents should emphasize on selecting friends for their children and adjust their work-habits in order be close to children. School should provide activities to advise appropriate ways of life to promote students mental health and school should put more effort and create the right mental health behavior. Predisposing and reinforcing factors should be considered when attemting to change students’ mental health behavior.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectสุขภาพจิตth
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพมหานครth
dc.subjectMental health-
dc.subjectHigh school students -- Thailand -- Bangkok-
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeFactors Effecting Mental Health Level of Students : A Case Study on Mental Health Level of Bangkok Metropolitant Administration Secondary School Studentsth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการจัดการโครงการสวัสดิการสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
tableofcontents.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
chapter2-1.pdf5.85 MBAdobe PDFView/Open
chapter2-2.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf6.93 MBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
references.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.