Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1150
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวเฉียว
Other Titles: Factors Associated with Glycemic Control in Type 2 Diabetic Patients at Hua Chiew Hospital.
Authors: อรพินท์ สีขาว
รัชนี นามจันทรา
สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค
Orapin Sikaow
Rachanee Namjuntra
Suthisri Trakulsithichok
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Rangsit University. School of Nursing
Rangsit University. School of Nursing
Keywords: โรงพยาบาลหัวเฉียว
Huachiew Hospital
ผู้ป่วยเบาหวาน
Diabetics
น้ำตาลในเลือด -- การควบคุม
Blood sugar -- Control
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
Non-insulin-dependent diabetes
Issue Date: 2013
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดและปัจจัยเสี่ยงต่อการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลหัวเฉียว กลุ่มตัวอยางเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เลือกอย่างเฉพาะเจาะจง จํานวน 366 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาการทดสอบไคสแควร์ฟิชเชอร์เอกแซค สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยแบบโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การประกอบอาชีพ ประวัติการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา และชนิดของยาที่ใช้ในการรักษา พฤติกรรมการดูแลตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ําตาลหลังอดอาหารและน้ําตาลสะสม (r = -.024, p > .05 ,-.03, p>.05 ตามลําดับ) ปัจจัยเสี่ยงต่อการควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ได้แก่ ภาวะอ้วน (OR= 1.930, 95%CI=1.166-3.193) การมาตรวจตามนัดไม่สม่่ำเสมอ มี(OR= 4.025, 95% CI= .132-14.313) มีประวัติการเข้ารับการรักษาตัว ในโรงพยาบาลในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา (OR=.551, 95% CI=.332-.914) และได้รับยาฉีดอินซูลิน (OR= 2.179, 95% CI= 1.250-3.798) ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันทํานายการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ได้ร้อยละ 9.3 และทํานายได้ถูกต้องร้อยละ 55.5 ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะในการจัดโปรแกรมการพยาบาลสําหรับกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยที่อ้วน ผู้ที่มาตรวจตามนัดไม่สม่ำเสมอ ผู้ที่มีประวัติเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา และได้รับการรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน
The purposes of this cross-sectional descriptive research design were to examine factors associated with glycemic control and risk factors for glycemic uncontrollability in type 2 diabetic patients at Hua-Chiew Hospital. Purposive sampling was used to recruit a sample of 366 patients. Research instruments consisted of 1) the Personal and Illness Related Data Recording Form and 2) the Self Care Behavior Questionnaire. The reliability of the questionnaire was .77 tested by Cronbach’s alpha Coefficient. Data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square test, Fisher’s exact test, Pearson’s correlation and logistic regression. The results showed that factors significantly related to glycemic control were having occupation, history of hospitalization within the past year, and types of prescribed drugs (p <.05). Self-care behavior was not associated with FBS and HbA1C (r =-.024, p > .05, -.03, p>.05 respectively). Risk factors for glycemic uncontrollability in type 2 diabetic patients were obesity (OR= 1.930, 95%CI=1.166-3.193), discontinuous follow up(OR= 4.025, 95%CI=1.132-14.313), history of hospitalization within the past year (OR=.551, 95% CI=.332-.914) and receiving insulin injection (OR= 2.179, 95% CI= 1.250-3.798). These factors could account for 9.3% of the variance in glycemic uncontrollability (R2=.093) and the overall percentage of correct classification was 55.5%. The results suggest a need of nursing programs for type 2 diabetic patients who are at risk of glycemic uncontrollability such as obesity, discontinuous follow up, history of hospitalization within the past year and receiving insulin injection.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1150
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf97.57 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf87.52 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf144.06 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf479.33 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf100.39 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf164.3 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf128.71 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf186.46 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.