Please use this identifier to cite or link to this item:
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/289
Title: | พฤติกรรมความซื่อสัตย์ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
Other Titles: | Honest Behavior of Police : A Study of Warrant Police Officers in the Investigation Sub-Division of Metropolitan Police Bureau |
Authors: | ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya สุคนธ์ ศรีอรุณ Sukon Sriaroon Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
Keywords: | ตำรวจ. ข้าราชการตำรวจ ความซื่อสัตย์ Police ตำรวจ -- การปฏิบัติโดยมิชอบ การทุจริตของตำรวจ Honesty |
Issue Date: | 2002 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความซื่อสัตย์ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของข้าราชการตำรวจ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีทำให้ข้าราชการตำรวจมีพฤติกรรมความซื่อสัตย์ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกองกำกับการสืบสวนสอบสวน 1-9 และงานสอบสวน กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษกองบัญชาการตำรวจนครบาล จำนวน 323 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 31-40 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายสถานภาพสมรสเป็นผู้สมรสและอยู่ด้วยกัน มีจำนวนผู้ที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู 2 คน มีรายได้ระดับพอดีไม่มีเหลือเก็บ กลุ่มตัวอย่างข้าราชการตำรวจมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมระดับ 4 คือ คำนึงถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สังคมกำหนด หรือคาดหมายอย่างเคร่งครัด มีพฤติกรรมตามการเห็นแบบอย่างทางสังคมน้อย มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในระดับสูง มีการมุ่งอนาคตและการควบคุมตนเองในระดับปานกลางได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานในระดับสูง และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในระดับปานกลางระดับความซื่อสัตย์ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กองกำกับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีเหตุผลในการมีความซื่อสัตย์ในระดับที่ทำตามเกณฑ์ที่สังคมกำหนดจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่ามีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของข้าราชการตำรวจ ตามลำดับดังนี้ การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การมุ่งอนาคต ทัศนคติต่อการทำงาน ระดับการศึกษา อายุราชการ และการเห็นแบบอย่างทางสังคม โดยพบว่าข้าราชการตำรวจที่มีเหตุผลเชิงจริยธรรมสูง มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานตำรวจสูง มีระดับการศึกษาสูงมีอายุราชการนาน และมีการเห็นแบบอย่างทางสังคมมาก มีพฤติกรรมความซื่อสัตย์สูง มีระดับการศึกษาสูงมีอายุราชการนาน และมีการเห็นแบบอย่างทางสังคมมาก มีพฤติกรรมซื่อสัตย์สูง และปัจจัยทางอ้อมมีส่งผลต่อพฤติกรรมความซื่อสัตย์ คืออายุ จำนวนผู้ที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู และความพอเพียงของรายได้จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนี้1.ปลูกฝังการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมแก่ข้าราชการตำรวจ โดยปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับ รวมทั้งจัดโครงการอบรมคุณธรรมข้าราชการอย่างต่อเนื่อง2.เพิ่มความคาดหวังในการมุ่งอนาคตของข้าราชการตำรวจ โดยสร้างระบบคุณธรรมในระบบราชการ ระบบสวัสดิการ ระบบความพร้อมในการปฏิบัติราชการ3.เพิ่มทัศนคติในการทำงานให้ข้าราชการตำรวจ โดยส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการเพิ่มเติมความรู้ด้านกฎหมาย ด้านสังคม จัดอบรมทบทวนความรู้ความเข้าใจงานในหน้าที่ และสร้างบรรยากาศให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน4.ยกระดับการศึกษาข้าราชการตำรวจ โดยส่งเสริมการศึกษา กำหนดคุณวุฒิของผู้ที่จะเข้ารับราชการให้สูงขึ้น และพัฒนาสถาบันการศึกษาที่มีอยู่ให้เป็นแหล่งการศึกษาขึ้นสูงต่อไป5.การส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจเห็นแบบอย่างทางสังคมที่ดี เช่น มีการประกาศผลข้าราชการดีเด่น การประชาสัมพันธ์ยกย่องข้าราชการตำรวจที่ประกอบคุณความดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา This research is aimed to study 1) honest behavior of warrant police officers in the Investigation Sub-Division of the Metropolitan Police Bureau 2) factors influencing and affecting honest behavior of police. Sample group included 323 warrant police officers working in the Investigation Sub-Division 1-9 and the Investigation Section under the Metropolitan Patrol and Special Operations Division of the Metropolitan Police Bureau. Data were collected with questionnaires and analysed with percentage, means, descriptive statistics, one-way analysis of variance, and stepwise multiple regression analysis.The result showed that the samples were 31-40 years old and married. Lived with spouses, had the higher secondary education, 2 dependants and enough income without savings. The samples showed the 4th level of moral reasoning by seriously regarding the social rules or expectations, had moderately low social model, moderate attitude to work, future orientation and self-control, received social support from commanders and friends and moderate from people. The samples were honest in the level of maintaining social rules. The result of stepwise multiple regression revealed that moral reasoning, future orientation, attitude to work, educational level, working periods model affected honest behavior of the samples respectively. Those having high moral reasoning, good attitude to their work, high educational level, long working periods and high social model were very honest. Factors indirectly affecting honesty were age, number of dependants and sufficiency of income. Referring to such results, these are suggestions for development of the National Police Bureau. 1.Implant moral reasoning in police by improving all educational courses and continually providing programmer of training in moral principles. 2.Increase future-orientation expectations of police by creating moral principles in the public service system, welfare system of readiness for public service.3.Increase attitude to work by encouraging them to make use of spare time for increasinggood work atmosphere. 4.Elevate education of police by promoting education extension, determining higher qualifications and developing the existing educational institutions. 5.Promote social model by announcing good police and praising those treating their subordinates well, etc. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 |
URI: | https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/289 |
Appears in Collections: | Social Work and Social Welfare - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
abstract.pdf | 416.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
tableofcontents.pdf | 377 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter1.pdf | 707.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter2.pdf | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter3.pdf | 308.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter4.pdf | 2.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chapter5.pdf | 611.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
references.pdf | 341.24 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.