Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1168
Title: การศึกษาการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและการวางแผนการพัฒนากระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน : กรศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.สมุทรปราการ
Other Titles: The Study of a Evaluated Day Care Cinter and the Planning for Developed Health Promotion Processing among Pre-school Age : Case Study a Day Care Age Center at Samutprakarn Province
Authors: พิจิตรา ชุณหฐิติธรรม
หทัยชนก บัวเจริญ
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
ดวงใจ ลิมตโสภณ
Pijitra Chunhathititham
Hathaichanok Buajaroen
Vanida Durongrittichai
Duangjai Limtasopon
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก -- ไทย -- สมุทรปราการ
Day care centers
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน-- สุขภาพและอนามัย
Education, Preschool -- Health and hygine
Issue Date: 2010
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสุขภาพของเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศึกษาผลการดําเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบางน้ำจืดและบางโฉลง และประเมินผลการดําเนินงานโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนดไว้ และสร้างข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้บรรลุมาตรฐานและการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในระยะต่อไป กลุ่มตัวอย่างคือครูใหญ่จํานวน 2 คน ครูพี่เลี้ยงจํานวน 10 คน นักเรียนทุกชั้น จํานวน 347 คน รองนายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน รักษาการผู้อํานวยการกองการศึกษา อ.บ.ต.บางโฉลง 1 คน เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนบางโฉลง 1 คน สถานที่ศึกษาคือศูนย์พัฒนาเด็ก วัยก่อนเรียนทั้ง 2 ศูนย์คือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบางโฉลงและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบางน้ําจืด ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ในช่วงเดือน มิถุนายน – พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการประเมินภาวะสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนบางโฉลงและบางน้ำจืด มีภาวะสุขภาพส่วน ใหญ่ปกติคือ พัฒนาการปกติร้อยละ 94.24 การเจริญเติบโตเป็นไปตามเกณฑ์ส่วนสูง ร้อยละ 72.75 น้ําหนักปกติร้อยละ 66.93 มีภาวะโภชนาการปกติร้อยละ 68.20 ปัญหาสุขภาพของเด็กวัยก่อนเรียน พบว่า ภาวะฟันผุร้อยละ 41.68 เล็บดําร้อยละ 22.37 เด็กอ้วน ร้อยละ 20.77 เด็กเปนหวัดร้อยละ 19.39 เด็กมีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 8.45 ส่วนปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของเด็กวัยกอนเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่น ฝุ่นละออง เสียงอาคารสถานที่ ครูไม่เพียงพอการสื่อสารกับผู้ปกครองและการสนับสนุนงบประมาณ 2) ผลการประเมินมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนบางโฉลงและบางน้ําจืด ส่วนใหญ่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ยกเว้นเรื่องการดูแลเด็กแปรงฟัน ทําความสะอาดร่างกายทุกวัน การส่งต่อเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า มุมการเรียนรู้สําหรับผู้ปกครอง สถานที่เตรียมหรือปรุงอาหารอยู่ภายในอาคาร สถานที่ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่เอื้ออํานวยต่อการออกกําลังกาย ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และยังมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน 3) ผลการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง การจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพการจัดการสื่อการสอน ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง สภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถจัดการได้ โครงสร้างและอัตรากําลังของครูพี่เลี้ยงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูพี่เลี้ยง ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารศูนย์เด็กเล็กควรพัฒนาให้บรรลุมาตรฐานและการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนที่เน้นการสร้างเด็กให้มีสุขภาพที่ดี เก่ง ดีมีสุข ภายใต้กลไกของการสร้างเสริมสุขภาพแบบภาคีเครือข่ายระหว่างสมาชิกในครอบครัว ครูพี่เลี้ยง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างองค์กรบริหารส่วนตําบล
The aims of this descriptive research was to address evaluated day care center and the planning for developed health promotion processing among pre-school age. Study sample were 2 teacher, 10 caregiver teacher, 347 pre-school age people, 1 sub-president local organization, 1 health care provider. Research areas were Bang-chalong and Bang num jeud day care centers at Samutprakarn province during 2008. They were selected by purposive sampling technique. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results were as follow: 1) The healthy assessment found 94.24% normal development, 72.75% high and 66.93% weight standard growth, 68.20% normal nutrition. The health problems were 41.68% dental carries, 22.37% duty nail, 20.77% fatty child, 19.39% got a cold and 8.45% delay development. Risk factors related environment and behaviors influenced healthy pre-school age included dusty, noise, not safety building, lack of teacher, not communication with parent, and lack of budget. 2) The evaluated both day care centers were pass standard criteria exceptionally brush teeth, take a bath, referral delay development, parent learning Conner, cooking place in building, no exercise place, lack of budget, and lack of participation parent and community. 3) The result of in-depth interview found lack of health management, media, non-participation of parent, environment, structure , teacher and learning activities. Recommendation: Administrators who related a day care center could be understanding about health promotion and pushing health promotion public policy among a pre-school age, planning a health promotion budget for a pre-school age, pushing local media for health promotion, and academic institute must be continuing for helping and support a day care center to be healthy, genies, wellness, and good child.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1168
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf149.76 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf153.3 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf136.71 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf446.92 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf244.06 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf528.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf181.83 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf263.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.