Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1308
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธีรโชติ เกิดแก้ว | - |
dc.contributor.author | Teerachoot Kerdkaew | - |
dc.contributor.other | Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts | th |
dc.date.accessioned | 2023-04-01T07:43:50Z | - |
dc.date.available | 2023-04-01T07:43:50Z | - |
dc.date.issued | 2011 | - |
dc.identifier.uri | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1308 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาความหมาย พัฒนาการ และรูปแบบของยันต์ไทยที่เกิดขึ้นอย่างสัมพันธ์กับความเชื่อ ปัญหาชีวิต เศรษฐกิจ และภาวะทางสังคม (๒) เพื่อศึกษาสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่ปรากฏในยันต์ไทย (๓) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อ และการใช้สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่ปรากฏในยันต์ไทยของประชากรกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยศึกษาจากเอกสาร ตำรายันต์ และการศึกษาภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการใช้แบบสอบถามเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เป็นรายข้อโดยทำการแจกแจงความถี่ หาจำนวน และร้อยละด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งมีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ยันต์ หมายถึง การย่อเรื่องที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและความเชื่ออื่น ๆ ให้สั้นลงเพื่อสะดวกแก่การจำและนำไปใช้ โดยสื่อผ่านรูปทรง ลายเส้น รูปภาพ อักขระ ตัวเลข คาถา ชื่อยันต์ และองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งมีพัฒนามาจากความเชื่อในคัมภีร์อาถรรพเวทผ่านทางศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาแบบมันตรยาน ผสมผสานกับความเชื่อในสังคมไทยจนกลายเป็นอัตลักษณ์ของยันต์ไทยตั้งแต่ยุคสุวรรณภูมิจนถึงปัจจุบัน รูปแบบของยันต์ไทยจะมีรูปทรงแบบเลขาคณิตคือ ทรงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และรูปทรงอิสระที่มีอย่างหลากหลาย แต่ถ้ากล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการใช้จะมี ๒ ประเภทคือ ยันต์ที่นำไปใช้ในทางที่ดี เช่น ป้องกันภัย ทำให้เกิดโชคลาภ เป็นต้น จัดเข้าในไสยศาสตร์ขาว และยันต์ที่นำไปใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น ใช้ทำร้ายคนอื่นให้ฉิบหาย ใช้ทำเสน่ห์ให้หญิงชายหลงรัก เป็นต้น จัดเข้าในไสยศาสตร์ดำหรือมนต์ดำ พัฒนาการและรูปแบบของยันต์ไทยจะเกิดอย่างสัมพันธ์กับความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ ความกลัว และความต้องการสิ่งชดเชย เห็นได้จากผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ยันต์เพื่อป้องกันภัย ภูต ผี ปีศาจ ให้เกิดโชคลาภ ค้าขายดี และให้ตำแหน่ง หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า ซึ่งจะไปสัมพันธ์กับอาชีพ อุปนิสัย และปัญหาชีวิตของคนแต่ละคนด้วย ยันต์ไทยส่วนใหญ่เป็นองค์รวมของสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาทั้งรูปทรง ลายเส้น รูปภาพ อักขระ ตัวเลข คาถา และชื่อยันต์ที่สื่อถึงพระพุทธเจ้า หลักธรรมคำสอน พุทธสาวก คัมภีร์ ศาสนพิธี ปูชนียวัตถุ เทพ ยักษ์ มนุษย์ สัตว์ และเรื่องอื่น ๆ อันเป็นภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่นำเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนามาสื่อผ่านสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในยันต์ด้วยวัตถุประสงค์ต่อไปนี้ ๑. เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนธรรมและการเรียนรู้พุทธศาสนาให้ดำรงอยู่สืบไป ๒. เพื่อใช้เป็นอุบายสำหรับฝึกจิตให้เกิดสมาธิ และควบคุมความประพฤติของผู้สร้างและผู้ศรัทธาให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณความดีตามหลักคำสอนในพุทธศาสนา ๓. เพื่อใช้เป็นกุศโลบายโน้มน้าวผู้ศรัทธาให้เข้าหาพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรม เช่น การให้ทาน รักษาศีล การสวดมนต์ ไหว้พระ และการฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เป็นต้น ๔. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาชีวิตให้แก่ผู้ศรัทธา ให้คลายความทุกข์ ความวิตกกังวล และเกิดความเชื่อมั่นในการดำเนินชีวิต ๕. เพื่อสร้างและสืบต่องานศิลป์ที่สวยงามและทรงคุณค่าอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ด้านความรู้ ความเข้าใจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รู้เรื่องยันต์มาจากคำบอกเล่าของคนอื่นในเชิงความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ และรู้ความหมายของสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาแบบผิวเผินไม่ได้ลงลึกไปถึงสาระสำคัญของพุทธศาสนา โดยเข้าใจว่ายันต์เป็นเรื่องของพิธีกรรมทางพุทธศาสนา และสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่นำมาใช้ในยันต์ไทยเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ด้านความเชื่อพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่อว่าอานุภาพของยันต์มีอยู่จริง และสิ่งที่ทำให้ยันต์เกิดความศักดิ์สิทธิ์คือ อักขระ คาถาที่ใช้ลงหรือเสกยันต์ รวมถึงพลังจิตที่เป็นสมาธิของผู้สร้างยันต์ด้วย นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าการปฏิบัติตามข้อห้ามของการใช้ยันต์ และการประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมจะช่วยให้ยันต์มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ด้านการใช้ยันต์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ยันต์เพื่อป้องกันภูต ผี ปีศาจ ภัย อันตราย ทำให้เกิดโชคลาภ ค้าขายดี อาชีพ ตำแหน่ง หน้าที่การงานมีความเจริญก้าวหน้าและเลือกใช้ยันต์ของพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และมุ่งไปที่ความศักดิ์สิทธิ์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ยันต์มีส่วนทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามเกิดความมั่นใจในการดำเนินชีวิต เตือนสติให้ระลึกถึงพระรัตนตรัย ไหว้พระ สวดมนต์ รักษาศีล และให้ทานมากขึ้น | th |
dc.description.abstract | This research aimed (1) to study the development and form of talisman that occurs in relation to the issue of life problems, economic, and social conditions (2) to study the symbols of Buddhism in the books of Thai Yantra (3) to study the knowledge, understanding, beliefs and religious symbols that appear in the talisman of the Thai population. The research combined both qualitative and quantitative study from the texts, and field studies by in-depth interviews, observation, and questionnaire. The data then were analyzed and synthesized with qualitative information. The analysis of data in each item was requested by the frequency distribution for the number and percentage with an instant program. The findings are summarized as follows; Thai Yantra meant to shorten stories about Buddhism and other beliefs which made them easy to remember and apply. The stories were configured by the media through the shapes, lines, characters, figures, images, incantation, and other elements. The Thai Yantra has developed from faith in mystical incantation scripture of Brahmanism through Brahmanism and Mantrayana Buddhism that has been integrated with local faith in Thai society then became a talisman of the Thai identity since the Suvarnabhumi era. The formation of the Thai Yantra was made up in the various shaped which were mostly geometrical shapes such as sphere, triangle, rectangular, and the other independent forms. However, the purpose of using them was categorized into 2 types. One is positively purpose that classified as white magic such as great mercy, defending, and fortune. The other is negatively purpose that classified as black magic creating destruction, hurts, or fascinating for people. The development and the patterns of the Thai Yantra were relatively caused by the lacks of knowledge about facts as well as by the feeling of fear and the compensation demand. The samples used the Thai Yantra for protection evil demon spirits, to achieve great fortune, or for having a good business and jobs. Having Thai Yantra showed relationship with the habits and life problems of individuals as well. The Thai Yantra is a holistic of the symbols of Buddhism. Also, shapes, lined pictures, characters, numbers, incantation, and other elements convey the Buddha, Buddha’s Dharma teachings, Buddhist disciples, scripture, religious ceremony, holy object, sacred object, Thep (deity), giant, human, animal, and stories appear in the literature of Buddhism. These can be considered as a great wisdom of ancient master that convey the Buddhism stories through the Buddhism symbols via various media with the objectives as follows; 1. for Dharma teaching and learning in order to preserve the Buddhism religion. 2. for training the mind concentration and self controlling to maintain Buddhism faith in the goodness morality. 3. for convincing people to believe in Buddhism and for practicing Dharma such as doing charity, applying Benjasilpa (the five commandments of the Buddha), praying for mental stability, and practicing mental meditation. 4. for using as a tool to solve the life problem of people who believed in the Thai Yantra, to relieve suffering and anxiety concerns, and to build up confidence in life. 5. for creating and inheriting art which is beautiful valuable cultural heritage of the nation to the future generations who have studied the wisdom of Thai ancestors. In term of knowledge and understanding of the Thai Yantra showed that the majority know a talisman from the others by listening mostly to the stories about magical power, supernaturalism, and the meaning of religious symbols from the picture in the talisman. However, they did not deeply understand the essence of Buddhism. They know that Yantra is a matter of Buddhism ritual and symbols that are used in Thai talisman to achieve holiness. In term of belief, the majority believes that the power of the talisman in Thailand in various fields is true. What made a sacred talisman supernatural were the characters and incantation or a magical talisman, which do not translate into Thai as well as the steadfast of mind power to create a talisman. They also believed that compliance with the prohibition of the use of talisman and behave in a moral will allow a sacred talisman more. In term of implementation of the Thai Yantra, the majority used it to prevent themselves from the evil demon spirits, to receive a good fortune, to promote trade, and to get good occupations. They will choose to use the talisman from the famous master with a reputation for holiness and its beautiful figure. In addition, they use the talisman to ensure life-living reminding them to do more charity, maintain applying Benjasilpa, pray for mental stability as in the Trisorana, and practice mental meditation. | th |
dc.description.sponsorship | การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2552 | th |
dc.language.iso | th | th |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ | th |
dc.subject | ศิลปกรรมและสัญลักษณ์พุทธศาสนา | th |
dc.subject | Buddhist art and symbolism | th |
dc.subject | พุทธศาสนา | th |
dc.subject | Buddhism | th |
dc.subject | ยันต์ | th |
dc.subject | Yantra | th |
dc.subject | เครื่องรางของขลัง -- ไทย | th |
dc.subject | Amulets (Buddhism) -- Thailand | th |
dc.subject | Talismans | - |
dc.title | การศึกษาเชิงวิเคราะห์สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่ปรากฏในยันต์ไทย | th |
dc.title.alternative | The Analytical Study of Buddhist Symbols on the Thai Yantra | th |
dc.type | Technical Report | th |
Appears in Collections: | Liberal Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Abstract.pdf | 139.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
TableofContents.pdf | 156.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter1.pdf | 106.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter2.pdf | 850.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter3.pdf | 127.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter4.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chapter5.pdf | 381.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
References.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.