Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/360
Title: การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา
Other Titles: A Study of Fall Prevention Guideline in Older Adult Living in Mitraphappatana Comuminity
Authors: จริยาวัตร คมพยัคฆ์
กนกพร นทีธนสมบัติ
Jariyawat Kompayak
Kanokporn Nateetanasombat
ละออม สร้อยแสง
Laorm Sorysang
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: การหกล้มในผู้สูงอายุ -- การป้องกัน
Falls (Accidents) in old age -- Prevention
Issue Date: 2013
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์การหกล้ม ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มและแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุของชุมชนมิตรภาพพัฒนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี จำนวน 158 คนผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 25 คน ผู้นำชุมชนและ อสม. จำนวน 33 คน และบุคลากรสุขภาพ จำนวน 6 คน เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดเชิงระบาดวิทยา การตรวจร่างกายผู้สูงอายุ การสังเกต สิ่งแวดล้อมในบ้านและชุมชนและการสนทนากลุ่ม ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุเป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.0 อายุที่พบมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 70-79 ปี ร้อยละ 43.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 58.2 มีโรคประจำตัวที่แพทย์วินิจฉัย ร้อยละ 72.2 โรคที่พบมากตามลำดับ คือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน กระดูกและข้อ ผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวมากกว่า 1 โรค ร้อยละ 37.0 ยาที่ได้รับจากแพทย์มากที่สุด คือ ยาลดความดันโลหิต ร้อยละ 64.0 อัตราอุบัติการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 34.8 โดยมีสาเหตุจากเดินสะดุด ร้อยละ 41.8 ลื่น ร้อยละ 38.2 เวียนศีรษะ ร้อยละ 7.3 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญพบว่า ด้านผู้สูงอายุ คือ เพศหญิง ความบกพร่องทางสายตา ร้อยละ 44.3 ความผิดปกติของการทรงตัว ร้อยละ 19.6 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50.0 ภาวะดัชนีมวลกายมากกว่าเกณฑ์/อ้วน ร้อยละ 34.2 ด้านสิ่งที่ทำให้เกิดการหกล้ม คือ ยาลดความดันโลหิต ร้อยละ 64.0 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในบ้าน คือ ขอบธรณีประตูทางเดินต่างระดับ พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิต การจัดสิ่งของในบ้านไม่เป็นระเบียบใช่เศษผ้าหรือเสื้อผ้าเก่าเป็นพรมเช็ดเท้า และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน คือ ทางเดินรอบบ้านมีสิ่งกีดขวาง ร้อยละ 37.3 มีทางเดินรถจักรยาน/จักรยานยนต์ลักษณะขรุขระ แนวทางการป้องกันการหกล้มที่สำคัญมี 3 ประการ คือ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในและรอบบ้านการส่งเสริมการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุและการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการหกล้มในชุมชน ผู้วิจัยเสนอแนะให้บุคลากรสุขภาพ ผู้นำชุมชน อสม. ผู้ดูแลและผู้สูงอายุร่วมกันพัฒนาแนวปฏิบัตทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน
The purpose of this descriptive research was to study the incidence rate of falls, risk factors for falls and guideline for preventing falls in the older adult living in mitraphappatana community. The sample was 158 older persons, 25 caregivers, 33 community leaders and village health volunteers and 6 healthcare providers. Data were collected from November to December 2012 by interviewing with questionnaire form Epidemilogy concept, physical examination of the elderly, observing environment inside elderly's house and community and focus group. Data were analyzed by using frequency, percentage and content analysis. The results showed that most of the elderly were female (62.0%). Age was 70-79 years old (43.0%). Most of them were unemployed (58.2%). Approximately 72.2 percent had been diagnosed with hypertension, disbetes millitus, disease of bone and joint. Also, the elderly had more than one disease (37.0%). Most medication, which had been taken was antihypertensive drugs (64.0%). Incidence rate of falls among the elderly in the past 6 months was 34.8 percent, which was caused by stumbel (41.8%), slippery (38.2%) and dizziness (7.3%). Significant risk factors were found. Host factors were female, visually impairment (44.3%), disorders of balance (19.6%), hypertension (50.0%), obesity (34.2%). Agent factor was antihypertensive drugs (64.0%). Environmental factors inside were doorsill, unever floor, ceramic floor, house disorganized, use rags old cloths instead of the mat. Also environmenal factors outside the house were having obstacles around the house (37.3%) and having rough ways of bicycle/motorcycle (34.2%). Guidelines for the prevention of falls had three components which were to improve the environment in and around the house, to promote exercise for the elderly and to educate whom on the prevention of fall in community. The researchers suggess that healthcare providers, community leaders, village health volunteers, caregivers, and older adults should develop fall prevention guidelines for older adults in the community.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/360
Appears in Collections:Nursing - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf106.2 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf72.25 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf121.83 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf245.55 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf119.12 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf163.89 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf130.51 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf233.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.